พระพม่าตอบปัญหา ซาบซึ้งถึงผู้พิการ


พระพม่าตอบปัญหา ซาบซึ้งถึงผู้พิการ

สวัสดีครับ

         ช่วงนี้ย่างเข้าฤดูหนาวแล้ว อากาศสดชื่นเย็นสบายจังนะครับ พอดีวันนี้ผมได้อ่านวารสารส่งเสริมพุทธศาสนาฉบับพม่าที่แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "มงคลประเสริฐ" ในคอลัมภ์ตอบปัญหาทางศาสนา ซึ่งพระอาจารย์ "ติโลกสาระ" เป็นผู้รับวิสัชนาตอบคำถาม และเมื่อพิจารณาจากเนื้อหาแล้วก็จะพบว่าพุทธศาสนิกชนชาวพม่าก็มีปัญหาค้างคาใจในเรื่องของศาสนาอยู่ไม่น้อย แล้วก็มีอย่างหลากหลายความสนใจไม่แพ้ไทยเลยเหมือนกันครับ ก็มีตั้งแต่เรื่องระดับชาวบ้านเช่นการบูชาผี ไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่ ขึ้นไปจนถึงเรื่องศีลธรรมพื้นฐานบาปบุญคุณโทษ การครองเรือน ประเพณีแบบพุทธปนผี เรื่องไสยศาสตร์ก็มีอยู่ไม่น้อย จนกระทั่งลึกซึ้งถึงเรื่องนิพพาน ซึ่งท่านพระอาจารย์พม่าองค์นี้ก็ตอบได้กระจ่างชัดดี ทั้งยังชี้ให้เห็นคุณโทษและประโยชน์ในแบบพุทธสอดแทรกเข้าไปได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลอีกด้วย แล้ววันหลังผมจะนำมาเรียนเสนอให้ท่านพิจารณากันนะครับ

          แต่สำหรับวันนี้มีคำถามที่น่าสนใจจากเพื่อนพุทธศาสนิกชนคนพม่าที่มีระบบการรับฟังเสียงพิการ ซึ่งพระอาจารย์ก็ตอบได้ซาบซึ้งกินใจมากนะครับ ผมเลยขอนำมาฝากให้เพื่อนๆพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งที่มีร่างกายปกติและทุพพลภาพได้พิจารณา ให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนาของเราต่อไปครับ ข้อความมีอยู่ว่า

คนหูหนวก เป็นใบ้กับการสวดมนต์

ถาม        พระคุณเจ้า, ศิษย์เริ่มเป็นโรคหูหนวกมาตั้งแต่ยังเด็กเมื่ออายุได้ ๘ ขวบ,,เมื่อหูไม่ได้ยินก็มีผลทำให้พูดได้ไม่ชัด,,และเพราะพูดได้ไม่ชัดเมื่อเวลาสวดมนต์จึงออกเสียงได้ไม่ชัด,,ทำให้ผิดเป็นส่วนมาก,,ด้วยศิษย์ไม่อาจออกเสียงสวดมนต์ให้ถูกต้องได้ศิษย์จะได้กุศลไหมค่ะ,,ชาติหน้าศิษย์จะได้อยู่ในภพภูมิที่ดีหรือเปล่า,,บรรดาคนที่หูหนวกเป็นใบ้เหมือนกับศิษย์ถ้าสวดมนต์ไม่ได้ ไหว้พระไม่เป็นชาติหน้าเขาจะต้องไปอบายภูมิไหม กรุณาตอบด้วยเจ้าค่ะ,,

เอเอ-มยิ่ง,ปองตแล,อำเภอเมืองแปร

ตอบ       การบูชาพระพุทธเจ้านั้น ที่สำคัญคือต้องมีจิตเจตนาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเสียก่อนเป็นอันดับแรก,,หากไม่มีเจตนาแม้สวดท่องไปก็ไม่อาจกล่าวได้ว่ามีผลสมบูรณ์,,ดังนั้นการที่ตนเองมีความตั้งใจอย่างจริงจังในการสวดมนต์เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยความเคารพนบน้อบ,,มิใช่ว่าสวดไม่ชัดแล้วจะไม่ได้กุศล,,แม้จะสวดชัดก็ดีหรือสวดไม่ชัดก็ดี ก็ได้กุศลอันยิ่งเหมือนกันทั้งนั้น,,

              ดังมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประทับที่เขาเวทิสสกะ มีนกกลางคืนตัวหนึ่งที่เรียกว่าเค้าแมว ได้เห็นพระพุทธเจ้าก็เกิดความเลื่อมใส บินลงมาถวายอภิวาทแล้วเปล่งเสียง“กวิๆแกวะๆ”ต่อหน้าพระบรมศาสดา ดังนี้พระอานนท์จึงทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุการณ์ดังกล่าว พระพุทธเจ้าจึงทรงมีพุทธพยากรณ์ว่า“เจ้านกกลางคืนที่เรียกว่าเค้าแมวน้อยตัวนี้ มีเจตนศรัทธาต่อเราผู้เป็นพระพุทธเจ้าด้วยการร้องตามภาษาแห่งตนโดยเคารพ ชาติหน้าต่อไปเขาจะได้เสวยสุขบนสรวงสวรรค์นับครั้งไม่ถ้วน จนชาติสุดท้ายจะได้โสมนัสสาเข้าถึงความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล”

           ดังนั้นความคิดวิตกที่ว่าหากสวดไม่ชัดแล้วก็จะไม่สวดนั้นอาตมาจึงไม่อยากให้เกิดขึ้น,,แต่อยากจะสนับสนุนให้โยมได้กระทำการบูชาด้วยจิตที่เจริญขึ้นด้วยศรัทธาตั้งมั่นในเจตนาของตนอย่าให้ขาดทั้งกลางวันกลางคืน,,

พระติโลกสาระ

                                          :)      :)     :)

         อืม. เห็นตัวอย่างการตอบปัญหา และนิทานธรรมบทที่พระอาจารย์ยกมาแล้ว ทำให้พุทธศาสนิกชนอย่างผมรู้สึกอบอุ่นใจในธรรมคือความเมตตา (การขวนขวายนำมาให้ซึ่งความสุข) และกรุณา(การช่วยขจัดออกไปซึ่งความทุกข์) ในพระพุทธศาสนาจริงๆครับ ขอให้เพื่อนร่วมโลกทั้งที่เป็นพุทธศาสนิกชนและมิใช่จงมีความสุขทั่วกันครับ

สิทธิพร เนตรนิยม

เอกสารอ้างอิง: ๑.คอลัมภ์มงคลประเสริฐถาม-ตอบ, วารสารมงคลประเสริฐ,ฉบับที่ ๙ เลขที่ ๓ กันยายน ๑๙๙๓

                    ๒.annefriday.com

หมายเลขบันทึก: 315775เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2009 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท