ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

อริยสัจจ์: เครื่องมือสร้างสุขที่ยั่งยืน


          อริยสัจจ์ ๔ เป็นชุดความคิดที่แสดงให้มนุษยชาติได้ตระหนักรู้และมองเห็นความจริงที่ประเสริจ เหตุผลที่เรียกว่าความจริงอันประเสริฐก็เพราะอริยสัจจ์ ๔ เป็นชุดความคิด และหลักปฏิบัติที่สามารถทำให้พระพุทธเจ้าสามารถออกจาก "กำดัก" หรือ "หลุมพราง" ของปัญหา หรือความทุกข์ที่พระองค์เคยเผชิญเมื่อครั้งดำรงตนเป็น "เจ้าชายสิทธัตถะ"

          ในฐานะที่เป็น "คน" พระองค์มองเห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่่ว่าจะเป็นความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ  แต่การสอนเรื่องความทุกข์ไม่ได้หมายความว่า พระองค์สอนให้เรามองโลกในแง่ร้าย หรือจมปลักอยู่กับความทุกข์  การสอนเรื่องทุกข์ ก็เพื่อที่จะย้ำเตือนให้มนุษย์มองเห็นพิษภัย เรียนรู้ และเข้าใจความทุกข์ และรีบถอนตัวออกจากความทุกข์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ มิฉะนั้นแล้ว เราก็จะถูกความทุกข์เกาะ กัด และกินเราทุกเวลา และนาที

           ฉะนั้น การที่จะเข้าใจ และพาตัวเองออกจากหล่มของความทุกข์ วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ การมองและทำความเข้าใจความทุกข์ไปที่ "รากเหง้าของความทุกข์" ว่าเกิดจากอะไร หรืออยู่ที่ไหน คำตอบที่พระองค์พบ และสรุปจากบทเรียนที่พระองค์ได้รับก็คือ "ตัณหา" หรือ "ความอยาก" เพราะความอยากแท้ๆ ที่พาให้พระองค์พานพบแต่ความทุกข์ในขณะเป็นเจ้าชาย  ความหมกมุ่นในสิ่งสร้างความพึ่งพอใจ หรือพึ่งใจกับสิ่งเสพโดยขาดสติ  ความอยากมี หรืออยากได้ แล้วไม่สามารถที่จะมีหรือได้ตามที่ใจปรารถนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ไม่สมความอยาก และการต้องการที่จะพาตัวเองให้ผ่านพ้นไปจากสิ่งทีไม่พึงใจ หรือปรารถนา แต่ก็ไม่สามารถที่จะหลีกหนีบรรยากาศนั้นไปได้ จึงทุกข์และทรมานกับหล่มที่ตัวเองได้สร้างขึ้นมาขังตัวเอง หรือคนอื่นสร้างให้

            เมื่อพระองค์ได้เพียรพยายามถึงหกปี (ความจริงพยายามมาหลายชาติแล้ว) พระองค์จึงคนพบ "ทางออก" ที่พระองค์เฝ้าแสวงหา และทางออกนี่เองคือคำว่า "สุข" ที่ยั่งยืน ที่พาให้พบกับ "ความเป็นอิสระ" ทางใจที่ไม่ต้องตกเป็นทางของกิเลสตัณหา ที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งเสพ หรือเป็นความสุขที่ไร้เงื่อนไข หรือการปรุงแต่งใดๆ

            เครื่องมือสำคัญที่ทำให้พระองค์ทรงค้นพบทางออกนั่นก็คือ "มรรค" หรือ วิธีการออกจากกำดัก ๘ ประการ หรือจะเรียกวิธีการนี้ว่า "ทางสายกลาง" ซึ่งเป็นทางเดินที่นำให้พระองค์ทรงพบความจริงว่า ดีกว่า ประเสริฐกว่าหนทางแรกคือ "สุขนิยม" หรือ "กามสุขัลลิกานุโยค" ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นวัตถุนิยม หรือความสุขที่อาศัยสิ่งเสพ แต่ก็ไม่สามารถทำให้พระองค์พบความสุขที่แท้จริง จึงทำให้พระองค์ต้องหันไปศึกษาคำตอบอีกโจทย์หนึ่งนั่นคือ "ทุกข์นิยม" หรือ "อัตตกิลมถานุโยค" โดยพระองค์เข้าใจว่าสิ่งที่กักขังความทุกข์เอาไว้คือตัวร่างกายมนุษย์ ฉะนั้น การที่เราทรมานตัวเรา หรือร่างกายเรามากยิ่งขึ้น หนักขึ้น กิเลสที่ซ่อนตัวภายในจะทนอยู่ไม่ได้ และจะกระเด็น หรือมลายหายไปจากตัวเรา แต่ความจริง แม้พระองค์จะทรมานตัวเอง หรือบำเพ็ญทุกรกิริยามากมายเพียงใด ก็ไม่สามารถเผากิเลสให้มอดไหม้ไปจากตัวเราได้

            ฉะนั้น คำว่า "ทางสายกลาง" ได้กลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่พระองค์ค้นพล และสอดคล้องกับการพาตัวเองให้หลุดพ้นจากหล่มของความทุกข์ได้ที่ดีสุด   อย่างไรก็ตาม หากไม่มี "สุขนิยม" หรือ "ทุกข์นิยม" ให้พระองค์ได้ศึกษาแล้ว พระองค์จะค้นพบ "ทางสายกลาง" ได้อย่างไร  หากไม่มีทุกข์ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เรากำลังเผชิญคือ "ความสุข" หากไม่มีสุข เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราเผชิญคือความทุกข์ และหากไม่มีความสุข (เทียม) และความทุกข์ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า "ทางสายกลาง" มีค่ามากมายเพียงใด หรือความสุขที่แท้จริงมีคุณค่ามากมายเพียงใด

หมายเลขบันทึก: 316407เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2009 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

  นมัสการครับ   ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ   

     คำว่า "ทางสายกลาง"  มักจะตีความกันไปต่างๆนานา  บางคนว่า   "พบกันครึ่งทาง"

       ธรรมะ ในพุทธศาสนา  เป็นเรื่องที่เข้าใจยากเหมือนกันนะครับ

เจริญพร โยม Small man

ทางสายกลางนั้น มีทั้งสายกลางแท้ (โลกุตระ) กับ สายกลางเทียม (โลกิยะ) คำว่า "พบกันครึ่งทาง" หรือ ไ่ม่ดำไม่ขาว คือเทาๆ นั้น เป็น "สายกลางเทียม"

คำว่า "ทางสายกลาง" ทางสายกลาง หมายถึง ข้อปฏิบัติ วิธีการ หรือทางดำเนินชีวิตที่เป็นกลางๆ ตามธรรมชาติ สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ พอเหมาะพอดีที่จะให้เกิดผลตามกระบวนการดับทุกข์ของธรรมธรรมชาติ ไม่เอียงเข้าไปหาสุดสองข้างที่ทำให้ติดพัวพันอยู่หรือ เฉไถลออกไปนอกทาง จึงเรียกชื่อเต็มว่า อริยะอัฏฐังคิกมรรค หรือ อารยะอัษฎางคิกมรรค พระพุทธเจ้าตรัสว่า มรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทานี้ เป็นทางเก่าที่เคยมีท่านผู้เดินทางถูกต้องไปถึงจุดหมาย เคยเดินกันมาในกาลก่อนแล้ว พระองค์เพียงแต่ทรงค้นพบแล้วทรงเปิดเผยแก่มวลมนุษย์ ทรงทำหน้าที่แนะนำบอกทางนี้แก่เวไนยชน (สํ.นิ.16/253/129)

มรรคหรือมรรคานี้ เป็นวิธีปฏิบัติของมนุษย์ที่จะทำให้เกิดผลตามกระบวนการดับทุกข์ของธรรมชาติ คือทำให้เหตุปัจจัยต่างๆ ส่งผลสืบทอดกันไปจนสำเร็จเสร็จสิ้นตามกระบวนการของธรรมชาตินั้น

ความจริงแล้ว ธรรมะชุดนี้ถือได้ว่า พระพุทธเจ้าได้ "ถอดบทเรียนชีิวิต" ของพระองค์เองเพื่อนำมาแบ่่งปัน (Sharing suffering and happiness) แก่ชาวโลกว่า เส้นทางของชีวิตต้องเผชิญกับสิ่งใดบ้าง และหากเราประสงค์ที่จะออกจากหล่ม หรือกำกัด เราต้องทำอย่างไรบ้าง เป็นการให้ทางเลือกแก่การดำเนินชีวิต ฉะนั้น เรามีสิทธิ์เลือกว่าจะเลือกเดินเส้นทางใด

เจริญพร

เจริญพร โยม Small man

ทางสายกลางนั้น มีทั้งสายกลางแท้ (โลกุตระ) กับ สายกลางเทียม (โลกิยะ) คำว่า "พบกันครึ่งทาง" หรือ ไ่ม่ดำไม่ขาว คือเทาๆ นั้น เป็น "สายกลางเทียม"

คำว่า "ทางสายกลาง" ทางสายกลาง หมายถึง ข้อปฏิบัติ วิธีการ หรือทางดำเนินชีวิตที่เป็นกลางๆ ตามธรรมชาติ สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ พอเหมาะพอดีที่จะให้เกิดผลตามกระบวนการดับทุกข์ของธรรมธรรมชาติ ไม่เอียงเข้าไปหาสุดสองข้างที่ทำให้ติดพัวพันอยู่หรือ เฉไถลออกไปนอกทาง จึงเรียกชื่อเต็มว่า อริยะอัฏฐังคิกมรรค หรือ อารยะอัษฎางคิกมรรค พระพุทธเจ้าตรัสว่า มรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทานี้ เป็นทางเก่าที่เคยมีท่านผู้เดินทางถูกต้องไปถึงจุดหมาย เคยเดินกันมาในกาลก่อนแล้ว พระองค์เพียงแต่ทรงค้นพบแล้วทรงเปิดเผยแก่มวลมนุษย์ ทรงทำหน้าที่แนะนำบอกทางนี้แก่เวไนยชน (สํ.นิ.16/253/129)

มรรคหรือมรรคานี้ เป็นวิธีปฏิบัติของมนุษย์ที่จะทำให้เกิดผลตามกระบวนการดับทุกข์ของธรรมชาติ คือทำให้เหตุปัจจัยต่างๆ ส่งผลสืบทอดกันไปจนสำเร็จเสร็จสิ้นตามกระบวนการของธรรมชาตินั้น

ความจริงแล้ว ธรรมะชุดนี้ถือได้ว่า พระพุทธเจ้าได้ "ถอดบทเรียนชีิวิต" ของพระองค์เองเพื่อนำมาแบ่่งปัน (Sharing suffering and happiness) แก่ชาวโลกว่า เส้นทางของชีวิตต้องเผชิญกับสิ่งใดบ้าง และหากเราประสงค์ที่จะออกจากหล่ม หรือกับดัก เราต้องทำอย่างไรบ้าง เป็นการให้ทางเลือกแก่การดำเนินชีวิต ฉะนั้น เรามีสิทธิ์เลือกว่าจะเลือกเดินเส้นทางใด

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

บางคนบอกว่าฝึกวิปัสสนาเพื่อตัดกรรม จะได้อยู่บนโลกนี้อย่างมีความสุข อย่างนี้จะเข้าข่าย "สายกลางเทียม" ได้ไหมเจ้าคะ

มองว่าเราฝึกวิปัสสนาเพื่อจุดหมายคือพ้นโลก เมื่อพ้นโลก ก็พ้นกรรม มากกว่าจะอยู่ในโลกโดยไม่ยอมรับผลการกระทำในอดีต

โดยเอาวิปัสสนาเป็นเครื่องมือน่ะเจ้าค่ะ

โยม ณัฐรดา

"ตัดกรรม" นับเป็นความเข้าใจผิดของผู้ปฏิบัติ หรือผู้แนะนำไปสู่การปฏิบัติ สิ่งใดที่ได้กระทำแล้ว จัดเป็น "กรรม" ไม่ว่าจะเป็นกรรมดี หรือไม่ดี ฉะนั้น กรรมในความหมายของผู้ที่ต้องการจะตัดคือ "กรรมไม่ดี" การปฏิับัติกรรมฐาน คือ การสร้าง "กรรมใหม่" และเป็นกรรมที่ำทำให้มนุษย์อยู่เหนือโลกธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่า กรรมเก่าที่เราเคยทำจะไม่ให้ หรือกรรมฐานได้ตัดกรรมเก่าเสียสิ้น ยกตัวอย่างเช่น พระโมคคัลลานะ แม้จะบรรลุพระอรหันต์แล้ว แต่ก็ยังต้องเสวยผลกรรมที่เคยกระทำมาแล้วในอดีต โดยโมคคัลลานะได้ถูกทำร้ายจนเสียชีวิต ทั้งๆ ที่ตัวเองมีอิทธิฤทธิ์ แต่ก็หนีบ่วงกรรมที่เคยทุบตีแม่ของตัวเองไม่ได้

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

  • มาน้อมเรียนรู้ธรรมขอรับ
  • ทำให้เข้าใจ ทางสายกลาง มากขึ้นขอรับ

 

(กราบ 3 หน)

กราบพระอาจารย์เจ้าค่ะ

สายกลางเทียม...เอิ๊ก..เอิ๊ก พระอาจารย์ใช้คำแปลกๆ เสมอ เจ้าค่ะ

ชยาภรณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท