คอเลสเตอรอล สูงหรือต่ำได้ อย่างไร


ไขมันที่ใช้บริโภค เข้าร่างกายของทุกคน ทุกวัย นั้น มีทั้งตัวดี และตัวไม่ดี

     ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ขึ้นกับการกิน ร่างกายสร้างหรือสลาย คอเลสเตอรอลที่ไม่ดี(Low-density lipoprotein LDL)เร็วแค่ไหนโดยปกติ ร่างกายคนเราจะผลิตคอเลสเตอรอลเมื่อต้องการใช้ ตลอดจนเราได้รับคอเลสเตอรอลจากอาหารที่เรากิน มีหลายปัจจัยที่จะช่วยบอกได้ว่าเรามีระดับLDLสูงหรือต่ำ เช่น พันธุ์กรรม อาหาร น้ำหนัก  ออกกำลังกาย อายุ เพศ แอลกอฮอลล์ และความเครียด


   พันธุ์กรรม (Heredity):ยีนส์(Gene) ของเรามีอิทธิพลต่อการสร้างและสลายLDL ในเลือด จากการวิจัยพบว่า 1ใน 500 ครอบครัวที่มีคอเลสเตอรอลสูงและได้รับยีนส์ ซึ่งก็ให้เกิด โรคหัวใจเร็วกว่าปกติ


     อาหาร :  สารอาหาร2 ชนิด ในอาหารที่เรากินทำให้ระดับLDLสูงขึ้นคือไขมันอิ่มตัวซึ่งพบในสัตว์และคอเลสเตอรอลซึ่งได้รับจากสัตว์เท่านั้น ไขมันอิ่มตัวจะเพิ่มระดับLDLมากกว่าสารอาหารชนิดอื่นๆอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมากเกินไปจะทำให้ระดับLDLสูง และเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ 


      น้ำหนัก : การมีน้ำหนักตัวมากเกินไปมีแนวโน้มที่จะมีLDLสูง การลดน้ำหนักตัว จะช่วยลดระดับLDLได้   นอกจากนี้ การลดน้ำหนักตัวจะช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ดีซึ่งมีมีประโยชน์ต่อร่างกาย


*ข้อมูลจาก การเผยแพร่ทางสื่อ  จากมหาวิทยาลัย  สงขลานครินทร์  ใน  หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ 

* หมายเหตุ  จากการที่ได้อ่านข้อมูลแบบนี้ ของม.สงขลานครินทร์ มากกว่า หนึ่งครั้ง ว่า

  ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์คือไขมันที่มีคอเลสเตอรอล เท่านั้นไขมันจากพืชไม่มีคอเลสเตอรอล แต่ก็ไม่มีการกล่าวถึงน้ำมันมะพร้าวเลยที่เป็น ไขมันอิ่มตัวจากพืช  ว่ามีคอเลสเตอรอลหรือไม่มี

 จนกระทั่งทราบข้อมูล   จากที่ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา  ที่ท่านเขียนหนังสือเผยแพร่มากมาย ฯลฯ

  และ ศาสตราจารย์ดร.นิธิยา   รัตนาปนนท์บอกด้วยคำพูด ว่าไม่มีคอเลสเตอรอลเพราะมาจากพืช

  และที่แน่ใจมากขึ้น  ที่องค์กรเภสัชกรรม GPO บอกว่า น้ำมันมะพร้าว ไม่มีคอเลสเตอรอล 0%   

การที่หน่วยงานไม่ชี้แจงก็ไม่เข้าใจว่าทำไม น้ำมันมะพร้าวจึงโดนเหมารวมเข้าใจผิด ว่ามีโทษต่อร่างกาย  ไม่ควรใช้กินรวมทั้งกะทิ   ก็มะพร้าวเป็นต้นไม้ ทำไมถึงว่าอ้นตราย 

น้ำมันมะพร้าวโดนความร้อนแล้วไม่เปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์  เพราะเติมไฮโตรเจนไม่ได้ เป็นไขมันอิ่มตัว นี่คือความพิเศษของน้ำมันมะพร้าว  

 มีข้อดีกว่า   น้ำมันไม่อิ่มตัวบางอย่างที่ถูกเติมไฮโดรเจน   เมื่อโดนความร้อนมากก็เป็นทรานส์ที่มีสารก่อมะเร็งในร่างกาย  และที่สำคัญเป็นน้ำมันที่ทำใช้ได้เองเป็นธรรมชาติไม่มีสารเคมีเจือปน


ด้วยความปรารถนาดี   กานดา แสนมณี

    

หมายเลขบันทึก: 311748เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2009 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2013 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณข้อมูลที่ค้นคว้ามาบอก

ยังมีการเข้าใจผิดเรื่องกระทิ ,น้ำมันมะพร้าวอยู่มากค่ะ

จะได้เผยแพร่ต่อไป

สว้สดีค่ะคุณ ตันติราพันธ์

การเข้าใจผิด ไม่บอกกล่าวให้ประชาชนทราบ ไม่ชี้แจง เป็นสิ่งที่ ทำให้ประชาชน เสียโอกาสที่จะได้รับสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่ประชาชน จะหาใช้ อย่างมาก ข่างสารสื่อมีมากมาย ทำไมไม่ชี้แจง อาหารที่มีโทษมากมายหน่วยงานก็เฉยไม่ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง สงสารประชาชน ที่ยังกินอาหารผิดๆ สะสมทุกวัน พอ อายุมากขึ้น โรคก็เกิดในร่างกาย แล้วหมอก็ไม่พอรักษาบางคนเป็นแล้วก็ไม่มีเงินมาหาหมอ รอเวลา สิ้นลม เพราะคนมีเงินน้อยมีมากกว่าคนมีเงินมาก นี่แหละหนาเมืองไทย ทำใจค่ะไม่เห็นความสำคัญสุขภาพของประชาชน ทุกคนต้องช่วยตัวเอง ช่วยกันบอก ช่วยกันสอน ช่วยกันเตือนดีที่สุด ตั้งกันจังหน่วยงานเพื่อสุขภาพ แต่ไม่ถึงประชาชนส่วนรวมทั้งประเทศ ลงในเน๊ตฯ แล้วชาวบ้านจะทราบไหมหนังสือพิมพ์ยังอ่านไม่ทั่วถึง เอา บ่นต่อ..............สสส.ได้แต่ในเมืองหรือเปล่า..............

  • น้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันอิ่นตัว   ไม่มีโคเรสเตอรอล  ไม่สามารเติมสารกันไฮโดรเจน  จึงไม่กลายเป็นน้ำมันทรานส์ ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง  
  • สรรพคุณดีมากเลยนะคะ 
  • หันมาใช้น้ำมันมะพร้าวกันเถอะ  ไปดูราคาที่ห้างสรรพสินค้า   โห..ราคาสูงจัง

สวัสดีค่ะ คูณครู ตา ลป.

ใช่ค่ะที่วางขายราคาสูงมาก ทำใช้เองเหมือนการทำอาหารอย่างหนึ่ง ไม่ยาก ค่ะ ขอให้เริ่มทำ ครั้งแรกติดขัด บ้างครั้งต่อไปก็ง่ายมากๆค่ะ วิธ๊ทำลงให้ 4 บันทึกแล้วหัดทำนะคะ

หรือถ้ามาเที่ยวงานเกษตรแฟร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเชีบงใหม่

จัด 26 พย.- 3ธค 52 นี้เชิญมาหัดทำได้นะคะ กานดาจะสอน 2 วันค่ะ คือ

วันที่ 30 พย.เวลา 15.30- 17.00น.

และ 3ธค52 เวลา 15.30- 17.00 น ได้รับการสนับสนุน จาก สวทช. ค่ะ

อยากทราบว่าน้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวจากกะทิและน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นมีคุณสมบัติต่างกันหรือไม่

สว้สดีค่ะ คุณ w=junshine มีคุณสมบัติแตกต่าง คือ 1. สี การเคี่ยวหัวกะทิสดที่ไม่มีน้ำหางปน ต้องใช้ไฟอ่อนๆ การที่หัวกะทิติดกระทะ บ้างแต่ถ้ารีบขูดออกเร็ว น้ำมันก็จะมีสีเหลืองอ่อนๆ แต่ถ้าติดมากขูดออกช้า เหลืองเข้มขึ้น อยู่ที่กระทะ ด้วย เคยไปสาธิตที่ช่อง11 เพื่อนและผู้เข้ารับการสอนได้ช่วยทำกระทะหัวกะทิไม่ติด น้ำมันก็ใสเหมือนน้ำ ( น้ำมันสกัดเย็นสีใสเหมือนน้ำ ) ( การเคี่ยว หากหมักหัวกะทิไว้1วัน หรือการทำสกัดเย็นแล้วไม่เป็นน้ำมัน เมื่อนำมาเคี่ยวไฟอ่อนๆ ก็จะเคี่ยวง่ายและได้น้ำมันใส ) 2. กลิ่น แบบเคี่ยว กลิ่น หอมกว่า สกัดเย็น หอมเหมือนขนม กลิ่นไทยๆ (สกัดเย็น หอมอ่อนๆ กลิ่นไม่ไทยๆ) 3. อายุการเก็บ แบบเคี่ยว ถ้าใส่ตู้เย็นเก็บได้นาน แต่หากไม่ใส่ตู้เย็น จะเกิดการตกตระกอนโปรตีน เป็นผลึกก้นขวด กลิ่นเปลี่ยน แต่หากทำเสร็จใช้ใหม่ๆก็หอมมาก (สกัดเย็นถ้าระเหยน้ำหมดดี จะเก็บได้หลายปี) 4. คุณประโยชน์ เหมือนกัน กรดไขมันอยู่ครบทุกตัว

    

        แบบเคี่ยว

   

          แบบสกัดเย็น

  

      น้ำมันมะพร้าว  แช่เย็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท