ป้าเจี๊ยบ
น้อง พี่ อา ป้า ครู อาจารย์ คุณ นางสาว ดร. รศ. ฯลฯ รสสุคนธ์ โรส มกรมณี

การฝึกหัดครูของฟินแลนด์ สวีเดน และสาธารณรัฐอิตาลี


ครุปริทัศน์ ฉบับครบรอบ 117 ปีการฝึกหัดครูไทย และวันคล้ายวันสถาปนาการฝึกหัดครูไทย 29 กันยายน 2009

            ขอเริ่มด้วยประโยคฮิตค่ะ...

            The quality of education system cannot exceed the quality of its teachers.

            The quality of the outcomes of any school system is essentially the sum of the quality of the instruction that its teachers deliver.

                                    จาก McKinsey Report in Education, September 2007.

            นี่คือบทสรุปที่นักการศึกษาสมัยนี้ นำมาอ้างอิงมากที่สุด โดยเฉพาะในยุคปฏิรูปการศึกษารอบที่สอง...

            ถ้าเป็นไปตามนี้ ก็หมายถึงว่า คุณภาพของระบบการศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพของครู 

            ฉันจึงอยากรู้ว่าประเทศเจ๋งๆ อย่างประเทศฟินแลนด์  ซึ่งเป็นประเทศที่นักเรียนมีผลสอบ PISA 2006 วิชาวิทยาศาสตร์ได้คะแนน 563 ซึ่งสูงที่สุดในโลก ทั้งๆที่ เด็กฟินแลนด์ไม่ได้เข้าเรียนจนกว่าจะอายุครบ 7 ปี  และเรียนวันละ 4-5 ชั่วโมงในช่วง 2 ปีแรกที่เข้าโรงเรียน ทำมั๊ย ทำไม??  ยังสอบได้คะแนนสูงในวิชาคณิตศาสตร์ การอ่าน และการแก้ปัญหา   ส่วนเด็กไทยเรียน เรียน เรียน..มากมายก่ายกอง  บวกกับกวดวิชาเพิ่มเข้าไปอีก ยังไม่ติดฝุ่น...

            ต่อมาก็ ประเทศสวีเดน  ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตสูงที่สุดในโลก  และประเทศสาธารณรัฐอิตาลี ก็มีความหลากหลายในการจัดการศึกษาทั้งด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพสูง  จนเห็นได้จากคนไทยจำนวนมากที่พากันคลั่งแฟชั่นและสินค้าจากอิตาลี 

            ความสำเร็จของประเทศเหล่านี้ ย่อมเป็นผลมาจากการมีระบบการศึกษาที่ดี และคุณภาพของระบบการศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพของครู อย่างข้อสรุปใน McKinsey report (2007)  ดังนั้น  การฝึกหัดครูของประเทศเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่น่าเรียนรู้และอาจมีประโยชน์ต่อการพัฒนาสถาบันฝึกหัดครูของไทย ซึ่งฉันทำงานอยู่ด้วยแห่งหนึ่ง

            เนื้อหาสาระหลักที่ตั้งใจศึกษา ประกอบด้วย ความเป็นมาของการฝึกหัดครู สถาบันฝึกหัดครู การรับนักศึกษาครู  หลักสูตรการฝึกหัดครู และประเด็นที่น่าสนใจของแต่ละประเทศ   ศึกษาเพราะอยากรู้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และจัดทำข้อเท็จจริงของแต่ละประเทศตามที่ได้จากการศึกษาเอกสารเท่านั้น  จะได้เอาไว้อ้างอิงหรือประกอบการพัฒนางานของตัวเองในฐานะที่เป็นกลไกหนึ่งในสถาบันฝึกหัดครูไทย   ไม่ได้เขียนแบบศึกษาเปรียบเทียบหรือวิเคราะห์วิจารณ์อะไรทั้งนั้น  และไม่จัดทำข้อสรุปใดๆ ทั้งสิ้นให้ด้วย

            ใครสนใจ "อยากรู้" หรือคิดว่าจะใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ก็เชิญเข้าไปอ่านได้ ที่นี่ 
 
หมายเลขบันทึก: 316239เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2009 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท