การประชุมระดมความคิดของวช.ด้าน การปฏิรูปการศึกษา ได้อะไรมาบ้าง ตอนที่ 2


           จากงานในบันทึกที่แล้วได้โจทย์วิจัยจากการระดมความคิด

การประชุมระดมความคิดของวช.ด้าน การปฏิรูปการศึกษา ได้อะไรมาบ้าง ตอนที่ 1

           เนื่องจากยังมีข้อมูลเพิ่มเติมของท่านวิทยากรคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านที่เข้ามาอ่าน  จะได้รับทราบความเคลื่อนไหวของการให้ความรู้ก่อนการระดมความคิดเรื่องการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้...

 

           ท่านวิทยากร กล่าวว่า...กลไกการศึกษาแยกแยะคนดีคนชั่วไม่ได้  แยกแยะความจริงกับความคิดเห็นไม่ได้   สังคมที่เราต้องการคือ.... สังคมสันติภาพ  ระเบียบกระบวนการศึกษาความขัดแย้ง   เรื่องสื่อมีอิทธิพลมาก ทำอย่างไรให้รู้เท่าทันสื่อและมีทักษะความรู้เรื่อง ICT ด้วย 

 

           เป้าหมายในการปฏิรูปรอบแรก    คนเราควรมีความถึงพร้อมด้วยสุขภาวะ 4 ประการ(กาย  จิต  สังคม  ปัญญา)

 

ครองคุณสมบัติของความเป็นคน "เก่ง-ดี-มีสุข"

"เก่ง"  หมายถึง การ "รู้/เข้าใจ-คิด-ทำ"

"ดี"  หมายถึง การมี "ศีล-สมาธิ-ปัญญา" และ"มัชฌิมาปฏิปทา"

"มีสุข" หมายถึง  "สุขกับตัวเอง  คนรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม"

 

           ต้องเป็นเรื่องการรู้  ความเข้าใจ   นิยามนี้ต้องมานั่งทบทวน  พอพูดถึงเก่ง ก็ O-NET พอไม่ดีก็เครียด  มาโทษว่าสมรรถนะการแข่งขันไม่ดี  ข้างนอกมีแหล่งเรียนรู้มาก แต่เวลาสอบเน้นวิชาการ 

 

ปัญหาความล้มเหลวของการศึกษา

 

ปัญหาเกี่ยวกับครู      ปัญหาที่แก้ไขได้โดยการวิจัยต่อไปในอนาคต 

- การขาดแคลนครู                  - ขาดแคลนครูเฉพาะสาขา

- คุณภาพและมาตรฐานครู      - การผลิตครูยุคใหม่ให้มีคุณลักษณะ

                                                   ที่พึงประสงค์

 

ปัญหาด้านการจัดการศึกษา

- การพัฒนาหลักสูตร               -  การจัดทำหลักสูตรที่ยึดความดีเป็น

                                                     ตัวตั้ง

- ความสมบูรณ์ของหลักสูตร    -  ปัญหาความคล่องตัวในการปรับ

                                                หลักสูตรให้ทันสมัยเหมาะสมกับสังคม

                                               

- การจัดการเรียนการสอน       -  ปัญหาการขาดสื่อการเรียนการ

                                                    สอนที่มีคุณภาพ

 

         เราให้ความสำคัญกับความรู้เก่งมาก ก็แสวงหาอำนาจ เงินตรา ยิ่งสร้างตนเองให้มี power  จึงต้องเปลี่ยนการพัฒนารหัสใหม่ให้ความดีเป็นตัวตั้ง  การอยู่ร่วมกันให้ได้ การแสวงหาความรู้  พัฒนาความดี   หาช่องทางให้เกิดความรู้เพื่อนำไปสู่ในการพัฒนาสังคม  กระบวนการศึกษาของเราต้องเน้นความดีเป็นตัวตั้ง  

 

          เราจะจัดการศึกษาอย่างไรต้องวิจัย  ครูรุ่นใหม่ควรใส่จิตวิญญาณของการพัฒนาแนวคิด   มีงานวิจัย McKinsey กับประเทศต่างๆ ตรงไหนดีไม่ดี เลือกที่มี best  practice 20-30 ประเทศได้ข้อสรุปว่าคุณภาพการศึกษาก็คือ คุณภาพครู

 

งานวิจัยของ McKinsey  และคณะ(2007) ได้ข้อสรุปว่า...

- การศึกษาที่ดีมาจากคุณภาพของคนที่มาเป็นครู

- คุณภาพการศึกษาไม่มีทางเกินคุณภาพครู

- ต้องสร้างความมั่นคงในระบบและกลไกลที่จะทำให้ครูสอนผู้เรียนทุกคนดีที่สุด

    -  วางระบบการคัดคนที่เหมาะสมมาเป็นครู

    -  สร้างแรงเสริมให้คนเก่ง/ดีเป็นครู

    -  ผลิตและพัฒนาครูให้มีทักษะความสามารถในการพัฒนาคน

ทำอย่างไรจะรักษาครูเก่งๆให้คงอยู่.....

 

หลักกระบวนการขัดเกลาทางสังคมและการเรียนรู้ทางสังคม(Social learning)

          กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมกับจิตวิทยาซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมต้องการ      ทำให้ผู้ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มได้เรียนรู้และรับระเบียบวิธีกฏเกณฑ์ความประพฤติและค่านิยมต่างๆที่กลุ่มได้กำหนดไว้เป็นระเบียบของความประพฤติและความสัมพันธ์ของสมาชิกของสังคมนั้น

          สมาชิกของสังคมจะต้องผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมตลอดชีวิตทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพตามความต้องการของสังคม  มีความเป็นคนไทยโดยแท้จริง  สามารถอยู่ร่วมและมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างราบรื่น

          วิจัยเพื่อพัฒนาคนเป็นงานวิจัยหลัก พยายามผลักดัน งานวิจัย R&D ที่เน้นการใช้ปัญญาแก้ปัญหาการขัดแย้งในสังคม    ต้องแสกนกลุ่มเสี่ยง  กลุ่มเป้าหมายในแต่ละสังคม  ในสิบปีข้างหน้าเราจะปลอดอะไรบ้าง เช่นการอ่านหนังสือไม่ได้  ตำบลเรา จังหวัดเรา  ภูมิภาคเรามีมั้ย  จนนำไปสู่ระดับชาติ

 

การพัฒนาคนระดับนโยบาย

 

- การวิจัยและพัฒนารูปแบบการใช้ปัญญาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม

- การวิจัยเพื่อสำรวจปริมาณและพัฒนาคนไทยให้มีระดับจิตใจสูงขึ้นตามรหัสใหม่ของการพัฒนา(ยึดความดีเป็นตัวตั้ง)

- การวิจัยนโยบายเพื่อวางระบบการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนไทยที่มีประสิทธิผล

 

การพัฒนาระบบการศึกษา

 

- การประเมินเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง/จุดอ่อนในทุกขั้นตอนของระบการจัดการศึกษา   (เช่น การเรียนการสอนเน้น"การคิด" แต่การประเมิน เน้น "การจำ") ระบบการปฏิรูปไม่เปลี่ยน

- การวิจัและพัฒนาระบบการจัดการศึกษาแบบองค์รวมที่เน้นกระบวนการขัดเกลาทางสังคม/ทักษะการเรียนรู้ทางสังคม

- การพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาทุกระบบ

 

             การปฏิรูปการศึกษาแต่ระบบการประเมินยังไม่เปลี่ยน  การคิดเชิงทักษะชีวิต การโยงความรู้ไปใช้ในห้องเรียน  แต่ไม่มีการคิดให้เขามีความสุข   คนทำวิจัยเรื่องครู  ระบบการผลิตครู  เรารู้ว่าคนเก่งไม่มาเรียนครู   มีการพูดว่าให้เพิ่มเงินเดือน  แต่ถึงเพิ่มไปคนเก่งก็ไม่มาเรียน สามารถไปประกอบอาชีพอื่นได้  

             คนเก่งที่มีไอคิวสูง  เขาก็ไม่สามารถทนกับการมาอธิบายผู้เรียนระดับปกติให้เข้าใจได้  เพราะเขาก็จะสามารถพูดคุยได้แต่คนที่มีไอคิวระดับเดียวกันเท่านั้น   การดึงคนเก่งมาเป็นครูอย่าคิดมิติเดียวว่าขึ้นเงินเดือน  ลองหากลยุทธ์ที่คนเรียนไม่เก่งมาก แต่รักจะเป็นครูคนเรียนครูแต่อยากประกอบอาชีพครู 60%  เป็นคนต่างจังหวัด อีก 40% ไปทำอาชีพอื่น

 

              ควรมีการวิจัยระบบต่อยอดสายวทบ.ดึงให้มาเป็นครู  แต่กลายเป็นว่าเด็กเปลี่ยนไปเรียนสายอาชีพมากขึ้น  นับวันจะหาคนที่เก่งฟิสิกส์ยากขึ้น

              ครูวางเป้าหมายมาตรฐานเด็กระดับไหน  แล้วถึงเป้ามาตรฐานหรือยัง ต่อไปต้องนำข้อสอบ O-NET มาให้อาจารย์วิเคราะห์ว่าข้อสอบดีไม่ดีอย่างไร ไม่มีใครที่จะรู้ได้ดีกว่าครู

 

การพัฒนาคุณภาพครู

 

1. การวิจัยเพื่อปรับปรุงสมาคมวิชาชีพครูให้มีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล

2. การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการผลิตครู(มีกลยุทธ์ที่ดีในการดึงคนเก่งมาเรียนครู)

3. การวิจัยและการแก้ปัญหาสุขภาวะทางอาชีพของครู(occupational  well-being)

4. การวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายครูในการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาชีพ

5. การวิจัยและพัฒนาศาสตร์การสอน  เทคโนโลยีการศึกษาและการประเมินที่มีประสิทธิภาพสำหรับครู

6. การพัฒนากระบวนการผลิตครูที่เป็นระบบต่อยอดจากปริญญาตรีสาขาวิชาการ

 

การแก้ปัญหาความยากจน

 

- การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- การพัฒนาชุดฝึกอบรมการแก้ปัญหาทางสังคมด้วยตนเอง

- การวิจัยเพื่อหาแนวทางการยกระดับจิตใจของคนไทย

- การวิจัยเพื่อหามาตรการกระจายรายได้สู่สังคมชนบทผ่านกิจกรรมทางการศึกษา

 

การพัฒนาทางเทคโนโลยี

 

1.การวิจัยเพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติทางสังคม

2.การพัฒนาคนไทยให้มีความรู้ที่จำเป็นด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร(ICT Literacy)

3.การพัฒนาแนวทางการปฏิรูประบบการผลิตเทคโนโลยีการสื่อสาร(ทั้งการพัฒนาที่ตัวผู้ผลิตและการพัฒนาที่ตัวเทคโนโลยี)

4.การวิจัยและพัฒนามาตรการควบคุมการเผยแพร่ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

5.การวิจัยเพื่อสำรวจปริมาณและพัฒนาคุณภาพจิตสำนึกสาธารณะของนักสื่อสารมวลชน

ควรมีงานวิจัยที่ยกระดับคุณภาพการศึกษาสื่อสารมวลชนด้วย 

 

ตัวอย่างโจทย์วิจัย

 

1.  การพัฒนา "ครูดี มีความรู้"

2.  การพัฒนาหลักสูตรตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมสันติสุข  หลักสูตรแบบนี้หน้าตาอย่างไร

3.  การพัฒนาสื่อการสอนและตำรา ควรมาเทียบสื่อก่อนปฏิรูปและหลังปฏิรูปว่าผลิตตำราเปลี่ยนไปหรือเปล่า

4.  การปฏิรูประบบการผลิตครู

5.  ทิศทางการพัฒนากำลังคนในอนาคต

6.  การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อการใช้ชีวิตในสังคม

7.  การพัฒนาคนรุ่นใหม่โดยใช้กระบวนการขัดเกลาทางสังคมและการเรียนรู้ทางสังคม

8.  การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ประชาธิปไตย   ตอนนี้มีวิธีการสอนแบบหนึ่งที่ให้เด็กได้ใช้ประชาธิปไตยในเรียน  คือผู้สอนใช้การสอนที่เด็กมีสิทธิมีเสียงในการเรียน

9.  การสร้างภูมิคุ้มกันให้คนไทยพอเพียง

10. การพัฒนาคนเพื่อสรรค์สร้างสังคมสันติ  วิถีไทย 

11. การปฏิรูปการศึกษาเน้นการพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น

12. พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อการใช้ชีวิตในสังคม

13. การพัฒนาหลักสูตรเน้นการสอนคิดมากกว่าการสอนความรู้

14. การพัฒนาระบบประเมินผู้เรียนทุกระดับให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการพัฒนานโยบาย 

15. การพัฒนาระบบการประเมินผู้เรียนที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่

จะทำอย่างไรที่ข้อสอบไม่ได้วัดแต่ความรู้ แต่วัดกระบวนการเรียนรู้อย่างแท้จริง

หมายเหตุ: ข้อมูลทั้งหมดถอดมาจากการบรรยายของวิทยากรก่อนการระดมความคิดเพื่อพัฒนาโจทย์วิจัย   อาจมีบางส่วนที่ไม่ได้นำเสนอบ้างเพราะข้อมูลค่อนข้างมาก

 

หมายเลขบันทึก: 313729เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2009 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • bangsai
    15 พฤศจิกายน 2009

    น้องลูกหว้าครับ ดีมากครับ
    พี่เล่าประสบการณ์เรื่องนี้หน่อย ประเด็นการปฏิรูปการศึกษานั้นมีเวทีพูดกัน ประชุมกัน อภิปราย สัมมนาทั้งระดับเล้กๆและรัดับชาติมามากมาย สมัยนั้นพี่จำได้ว่าพี่มาเรียน มช.ปี 2512 เรื่องนี้ดังมาก เราจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาวางแนวทาง มาร่วมอภิปราย วางแผนแม่บท  เราบินไปดูงานต่างประเทศกันหลายหลุ่มหลายประเทศ กลับมาแล้วก็มาพูดคุยกัน  บรรยากาศเหมือนว่าจะเปลี่ยนแปลงแล้วในวันพรุ่งนี้

  •  

    แต่ก็เปลี่ยนปรับได้บ้าง ไม่มากนัก พี่อ่านเอกสาร ติดตาม เข้าร่วมการประชุม หลายต่อหลายครั้ง  แต่ระบบการศึกษาก็เป็นอย่างที่เห็น  หลายอย่างก็ดีขึ้น อีกจำนวนมากยังไม่ปรับเปลี่ยน บางอย่างดูจะเป็นปัญหามากขึ้น

    ระบบมันซับซ้อนมากกว่าที่เราจะพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินในเร็ววัน
    จนมีคนที่แหกวงการออกมา เช่น โรงเรียน summer hill ที่กาญจนบุรี โรงเรียนของท่าน ดร….ชุมสาย โรงเรียนรุ่งอรุณ ฯลฯ แต่นั่นก็เป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทั้งหมด

    จนเกิดวิทยาลัยชุมชน เกิดมหาวิทยาลัยชีวิต….

    เมื่อพิจารณาสิ่งนี้—->

    การแก้ปัญหาความยากจน

    - การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    - การพัฒนาชุดฝึกอบรมการแก้ปัญหาทางสังคมด้วยตนเอง

    - การวิจัยเพื่อหาแนวทางการยกระดับจิตใจของคนไทย

    - การวิจัยเพื่อหามาตรการกระจายรายได้สู่สังคมชนบทผ่านกิจกรรมทางการศึกษา

  •  

    พี่ขออนุญาติ แสดงความเห็นตรงนี้ในฐานะที่พี่วนเวียนอยู่ในประเด็นนี้

    • การทำวิจัย ยังเป็นแบบเดิมๆ ดีอยู่ แต่ไม่เพียงพอแล้วครับ พี่ยังนึกว่า หากพี่ปลดระวางพี่อยากใช้เวลาไปนั่งในห้องสมุดทุกมหาวิทยาลัย ทุกสถาบัน แล้วอ่าน คัดเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความยากจน  แค่นี้ก็มากมายมหาศาล  แค่ไปเรียนรู้และเอามาใช้ประโยชน์ก็มากมาย  แล้วแปรออกมาเป็นรูปธรรมในการนำไปทำจริงๆ  งานวิจัยที่เป็นแบบ traditional research นั้นหมดยุคไปแล้ว ต้องทำเป็น action research อย่างจริงจัง
    • สิ่งสำคัญคือ เอาผลการวิจัยมาใช้ พี่เข้าร่วมงานวิจัยก็มากพอสมควร แต่จบลงที่นำเสนอผลงานวิจัยแล้วรับเงินทองไป ตีพิมพ์ลงในเอกสาร วารสาร แล้วก็จบลงที่นั่น นักการศึกษาบอกว่าทำหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว…
    • การฟื้นฟูทุนทางสังคมเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด วิเคราะห์กันลึกๆมิใช่ฟื้นฟูเท่านั้น แต่การสร้างภูมิคุ้มกันอิทธิพลทุนนิยมนั่นก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเหตุนี้จึงเกิดพังทะลายของทุนทางสังคมของเรา
    • เพราะทุนทางสังคมคือฐานรากที่สำคัญของการพึ่งพิงตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  และความพอเพียงที่ภาคใต้กับอีสานและที่อื่นๆองค์ประกอบก้ไม่เหมือนกัน  แม้แต่อีสานด้วยกันเอง อีสานที่ราบ กับอีสานเชิงเขา องค์ประกอบการพึ่งตนเองก็แตกต่างกัน
    • ความยากจนมีปัจจัยแห่งเหตุมากมายมากกว่าสมมุติฐานที่กำหนดไว้นั้น

    อย่างไรก็ตาม การวิจัยมิใช่จะไร้ความหมาย มีความหมายครับ เพราะสังคมเคลื่อนตัวไป ทุกอย่างก้หมุนไป การวิจัยก็ต้องมีขึ้น แต่ทำอย่างไรให้เอาไปได้จริงๆครับ

    เอาแค่นี้ก่อนนะครับน้องลูกหว้า

  • แหมๆๆ พอเราไปที่ลาน พ่อก็มาตอบที่นี่ คิดถึงค่ะพ่อ เขาก็ถกๆกันอยู่ค่ะพ่อว่า เน้นให้เรียนแบบสนุกและมีความสุข แต่พอเวลาสอบก็อัดแต่วิชาการ อิอิ..เด็กปรับตัวไม่ทันเลย

    รับความรู้จากอาจารย์ครับ ;)

    • P ขอบคุณค่ะอาจารยวสวัต
    • ขนาดย้ายมาเขียนที่อีกบล็อกหนึ่งท่านก็ยังตามมาอ่าน ดีใจจริงๆเลยค่ะ
     

     

    ได้อ่านด้วยคน..เห็นด้วยกับหลายเรื่องนะคะ
    พี่เคยถามคนเป็นครู เขาบอกว่างานสอนน่ะชอบทำ แต่งานเอกสาร KPI ไม่อยากทำทำให้เบื่อที่จะอยู่ในอาชีพครู
    น่าจะศึกษาว่า ครูทำงานที่ไม่ใช่งานครูกันกี่เปอร์เซนต์ของงานนะคะ

    • พี่สร้อยคะ
    • จริงด้วยค่ีะพี่ ที่สำคัญแทนที่ครูจะทำหน้าที่ของครูให้เต็มที่ กลับต้องมานั่งทำเอกสาร make เอกสารเพื่อให้ได้ KPI
    • ว่าแต่ถ้าทำวิจัยเรื่อง นี้ออกมา อิอิ…กลัวดังค่ะพี่  แต่น่าจะโดนใจครูทั่วประเทศทีเดียว
     
    •  

    #7:: sutthinun 16 พฤศจิกายน 2009 เวลา 11:58   คลิกแก้ไข

    เห็นด้วย แต่ไม่เห็นคนแก้ และนโยบายที่จะแก้ปมที่ว่ามาทั้งหมด
    คิดแต่ไม่ได้ทำ หรือยังไม่ทำ คงไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    แบ๊ะๆมา ก็แบ๊ะๆไป อิอิ

    • ก็เห็นขยันระดมความคิดกันนะคะพ่อ  พูดๆๆกันมากมาย
    • ก็คงต้องรอนโยบายที่รับฟังเห็นของพวกเรากันบ้างค่ะ
    • ก็เห็นขยันระดมความคิดกันนะคะพ่อ  พูดๆๆกันมากมาย
    • ก็คงต้องรอนโยบายที่รับฟังเห็นของพวกเรากันบ้างค่ะ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท