การประชุมระดมความคิดของวช.ด้าน การปฏิรูปการศึกษา ได้อะไรมาบ้าง ตอนที่ 1


              ผู้เขียนได้เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเรื่อง"การกำหนดหัวข้อการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2553-2554" ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ย. 2552 ณ โรงแรมมิราเคิล  แกรนด์ คอนเวนชั่น  กรุงเทพมหานคร   ในหัวข้อเรื่อง  การปฏิรูปการศึกษา มีวิทยากร 3 ท่านได้แก่ ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาการศึกษา  ดร.รุ่งเรือง  สุขาภิรมย์ กระทรวงศึกษาธิการ  รศ.ทองอินทร์  วงศ์โสธร  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

 

              กลับมาก็รีบมาสรุปเพราะกลัวว่าจะมีการตกหล่นและแบ่งปันสำหรับผู้ที่ไม่ได้ไปร่วมงานด้วยค่ะ  ท่านวิทยากรกล่าวว่า....

การศึกษาต้องเน้นความรู้คู่คุณธรรมและต้องเรียนอย่างมีความสุข มีการคิดในเชิงทักษะชีวิต  ทำให้ชีวิตมีความสุข อยู่ร่วมกับคนอื่นได้  คนเป็นครูควรเติมจิตวิญญาณลงไปด้วย

 

              ระยะที่ 1 ปี 2552-2555 เป็นการวางรากฐาน   พื้นฐานคุณภาพการศึกษาถูกยกระดับขึ้นโดยรวม  คุณลักษณะพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดีเป็นที่ยอมรับ  สร้างการเรียนรู้ใหม่ๆเกิดเป็นทางเลือก เป็นการแก้ระบบการศึกษาเป็นกลไก  สภาวิจัยแห่งชาติ(วช)ต้องการยกคุณภาพการศึกษา  เกิดทางเลือกใหม่ๆในการเรียนรู้ 

 

            มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง   เกิดงานวิจัย  งานวิจัยเรียนรู้  งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ การอ่านกระบวนการทางความคิด   การคิดวิเคราะห์  การรักการอ่าน  การสอดคล้อง  การศึกษาแต่ละระดับมีการสอดคล้องหรือไม่อย่างไร    การวิจัยเชิงประเมินผล   ถ้าค้นพบตัวอย่างต้นแบบที่ดี ควรมีวิจัยการถอดบทเรียน แล้วไปทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ  

 

           โจทย์งานวิจัยครั้งที่แล้ว....เน้นโรงเรียนขนาดเล็ก  รูปแบบโรงเรียนขนาดเล็กจะไม่เหมือนโรงเรียนขนาดใหญ่ การศึกษาที่ไม่ใช่กระแสหลัก  ใช้ธรรมชาติ ปรัชญา ศาสนาเป็นตัวตั้ง  เป็นการศึกษาทางเลือกแล้วประสบความสำเร็จ ควรเข้าไปทำการวิจัย

             (ระยะที่ 2  ปี 2556 - 2558  สานความรู้  ระยะที่ 3  (ปีจดไม่ทัน)สู่การเปลี่ยนแปลง )

 

              โจทย์วิจัยควรแก้ปัญหาของประเทศได้   มีการยกร่างหลักสูตรแล้วการอ่านเด็กไทยแย่มาก  โอกาสทางการศึกษาต่างกัน การมีส่วนร่วมระหว่างองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน   บทบาทของภาคประชาสังคม  NGO   การเป็นประชาคมอาเซียนควรมีการเรียนภาษาของเพื่อนบ้านด้วย   มีความจำเป็นอย่างมาก   เป็นการท้าทายนักวิจัยในการเขียนโจทย์วิจัย  ควรเขียนโจทย์ที่ตรงประเด็นกับปัญหา   เป็นคนไทยเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตและอย่างมีคุณภาพ  

 

"ทำอย่างไรจะยกระดับคุณภาพการศึกษาให้มีการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต"  

ควรมีการวางแผนในระดับจังหวัดด้วย  แผนเคยพูดกันแต่ในระดับชาติ  แต่ตอนนี้ควรมีการพูดกันในระดับท้องถิ่นด้วย   เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  ซึ่งสามารถจะไปแตะปัญหาได้ดีขึ้น   

 

              มีแผนภาพหน่วยงานและภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการนำแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ(2552-2559) ดังนี้

              -  คุณภาพการศึกษา   เน้นคุณภาพคนและคุณภาพสังคมภูมิปัญญา     

              -  การขยายโอกาสทางการศึกษา   ด้านโอกาสสำหรับทุกคนตลอดชีวิต และโอกาสสำหรับกลุ่มขาดโอกาส

              -  การมีส่วนร่วม  การจัดทำแผน  การบริหารจัดการ  การระดมทรัพยากร   การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน/ประชาคมโลก

 

               วิทยากรเล่าว่า...ในประเทศลาวมีมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว  ซึ่งรองรับนักศึกษาเวียดนามถึง 500 คน  ซึ่งในอนาคตคนเหล่านี้จะเป็นระดับผู้นำ  คนไทยควรเรียนรู้หลากหลายภาษาด้วย  เพื่ออนาคตเพราะเราเป็นสมาชิกอาเซียน....ว่าแต่คนไทยจะกล้าส่งลูกไปเรียนที่ลาวหรือเปล่า

 

              คำถาม/โจทย์วิจัย

องค์ประกอบต่างๆของระบบการจัดการศึกษา

การตอบสนองปรัชญา/เป้าหมายของการศึกษาหรือไม่ อย่างไร?

 (หลักสูตร,การเรียนการสอน.การวัดและประเมินผล,ครูผู้สอนและปัจจัยภายนอกอื่นๆ)

1. การกำหนดสาระ เวลาเรียน ฯลฯ

2. ความสมดุลพอดี ระหว่าง คุณธรรม ความรู้ ทักษะ วิชาการ  วิชาชีพ การดำรงชีวิต  การร่วมพัฒนาสังคม

3. การส่งเสริมให้เกิดการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้วิธีเรียนรู้

4. การตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน

5. ความสอดคล้อง เชื่อมโยง ต่อเนื่อง ระหว่างระดับการศึกษา

 

คนเราควรมีความถึงพร้อมด้วยสุขภาวะ 4 ประการ(กาย  จิต  สังคม  ปัญญา)

ครองคุณสมบัติของความเป็นคน "เก่ง-ดี-มีสุข"

"เก่ง"  หมายถึง การ "รู้/เข้าใจ-คิด-ทำ"

"ดี"  หมายถึง การมี "ศีล-สมาธิ-ปัญญา" และ"มัชฌิมาปฏิปทา"

"มีสุข" หมายถึง  "สุขกับตัวเอง  คนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม"

 

               สรุปข้อเสนอการวิจัยจากการระดมความคิด(ยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง)

               1. งานวิจัยสื่อการสอนในรูปแบบ e-learning สามารถเสนอเป็นผลงานวิจัยได้หรือไม่

               2. การวิจัยสถาบัน(ผลิตครู)ให้เป็นสังคมน่าคิดชีวิตสันติสุข เพื่อเป็นต้นแบบแก่นักศึกษาโดยวิธีกระบวนการขัดเกลาทางสังคม

               3.  การจัด/พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องเหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนแต่กระบวนการวัดผลผู้เรียนต้องผ่านการวัดผลระดับชาติ(NT)หรือต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

               4.  ระบบการศึกษาปัจจุบันครอบงำ  ครอบคลุม ครอบครอง เราจะเลิกปฏิรูปการศึกษา แต่มาปฏิวัติการศึกษาได้หรือไม่

               5.  ........จดไม่ทัน

               6.  วิจัยการพัฒนาหลักสูตรที่ใช้ในการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน

               7.  ต้องการพัฒนาครูให้สามารถสื่อสาร  ถ่ายทอดสู่ผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพจะมีวิธีการอย่างไร

               8.  การขยายโอกาสทางการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติต่างด้าวมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

               9.  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะวิจัยการประเมินหลักสูตร(หลักสูตรเดิม)  เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2551(หลักสูตรแกนกลางจะประกาศใช้ทำประกาศพ.ศ.2553)

               10.  ควรทำการศึกษาปัญหาของสังคมจนถึงปัญหาของท้องถิ่นอย่างบูรณาการโดยให้โรงเรียนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมเพื่อที่จะให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

               11.  การวิจัยทางการศึกษาจะขยับปสู่กรอบคิดและแนวทางในการศึกษาต่างไปจากอดีตอย่างไร

               12.  การวิจัยเครือข่ายกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนไทย-พม่า,ไทย-เขมร,ไทย-จีน, ไทย-ไทยใหญ่

               13.  การวิจัยหลักสูตรท้องถิ่นในเชิงวัฒนธรรมหลักสูตรที่มีอยู่สามารถนำไปใช้ได้จริงมากน้อยแค่ไหน

               14.  การทำ e-learning  ในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่สามารถเข้าถึง น่าจะมีการวิจัยวิทยุชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต(ทางวิทยากรแนะนำว่า..ควรทำเป็นชุดโครงการมี e-learning , วิทยุชุมชน  และศูนย์การเรียนรู้)

               15.  การวิจัยและพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานTQF

               16.  การพัฒนาหลักสูตรเน้นการสอนคิดมากกว่าสอนความรู้นั้นจะทำให้ความสำคัญที่หลักสูตรหรือการสอนมีแนวคิดอย่างไร

               17.  การสอนโดยใช้ทฤษฎี Constructionrism จะช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนแบบคิดเป็นทำเป็นจริงหรือไม่

              18.   การวิจัยและพัฒนามาตรฐานหลักสูตรภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับสังคมโลกาภิวัฒน์ของประเทศไทย  เพื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2

              19.   การศึกษาภาคบังคับจาก 12  ปีให้เหลือ  5 ปี

              20.   การวิจัยและพัฒนา Digital  Text  Book

 

             หมายเหตุ : โจทย์วิจัยทั้งหมดผู้เขียนบันทึกระหว่างการนั่งประชุมระดมความคิดในห้อง  มีบางข้อตกหล่นไปบ้าง    เพราะเป็นการประชุมในช่วงบ่ายวันสุดท้าย (ทางโรงแรมเสริฟแต่ขนมเบรคกับแก้วเปล่าแต่ลืมเติมกาแฟให้กับผู้เขียนซึ่งนั่งอยู่แถวหน้าเลยเริ่มง่วงๆๆๆๆๆๆๆๆ)    

 

      แต่หัวข้อวิจัยที่ผ่านการกลั่นกรองทางจากทางทีมงานวช.   จะนำเสนอในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  สำหรับบันทึกนี้เป็นการบันทึกส่วนตัวเพื่อแลกเปลี่ยนให้กับผู้อ่านที่ไม่ได้เข้าไปร่วมงานเท่านั้นค่ะ

             ถ้าผู้เขียนนึกได้จะมาเพิ่มเติมในบันทึกต่อไป เพราะบันทึกนี้ยาวมาก

หมายเลขบันทึก: 313513เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

" ทำอย่างไรจะยกระดับคุณภาพการศึกษาให้มีการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต " 

      ขออนุญาต ลปรร ด้วยครับ

     ตามความคิดเห็นของผม ต้อง "กระจายอำนาจ"  ให้เป็นรูปธรรม  ที่สุดครับ

     ต้องจัดการศึกษาแบบ "ดาวฤกษ์"  (ให้มีแสงสว่างในตัวเอง  ให้คิดเอง ทำเอง จากระดับรากหญ้า)

     ที่ผ่านมาเป็นแบบ "ดาวเคราะห์"  (ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องรอจากส่วนกลาง  ต้องทำตามสั่ง)

  • P ท่าน small  man คะ
  • ดีใจค่ะที่แวะมาแลกเปลี่ยนกัน   จากการลปรร.กันในห้องประชุม เราจะมีงานวิจัยที่มุ่งไปที่โรงเรียนขนาดเล็กที่มีการศึกษาแบบทางเลือกด้วย   ซึ่งเป็นการศึกษาที่เน้นธรรมชาติ  ปรัชญา ศาสนาแล้วประสบความสำเร็จ เป็นต้นแบบที่ดีให้กับที่อื่นค่ะ  เพราะเด็กเหล่านี้จะได้เรียนรู้ที่เขาสามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริงๆ
  • เพราะบางครั้งนโยบายจากส่วนกลางก็ไม่สอดคล้องกับชุมชนนั้นๆนะคะ  ว่าแล้วต้องไปเสาะแสวงหาโรงเรียนที่มีการศึกษาแบบ "ดาวฤกษ์" ดีกว่าค่ะ
  • ขอบคุณมากๆเลยนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท