กศน.ตำบล/แขวง


คนไทยทุกคนได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

              กศน.ตำบล หรือ กศน.แขวง  เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ผู้บริหาร กศน. ได้มอบ หมายให้ กศน.อำเภอ หรือ กศน.เขต ดำเนินการจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของประเทศ  โดยมุ่งหวังให้ภารกิจของ กศน.นำสู่การปฏิบัติในฐานะของหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  โดยมีหัวหน้า กศน.ตำบล หรือหัวหน้า กศน.แขวง  (ซึ่งก็คือ ครู ศรช.เดิมนั้นเอง) เป็นผู้ดำเนินการให้ภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นไปตามนโยบายที่กำหนด

             เดิมครู ศรช.มีหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางและวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเป็นหลัก  และนอกจากนั้นก็มีภารกิจที่ได้รับมอบหมายอื่น ๆ เช่น  การสำรวจข้อมูลชุมชน  การร่วมจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  พัฒนาทักษะชีวิต  พัฒนาสังคมและชุมชน หรือกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  ร่วมกับพนักงานราชการ 

               แต่วันนี้ ครูที่เป็นครู ศรช.เดิม  แต่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น หัวหน้า กศน.ตำบล (อยู่ต่างจังหวัด) และหัวหน้า กศน.แขวง (อยู่ในพื้นที่ กทม.) ก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบภารกิจดังกล่าวเป็นหลัก  และต้องทำงานร่วมกับระดับตำบลหรือในแขวงให้ได้ ต้องเป็นตัวแทน กศน.ในระดับตำบล 

               ภารหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  ดูเหมือนเป็นเรื่องหนักสำหรับครู อัตราจ้างที่ได้รับค่าตอบแทนเพียงวุฒิการศึกษาไม่เกินปริญญาตรี คือ 7,940 บาท หลายคนก็เกิดความกังวลใจ หลายคนเกิดความภาคภูมิใจ นานาทัศนคติ ทั้งนี้และทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคน ได้รับการบ่มเพาะมาเพียงใด  ทั้งความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการทำงาน แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือข้อแนะนำและกำลังใจจากผู้บังคับบัญชา

              ไหน ๆ ก็ไหน ๆ เมื่อมาถึงนาทีนี้ ก็ปฏิเสธอะไรไม่ได้แล้ว  ก็ขอให้ หัวหน้า กศน.แขวง / กศน.ตำบลทุกคน  ได้ภาคภูมิใจกับหน้าที่ที่ได้รับ  และปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ สุดฝีมือ เต็มความสามารถ ทำงานร่วมกันเป็นทีมตั้งแต่ครู ศรช.ด้วยกัน พนักงานราชการ  ข้าราชการและผู้บริหาร  เพราะเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่ "คนไทยทุกคนได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ" 

คำสำคัญ (Tags): #ครู กศน.
หมายเลขบันทึก: 312170เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
สงกรานต์...พี่น้องครับ

..................................สู้ สู้ สู้ ครับ อาจารย์ทุกๆท่าน เพราะถ้าสิ่งเราได้สู้แล้ว สิ่งที่เราได้รับคือความสำเร็จโดยรวม

................ในด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน และเจะกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เพราะอย่างน้อยๆคนแถวๆนั้นก็คงอยากจะ

................มาเรียนเพราะสถานที่ใกล้บ้าน การเดินทางก็สั้นลง จากขี้เกียจ กลายเป็นตั้งใจก็ได้ อาจารย์หลายๆท่านก็คง

................ทำงานหนักขึ้นอย่างแน่แท้ ....แต่สิ่งที่อาจารย์ได้รับ มีแค่บุคคลทั่วไปได้รับความรู้แค่นั้นหรือ?????

................เงิน??? ใครว่าไม่สำคัญ เพราะการใช้ชีวิตในเมือง ก็มีแต่"เงิน" เท่านั้นที่อำนวยความสะดวกให้ ตั้งแต่ออกบ้าน

................ก็ค่ารถ หรือค่านำมัน และค่ากินอีกล่ะ??? ค่าครองชีพสูงขึ้น แต่รายได้เท่าเดิม บางครั้งมันก็น่าน้อยนัก

................กับอาชีพครู ผู้ที่สั่งสอนให้คนทั่วไปมีความรู้ แล้วไปประกอบอาชีพการงานได้เงินเดือนสูงๆ ..แต่ตัวครูเอง

...............กับมีเงินเดือนน้อยนิด บางท่านไม่พอใช้ในบางเดือน....ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วใครผิด??? หรือว่า แก๊สโซฮอลผิด

...................................................................แต่อย่างไรครูก็คงต้องสู้.....................................................

...............ครูไม่มีเหตุผล แต่ครูมีอุดมการณ์ อยากให้พวกคุณๆ เธอๆ มีความรู้ยิ่งๆขึ้นไปนั่นเอง......................

.......................................................974550230161-6....................................................................

มาเป็นกำลังใจให้ ผอ.คนเก่ง สู้ๆๆๆๆ ว่าแต่รูปแบบของแขวงนี่จะต่างกับตำบลมากน้อยแค่ใหน พอขับเคลื่อนไปได้แล้ว เอามาตีแผ่ให้พรรคพวกรับทราบด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะ ท่านรองรัฐเขต

ก่อนอื่นคงต้องขอแสดงความยินดีด้วย กับสถาบันฯ ที่ได้ท่านผอ.คนใหม่ คือ ดร.วิเชียรโชติ คนเก่งจากอุดรธานี

สำหรับ กศน.แขวง รูปแบบก็ไม่แตกต่างจาก กศน.ตำบล แต่การขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จนี่ซิคงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนักพอสมควร เพราะบริบทของคนเมือง (โดยเฉพาะเมืองกรุง) แตกต่างจากคนชนบทอย่างพวกเรามาก ๆ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถานที่ สภาพแวดล้อม ชีวิตความเป็นอยู่ และความต้องการที่แตกต่างกัน

ตอนนี้ก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วละค่ะ เหลือแต่จะทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเท่านั้น

จริง ๆ กำหนดรายละเอียดไว้หมดแล้ว พร้อมจะดำเนินการเปิดได้ทันที

แต่ช่างโชคดีเสียจริง ๆ สมศ.จะเข้าประเมินภายนอกวันที่ 14 ธันวาคม นี้ ก็เลยคิดว่าจะหยุดเรื่องพิธีเปิดไว้ก่อน และจะเตรียมการประเมินคุณภาพภายนอกให้เสร็จสิ้น ก็จะดำเนินการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

เป็นอย่างไรจะเล่าให้ฟังอีกครั้งค่ะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่ได้รับอย่างสม่ำเสมอ คิดถึงคนที่สถาบันฯ ทุกคนนะคะ

สุพรพรรณ

ผมว่า กศน.ตำบล/แขวง เป็นนวัตกรรมที่ดีมีประโยชน์มาก แต่การจะตั้ง กศน.ตำบล ให้ครบทุกตำบลภายใน 30 กันยายน 2553 นั้น สำหรับภาคกลางซึ่งมีจำนวนนักศึกษาไม่มากเหมือนภาคเหนือภาคอีสาน เป็นเรื่องยากครับ ถ้าครู ศรช.ยังต้องรับค่าตอบแทนจากเงินอุดหนุนรายหัวนักศึกษา แต่ละอำเภอก็ต้องหานักศึกษาเพิ่มอีกจำนวนมาก ๆ จะได้จ้างครู ศรช.เพิ่มเพื่อมาเป็นหัวหน้า กศน.ตำบล  แต่ถ้าครู ศรช. เป็นพนักงานราชการ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับรายหัวนักศึกษา เรื่องนี้ก็คงไม่ยากนะครับ ผอ.

สวัสดีค่ะ พี่เอก

ขอเรียกพี่เอกก็แล้วกันนะคะ คงจำกันได้ ขอบคุณค่ะทีเข้ามาพูดคุยกัน กศน.ตำบลเป็นวิธีคิดและวิธีปฏิบัติที่ดีจริง ๆ อย่างว่า และเรื่องค่าตอบแทนของครู ศรช.ที่น้อยนิด ก็ถูกอีกเหมือนกัน จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ ได้เคยนำเสนอที่ประชุมของสำนักมานานนับสิบปี ตั้งแต่เป็นกรม จนเป็นสำนัก และเป็นสำนักงาน กศน. แต่มันช่างดูยากเสียเหลือเกิน ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเพราะอะไร

ในที่ประชุมเมื่อ 5-6 ปีก่อน ได้เสนอไปว่า ค่าตอบแทนรายหัวของนักศึกษา เป็นเงินที่ควรจะตกถึงมือนักศึกษาจริง ๆ ในรูปแบบของสื่อ กิจกรรม และการพัฒนาเทคโนโลยี หรือเรื่องอื่น ๆ แต่กลับต้องนำเงินเกือบหมดมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนครู ดังนั้น เงินที่จะไปสู่นักศึกษาในรูปแบบของการจัดการเรียนและการพัฒนาคุณภาพจึงแทบไม่เหลือเลย

ในขณะเดียวกัน หากเสนอสำนักงบประมาณเพื่อขอเปลี่ยนแปลงหมวดเงินค่าตอบแทน ไปเป็นเงินเดือนค่าจ้าง กลุ่มครู ศรช.ก็จะได้มีโอกาสขึ้นเงินเดือนกันได้บ้าง ซึ่งอาจทำได้ไม่หมดทั้งประเทศ แต่ถ้าค่อย ๆ ทยอยทำไป ในที่สุดก็คงจะได้เป็นเงินเดือนแทนค่าตอบแทนกันทั้งหมด และที่สำคัญนักศึกษาจะได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบเสียที

ฝากคนอยุธยา ช่วยกระซิบกับท่านเลขาฯ บ่อย ๆ ก็แล้วกัน เผื่ออานิสงค์ จะได้ตกกับน้องครู ศรช.บ้าง สงสารเค้า เงินเดือนนิดเดียว แต่ทำงานหนักมาก ยิ่งที่กรุงเทพค่าครองชีพสูง แทบอยู่ไม่ได้ จึงได้มีการเข้า-ออกบ่อย ทำให้สถานศึกษาทำงานไม่ต่อเนื่องและได้ครูใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ ก็ต้องพัฒนากันไป เพราะครูเก่าเมื่อมีงานดีเงินสูงกว่า เขาก็ต้องไปเพื่อความก้าวหน้า และความอยู่รอด

ตอนนี้ ที่ห้วยขวาง กลางวันก็จะหุงข้าวและซื้อกับข้าวมาให้น้อง ๆ ทานกัน มีข้าว ไข่ มาม่า ตุนไว้เป็นหลัก อย่างน้อยก็ช่วยลดภาระค่าอาหารของน้อง ๆ ไปได้บ้าง แต่ที่เห็นได้ชัดกว่าคือ การทานข้าวด้วยกัน ทำให้พวกเรารักกันมากขึ้นค่ะ

คุยมาเสียมากมาย ขอบคุณอีกครั้งค่ะ หากมีโอกาสก็เข้ามาพูดคุยกันอีกนะคะ

สุพรพรรณ

กศน.ห้วยขวาง

ครู กศน.เขตราษฏร์บูรณะ

โครงการ ประจำปีงบประมาณ 2554

1) ชื่อโครงการ ดำเนินการศูนย์ กศน.แขวง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2) หลักการและเหตุผล

จากนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ของสำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ 2554 ที่มุ่งการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ส่งเสริมการพัฒนาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ ประกอบหลักสูตร เพื่อให้เกิดคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งในด้านการจัดการศึกษาพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การศึกษาตามอัธยาศัย และการประสานงานกับเครือข่ายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

กศน. เขตราษฎร์บูรณะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภารกิจดังกล่าว จึงได้จัดโครงการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับนักศึกษาและประชาชน โดยการจัดตั้งและดำเนินการศูนย์ กศน.แขวง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

3) วัตถุประสงค์

เพื่อให้ กศน.เขตราษฎร์บูรณะ มีศูนย์ปฏิบัติการที่สามารถให้บริการผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4) เป้าหมาย

เชิงปริมาณ

ศูนย์ กศน.แขวง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ กศน. แขวงราษฎร์บูรณะ และ ศูนย์ กศน. แขวงบางปะกอก

เชิงคุณภาพ

กศน. เขตราษฎร์บูรณะ มีศูนย์กลางในการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่อยู่ในชุมชน พร้อมที่จะให้บริการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5) วิธีดำเนินการ

กิจกรรมหลัก วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เป้าหมาย พื้นที่ดำเนินการ ระยะเวลา งบประมาณ

1. จัดตั้ง กศน.แขวง ที่มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายไว้บริการผู้เรียน

2. พัฒนาด้านกายภาพภายในและภายนอก

3. จัดทำป้าย กศน.แขวง เพื่อให้ กศน.เขตราษฎร์บูรณะ มีศูนย์ปฏิบัติการที่สามารถให้บริการผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต นักศึกษา เยาวชน และ ประชาชนทั่วไป ศูนย์ กศน.แขวง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ กศน. แขวงราษฎร์บูรณะ และ ศูนย์ กศน. แขวงบางปะกอก ศูนย์ กศน. แขวงบางปะกอก (ศรช.วัดราษฎร์บูรณะ)

ศูนย์ กศน. แขวงราษฎร์บูรณะ (ศรช.วัดสน) พ.ย. 52 - มิ.ย. 53 200,000.- บาท

6) วงเงินงบประมาณทั้งโครงการ

ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2553 แผนงาน : ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา ผลผลิตที่ 4 : ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ งบดำเนินงาน ค่าตอบแทนใช้สอยวัสดุ เป็นเงินจำนวน 200,000.- บาท (สองแสนบาทถ้วน)

7) แผนการใช้จ่ายงบประมาณ

กิจกรรมหลัก ไตรมาส 1

(ต.ค. – ธ.ค. 52) ไตรมาส 2

(ม.ค. – มี.ค. 53) ไตรมาส 3

(เม.ย. – มิ.ย. 53) ไตรมาส 4

(ก.ค. – ก.ย. 53)

จัดตั้ง กศน.แขวง ที่มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายไว้บริการผู้เรียน 25,400.- - - -

พัฒนาด้านกายภาพภายในและภายนอก - 100,000.- - -

จัดทำป้าย กศน.แขวง - - 74,600.- -

รวม 25,400.- 100,000.- 74,600.- -

8) ผู้รับผิดชอบโครงการ กศน.เขตราษฎร์บูรณะ โดยมอบหมายให้

1. นางสาววิภาวรรณ เฉยชิต ครูศูนย์การเรียนชุมชน

2. นายอนันต์ มากศรี ครูศูนย์การเรียนชุมชน

เป็นผู้ดำเนินโครงการ

9) เครือข่าย

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร

10) โครงการที่เกี่ยวข้อง

1. โครงการประกันคุณภาพสถานศึกษา

2. การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

11) ผลลัพธ์ (Outcomes)

กศน.เขตราษฎร์บูรณะ มีศูนย์ปฏิบัติการที่สามารถให้บริการผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

12) ดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ

12.1) ตัวชี้วัดผลผลิต (Outputs)

กศน. เขตราษฎร์บูรณะ เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่พร้อมที่จะให้บริการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างทั่วถึง

12.2) ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcomes)

ร้อยละ 70 ของผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของศูนย์ กศน. แขวงราษฎร์บูรณะ และ ศูนย์ กศน. แขวงบางปะกอก อยู่ในระดับดีขึ้นไป

13) การติดตามประเมินผลโครงการ

1. สรุปผลการดำเนินโครงการ

2. สังเกตการมีส่วนร่วมของบุคลากร และพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน

ลงชื่อ ................................................. ผู้เสนอโครงการ

ลงชื่อ ................................................. ผู้ตรวจสอบโครงการ

( นางเพียงใจ รอบคอบ )

ลงชื่อ ................................................. ผู้อนุมัติโครงการ

( นายคมกฤช จันทร์ขจร )

สวัสดีค่ะ ครูเขตราษฎร์บูรณะ

ขอบคุณค่ะ ที่ส่งโครงการ กศน.แขวงราษฎร์บูรณะมาให้ดู ตอนนี้ประเมินคุณภาพภายนอกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็คงจะมีความสุขดีกันทุกคนนะคะ

สุพรพรรณ นาคปานเอี่ยม

ผอ.กศน.เขตห้วยขวาง

          หนึ่งในนโยบายของท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน คือ จัดแหล่งเรียนรู้ราคาถูก (กศน.ตำบล) ให้ครบทุกตำบลในประเทศไทย  ฟังแล้วแลดูดีนะครับ  แต่ในความเป็นจริงผมว่านโยบายข้อนี้เหมือนกับมองว่า คน กศน. มีคุณค่าแค่จัดกิจกรรมอะไรที่ก่อให้เกิดการเรียนในราคาถูก ๆ เท่านั้น

          พวกเราอาจจะไม่คิด  แต่ผมคิดจริงอยู่ กศน.ตำบลใช้งบประมาณไม่มากแต่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่แก่คนที่ขาด พลาด ด้อย โอกาสทางการศึกษา  เมื่อมองว่า กศน.ตำบลคือแหล่งเรียนรู้ราคาถูก  ทำให้ผมรู้ว่าทำไมถ้าพูดถึงการศึกษา  ทุกคนจะคิดว่ามันคือการศึกษาในระบบเท่านั้น    น้อยคนที่จะคิดถึงว่าในความหมายของการศึกษา มันรวมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยไว้ด้วย  อย่างว่าละพวกเรามันลูกคนรับใช้ 

งาน กศน.ตำบลแหล่งเรียนรู้ราคาถูก ที่จะจัดขึ้นที่เมืองทองธานี วันที่ 16-18 พ.ค. 53 ผมศักดิ์ชัย ขอรับอาสาประสานงานเรื่องห้องพักสำหรับ คณะ อาจารย์ ครู หากท่านใดต้องการห้องพักที่ราคาไม่แพง และสะดวกสบาย ใกล้กับเมืองทองธานี ติดต่อประสานงานผมได้ ที่ 086-3237984 หรือ [email protected] ผมศักดิ์ชัย ยินดีให้บริการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท