โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง( 10) ้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นพี่เลี้ยง (1 )


1-12-52

ในวันที่26-27พย.52โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญ (โครงการพี่เลี้ยง)ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นพี่เลี้ยงภายใต้โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง ปี 2553ในวันที่  26-27  พฤศจิกายน  2552 ณ  ห้องกัลปพฤกษ์1  โรงแรมทีเค  พาเลซ  หลักสี่  กรุงเทพฯค่ะ

 รายชื่อคณะทำงาน

1.นายแพทย์สมศักดิ์         อรรฆศิลป์                             รองอธิบดีกรมควบคุมโรค

2.นายแพทย์คำนวณ            อึ้งชูศักดิ์                                นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ

3.แพทย์หญิงฉายศรี         สุพรศิลป์ชัย                            นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ

4.แพทย์หญิงพัชรา        ศิริวงศ์รังสรรค์                       ผู้อำนวยการสำนักโรคเอดส์ฯ

5.นายแพทย์วิชัย       สติมัย                                         ผู้อำนวยการสำนักแมลง

6.นายแพทย์โอภาส    การย์กวินพงศ์                   ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป

7.นายสุรพล        สงวนโภคัย                                ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่

8.นายแพทย์จีรพัฒน์   สิริชัยสินธ  นายแพทย์เชี่ยวชาญ  สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง

9.แพทย์หญิงอัจฉรา   เชาวะวณิช               ผู้จัดการโครงการTalent Management

10.นายแพทย์พรศักดิ์    อยู่เจริญ  นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ  สำนักโรคติดต่อทั่วไป

11.นางสายใจ    พินิจเวชการ    แทนผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพ

                                                                                        และสิ่งแวดล้อม

12.นางปาจารีย์   อัศวเสนา     นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ กองการเจ้าหน้าที่

13.นางสาววันทนีย์ วัฒนาสุรกิตต์  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา

14.นางสาวสิริกุล   วงษ์สิริโสภาคย์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กรมควบคุมโรค

15.นางสาวพุทธชาด      เชื้อหอม  นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ  กองการเจ้าหน้าที่

16.นางน้ำฝน        สุวรรณทา                     เจ้าพนักงานธุรการชำนาญการ   กองการเจ้าหน้าที่

17.นางสาวฝนทอง        ศรีภูมิ      เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติการ   กองการเจ้าหน้าที่

18.นางสาวสุพัตรา     เศรษฐมาน นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ   กองการเจ้าหน้าที่

19.นายธีรวิทย์    ตั้งจิตไพศาล    นักวิเคราะห์นโยบายและแผนงาน  กองการเจ้าหน้าที่

20.นายพัฒธนา              พวงทอง       เจ้าพนักงานธุรการ  กองการเจ้าหน้าที่

21.นายภิภพ                   กัณฑ์ฉาย     เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์  กองการเจ้าหน้าที่

22.นายสุชาติ                 รักษ์มณี         นักทรัพยากรบุคคล  สำนักระบาดวิทยา

23.นางสาวนันทพร       แย้มพราย       นักทรัพยากรบุคคล  กองการเจ้าหน้าที่

 24.นางสาวดวงภาณิชา  สุขพัฒนนิกูล  ผู้ประสานงานโครงการ Talent Management

25.นางสาวฐานีย์ อุทัศน์   เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป โครงการ Talent Management

 ผู้เข้าร่วมประชุม (น้องเลี้ยง)

27.แพทย์หญิงปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ  นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ  สถาบันบำราศนราดูร

28.นายแพทย์สุวัฒน์ ตั้งกิตติมศักดิ์นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ  สถาบันบำราศนราดูร

29.แพทย์หญิงอรรถยา  ลิ้มวัฒนายิ่งยง   นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ   สำนักวัคซีนฯ

30.นายจักรกฤษณ์   พลราชม   นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ สำนักโรคติดต่อฯ

31.นางสาวพนมพร  ปิยะกุล   นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักโรคเอดส์ฯ

32.นายนัพวุฒิ   ชื่นบาล   นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สครที่ 1 กรุงเทพฯ

33.นางสาวจีรวรรณ   ชงจังหรีด   นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ  สครที่ 2  สระบุรี

34.นางดารณี    จุนเจริญวงศา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สครที่ 3 ชลบุรี

35.นายแพทย์ไพโรจน์   เสาน่วม  นายแพทย์ชำนาญการ  สครที่ 8 นครสวรรค์

36.นายสีใส ยี่สุ่นแสง   นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ  สครที่ 9 พิษณุโลก

 การดำเนินการ 

       นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นผู้เปิดการประชุม   นางสาวดวงภาณิชา สุขพัฒนนิกูล  ผู้ประสานโครงการTalent Management ทำหน้าที่เป็นพิธีกร

 ผลของการดำเนินงานวันที่ 26 พฤศจิกายน52

                นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวเปิดประชุม และ นายสุรพลสงวนโภคัย ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ได้อ่านรายงานการประชุม  หลังจากนั้น ประธานได้บรรยายพิเศษ เรื่อง Rationale & Hope of Talent & Mentor system โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับที่มาที่ไปของการจัดโครงการฯโดยสรุปได้ว่า เหตุที่จัดโครงการฯ เพราะต้องการสร้างกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญให้มากขึ้น โดยโครงการฯ อยู่ภายใต้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักระบาดวิทยา และโครงการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง (Talent Management) เป้าหมายของโครงการคือต้องการสร้างแพทย์ 50 คนและนักวิชาการ 100 คน ภายในระยะเวลา10 ปี

                นายแพทย์คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ , แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช ผู้จัดการโครงการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง และนายสุรพล สงวนโภคัย ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ได้อภิปราย แนวทางการดำเนินในโครงการฯ และการเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) การเป็นน้องเลี้ยง (Mentee) คืออะไร ตามลำดับ ซึ่งบทบาทการเป็น Mentor จะมีหน้าที่หลัก 3 ข้อด้วยกันคือ

-  เป็นผู้สอน

-  เป็นผู้เปิดโอกาส

-  เป็นผู้ให้กำลังใจและเป็นตัวอย่าง

นายแพทย์คำนวณได้นำเสนอกฎการเป็น Mentor ที่ดี ต้องมี 10 ข้อได้แก่

1. Teacher                             แนะนำและช่วยพัฒนาข้อบกพร่องซึ่งกันและกัน      

2. Guide                                 สอนน้องให้รู้จักระบบ mentor                       

3. Counselor                         แก้ไขปัญหาให้น้อง เช่นให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ  

4. Motivator                         ให้กำลังใจและให้ข้อคิดเห็น           

5. Sponsor                            สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างเหมาะสม        

6. Coach                                เป็นผู้สอนที่ใกล้ชิด แนะนำเทคนิคและรู้จุดอ่อนจุดแข็งของน้อง

7.Advisor                              เป็นที่ปรึกษาเมื่อน้องปรึกษา, แนะนำเป้าหมายที่สำคัญ ชี้แนะแนวทางให้น้อง

8.Referral Agent                 เป็นคนแนะนำส่งเสริมให้น้องก้าวหน้าไปสู่จุดมุ่งหมายได้

9.Role model                        เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่น้อง

10.Door opener                   เป็นคนเปิดโอกาสให้น้องรู้จักผู้อื่นเพื่อความก้าวหน้าของน้อง

 

                แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช ผู้จัดการโครงการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง(Talent Management) ได้นำเสนอแนวทางดำเนินการในโครงการและการเป็นพี่เลี้ยงและการเป็นน้องเลี้ยง วิธีการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร โดยเรียนรู้จากการทำงาน (On the job training) โดยมีผู้ให้คำแนะนำปรึกษา ซึ่งโครงการนี้เน้นผลงานเป็นเป้าหมายหลัก ทุกคนจะต้องมีผลงานอย่างน้อย 1 ชิ้น และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกลุ่มซึ่งโครงการนี้จะเป็นโครงการพัฒนาบุคลากรภายใต้โครงการบริหารจัดการผู้มีสมรรถนะสูง(Talent Management) ของกรม ปัจจุบันกรมควบคุมโรคกำลังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ, คนเดียวทำงานหลายงาน, และคนเก่งของกรมที่เคยอยู่ในโครงการฯ ถูกทาบทามจากหน่วยงานอื่น นอกจากนี้แพทย์หญิงอัจฉรายังได้ให้คำแนะนำเรื่องทำอย่างไรจะไม่เพิ่มงาน คือให้เรียนรู้จากการทำงาน และผู้อำนวยการแต่ละสำนักจะต้องสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ เพื่อให้กรมพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

                นายสุรพล สงวนโภคัย ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ได้นำเสนอเกี่ยวกับกองการเจ้าหน้าที่

ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนด้านการบริหารจัดการทั่วไป ซึ่งจะดูในเรื่องของสวัสดิการและการเบิกจ่ายโดยมี 3 หัวข้อหลักได้แก่

  1. การกำหนดมาตรฐานในความก้าวหน้าของตำแหน่ง   อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาซึ่งหลักเกณฑ์ที่ใช้กำหนดมีดังต่อไปนี้

-  การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีผลใช้บังคับแล้วโดยวันที่ 1 เม.ย. 2553 นี้จะต้องประเมินผลการปฏิบัติงานโดยให้หัวหน้างานเป็นผู้ประเมิน

  1. การขึ้นเงินเดือน  จะสอดคล้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมีวงเงินในการเลื่อนเงินเดือน 3 % ของเงินเดือนข้าราชการทุกคน โดยที่ค่าเฉลี่ยคือจำนวนเงินเดือนที่จะเลื่อนได้ในแต่ละกรมโดยจะไม่เกิน 6% จากฐานในการคำนวณ และการแจ้งผลการเลื่อนเงินเดือน จะแจ้งเป็นรายบุคคล
  2. การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เปลี่ยนแปลงคือ ระดับวิชาการ ชำนาญการพิเศษสามารถขอสายสะพายเส้นที่ 1 ได้

นอกจากนี้ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ยังกล่าวว่า กองการเจ้าหน้าที่ยินดีบริการทรัพยากรบุคคลของกรมและยินดีให้ความช่วยเหลือ ประสานงาน และรับเรื่องต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองการเจ้าหน้าที่

 หลังจากรับประทานอาหารช่วงบ่ายจะเป็นการแบ่งกลุ่มเพื่อกำหนดการทำโครงการของน้องเลี้ยงแต่ละทีมโดยแบ่งเป็น5ทีม

 การนำเสนอโครงการของน้องเลี้ยงในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552

 ทีมโรคเอดส์

1.การศึกษาปัญหาสาธารณสุขเรื่องการเปลี่ยนแปลงเซลล์ โดย พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ

2.การวัดความรู้ทัศนะคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มแม่บ้าน

โดยนางสาวพนมพร ปิยะกุล           

 

ทีมวัณโรค

1. Development of MDR-TB Control Policy in Thailand

2. The Study of MDR/XDR-TB Epidemiology Using Mathematical modeling

3. Application of Interferon-Gamma Release Assays (IFN-γ) in Thailand

โดย นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม

 ทีมโรคติดต่อนำโดยแมลง

1.โครงการศึกษาปัญหาสาธารณสุข “การศึกษาความทันเวลาของการควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมาตรฐานของหน่วยงานระดับปฏิบัติการ ในพื้นที่ สคร.9 พิษณุโลก” โดย นายสีใส ยี่สุ่นแสง

2.การสำรวจสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดแมลงพาหะนำโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสระบุรี โดย นางสาวจีรวรรณ    ชงจังหรีด

 

ทีมโรคติดต่อทั่วไป

1. การกำหนดทิศทางของแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
ระบบการบริหารจัดการวัคซีน โดย พญ. อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง

2.การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในชุมชน: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่ง โดย นายจักรกฤษณ์ พลราชม 

 

ทีมโรคไม่ติดต่อและโรคจากการประกอบอาชีพ

1.การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังด้านสารเคมีที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โดย นายนัพวุฒิ ชื่นบาล

2.การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ (โรคเรื้อรัง) แบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive   Surveillance   เพื่อการสนับสนุนการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค กรณีศึกษาโรคหัวใจ หลอดเลือด และเบาหวาน โดย นางดารณี   จุนเจริญวงศา

3.โครงการศึกษาปัญหาสาธารณสุขเรื่องการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยศัลยกรรมมะเร็ง โดย นายแพทย์สุวัฒน์   ตั้งกิตติมศักดิ์

 ข้อแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิในการทำโครงการ ได้แก่

1. เป็นภารกิจกรม

2.สำนักสนใจ

3.คนทำสนใจ

4.ควรมีวิจัยที่มาเปลี่ยนpolicy

5.อยากเห็น5เสือสาขาวิจัยคือ methadology ,statistic, economic,   social science ,  policy research

6. อยากให้วิจัยไม่เป็นdescriptive ควรมี intervention ด้วย

7.อยากให้เป็น multicenter เพื่อเกิด radical  change

8. อยากให้mentee มีความแตกต่างจากคนอื่น

 สรุปความเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ  คือทั้ง5 กลุ่มเสนอโครงการที่สอดคล้องกับงาน

นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวปิดประชุมโดยให้ข้อคิดว่าการสร้างแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ 150 คนของกรมมีปัจจัย4 ข้อคือ

1. Individual growth ต้องได้คนที่สนใจ

2. ต้องทำเป็น network โดยให้แต่ละคนมาช่วยกัน   ถ้าทำคนเดียวจะรู้สึกแห้งเหี่ยวใจไปเรื่อยๆ

3. Node   ที่จะ coordinate คือ กองการเจ้าหน้าที่และสำนักระบาดวิทยา เมื่อมีปัญหาการเงินให้ปรึกษากองการเจ้าหน้าที่    ส่วนสำนักระบาดวิทยา สามารถคุยกับนพ.โสภณได้ตลอดเวลา

4. Enable Environment ซึ่งถ้าโครงการต้องผ่าน ethical committee อาจสร้างปัญหาได้     ควรทำเป็นโครงการ    ไม่ใช่งานวิจัยที่ต้องเขียนเยอะ และพี่เลี้ยงควรเข้าร่วมมากกว่านี้

หมายเลขบันทึก: 317412เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2009 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท