TQM ภาคปฏิบัติ (1)


              

       

 

  เคยพูดและกล่าวกันมามากนัก     สุดท้ายของการพัฒนาคุณภาพ    คือ TQM    ขออนุญาตเอามะพร้าวมาขายสวนสักหน่อยค่ะ

 

          TQM (total quality management)  มีชื่อเรียกมากมายในภาษาไทย  เช่น การบริหารคุณภาพโดยรวม ,การบริการคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ ,การบริการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร  เป็นต้น

 

       ข้อสังเกต คือ มีคำจำกัดความมากมายแล้วแต่อาจารย์แต่ละท่าน  ,ไม่มีวิธีการหรือวิธีปฏิบัติที่ดีสุดเพียงหนึ่งเดียว       สิ่งที่เหมือนกัน   คือ ปรัชญา แนวคิด หลักการสำคัญ  วัตถุประสงค์ เป้าหมายเหมือนกัน เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยยึด “คุณภาพ” (ลูกค้า) เป็นแกนหลักหรือศูนย์กลางในการบริหารจัดการ

                    

                                         

 

             TQM ภาคปฏิบัติ

วัตถุประสงค์หลัก

-         การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลประกอบการที่ดีขึ้น

 

วิธีการ

-         มุ่งเน้นที่ลูกค้า/คุณภาพ

-         ปรับปรุงกระบวนการ

-         ให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม

-         บูรณาการและจัดแถวเพื่อผลสัมฤทธิ์

 

วิธีที่ 1  มุ่งเน้นที่ลูกค้า/คุณภาพ

-         รู้ถึงความต้องการลูกค้าที่แท้จริง

-         รู้ถึงเป้าหมาย/มาตรฐานของสินค้าหรือบริการ และสิ่งที่เกี่ยวข้อง

 

ผล   ทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจหรือประทับใจ เพื่อการกลับมาซื้อซ้ำหรือใช้อีก

 

วิธีที่ 2   ปรับปรุงกระบวนการ

-         รับลดขั้นตอบการผลิต/การให้บริการ

-         พัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ

-         มุ่งสู่สิ่งที่ดีขึ้น/ ความเป็นเลิศ

 

ผล

-         ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง

-         ทำให้เวลาส่งมอบสินค้าน้อยลง

-         ทำให้สามารถบริการได้เร็วขึ้น

-         ทำให้สินค้าหรือบริการดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้มากขึ้น

-         ทำให้ผลประกอบการสูงขึ้น

 

                                         

 

วิธีที่  3   ให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม

-         รับฟังข้อเสนอแนะ

-         ให้อำนาจพนักงาน

-         เน้นการทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะ ทีมข้ามสายงาน

-         ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานและกิจกรรมต่าง ๆ

 

ผล

-         ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน/ปรับปรุงงาน

-         ทำให้เกิดบรรยากาศ “ ช่วยกันคิดช่วยกันทำ ”

-         ทำให้เกิดความรัก ความผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น

-         ทำให้เกิดทีมงานที่แข็งแกร่ง

 

วิธีที่  4   บูรณาการและจัดแถวเพื่อผลสัมฤทธิ์

  1. การกำกับและควบคุมดูแล  เพื่อให้ทุกกิจกรรมหรือทุกกระบวนการเป็นไปตามเป้าหมายหรือแผนกลยุทธ์   (strategic plan)

2.    บูรณาการและจัดแถว  เพื่อลดความสูญเปล่าต่าง ๆ โดยมุ่งสู่การสร้างความประทับใจ และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

 

                                   เดี๋ยวมาต่อนะ

 

หมายเลขบันทึก: 313435เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ

- ขอบคุณค่ะ

- สงสัยต้องมาบ่อย ๆ ค่ะ

- เพราะกลัวเหงาค่ะ

ขอบคุณค่ะ

TQM มาเติมเต็ม เพื่อการพัฒนาครับ


สวัสดีค่ะอาจารย์ JJ

- ขอบคุณค่ะอาจารย์

- ยากเหมือนกันค่ะกับการพัฒนา

- แต่ถึงอย่างไรก็ไม่มีอะไรจะยิ่งใหญ่ไปกว่าการพัฒนาและปรับตัวของมนุษย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท