ปลาเห็ด : การเดินทางของวัฒนธรรมทางภาษา และชาติพันธุ์


ภาษาเดินทางตามปลาเห็ด ปลาเห็ดเดินทางตามกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์เดินทางตามสายน้ำ..

ปลาเห็ด : การเดินทางของวัฒนธรรมทางภาษา และชาติพันธุ์

            เวลาไปต่างจังหวัด แล้วได้ยินคนพื้นที่พูดภาษาถิ่นกัน จะชอบฟัง ถึงแม้จะไม่ได้เข้าใจไปเสียทั้งหมด แต่จะมีความสุขที่เค้ายังอนุรักษ์ภาษาถิ่นไว้ โดยเฉพาะเด็กๆ งดงามค่ะ มองว่าภาษาถิ่นเป็นสิ่งสวยงาม ซึ่งไปที่ไหนภาษาก็สามารถบ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย หลายหลากทางกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ นะค่ะ ...

            หลายวันที่ผ่านมาได้พูดคุยกับน้องๆ ที่รู้จักกัน มีน้องนักภาษาศาสตร์ ชาวสุโขทัย ได้พูดภาษาถิ่นของเค้าออกมา “เขาด่าให้ยังไม่ระง้อยอีก” ทำเอาเพื่อนพ้องน้องพี่งงเป็นไก่ตาแตก (ทำไมไก่ต้องตาแตกด้วยนะ) พอน้องเค้าอธิบายให้ฟังจึงได้รู้ว่า คำว่า “ระง้อย” นั้นแปลว่า สำนึก หรือ รู้ตัว จึงเข้าใจว่าประโยคที่น้องเค้าพูดเมื่อสักครู่หมายความว่า “เขาด่าให้ยังไม่รู้สึกตัวอีก” นั่น ... แต่ถ้าจะให้พูดจากใจจริงแล้ว คำว่า ระง้อย นั้นถึงจะไม่เข้าใจแต่พอได้รับรู้ความหมายทำให้เจ็บแสบกว่าคำว่า รู้สึก ในภาษากลางอีกนะ ...

            หลังจากนั้นเริ่มสนุกกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจังหวัดกัน นี่ถ้าได้มีการวาดแผนที่การเดินทางชีวิตของแต่ละคนคงสนุกและเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ...

            ผุดภาษาถิ่นกันออกมาอีกหลายคำ จนมาสะดุดกับคำว่า "ปลาเห็ด" ถามกันว่ามีใครรู้จักไหม หลายคนไม่รู้จักคำนี้ ... เลยทำให้ตัวเองนึกถึงเมื่อต้องเดินทางมาทำงานเป็นบัณฑิตอาสาสมัครดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์ที่วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรีเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อน มาสอนหนังสือที่นี่ได้ ๒-๓ ปี และยังต้องมาลงพื้นที่เก็บข้อมูลทางด้านพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดแถบๆ นี้อีก .. วันนึงได้แวะทานข้าวร้านอาหารตามชี้ คือไม่ใช่อาหารตามสั่ง สั่งไม่ได้สิเพราะแม่ค้าทำไว้ให้แล้วเป็นถาดๆ หลายถาดหลายเมนูอยู่ ได้แค่ชี้บอกแม่ค้าว่า เอานี่ และนี่ จนแม่ค้าทวนเมนูที่เราชี้ไป คือ แกงเผ็ดอย่างนึง และปลาเห็ด เราก็นึก อ้าวว ไม่ได้ชี้ปลาน๊า จึงทวนกลับไปว่า แกงเผ็ดกับทอดมันค่ะ แม่ค้ายิ้มๆ แล้วตอบกลับมาอีกว่า ทอดมัน นั่นแหละค่ะที่นี่เค้าเรียกว่า ปลาเห็ด เราเลยรีบแปลความทันทีว่า อ้อ! ที่เรียกว่าปลาเห็ดนั้นคงเพราะเนื้อมันทำมาจากปลา และมีรูปลักษณ์เหมือนดอกบานๆ ของเห็ด จึงเรียกว่า ปลาเห็ด และคงเป็นภาษาถิ่นของคนลพบุรี .. แต่ ..... จนได้มาคุยกับน้องนักภาษาศาสตร์นี่แหละ สิ่งที่เข้าใจเอาเองว่าใช่มาตลอดมัน ผิด ... ปลาเห็ด เป็นคำที่แผลงมาจากภาษาเขมร การออกเสียงคล้ายๆ กันแต่แปร่งๆ กว่าหน่อย และที่สำคัญ ไม่ใช่เฉพาะคนลพบุรีเท่านั้นที่เรียกกัน คนสุโขทัย สิงห์บุรี ลพบุรี แถมไปถึงโน่น เพชรบุรีก็ยังเรียกทอดมันว่าปลาเห็ดซะอีกด้วย ภาษานี่ข้ามน้ำข้ามทะเลจากฝั่งนี้ลงใต้ไปได้อย่างไรกันนี่ กระจายไปหลายพื้นที่ ไปไกลมาก ..

 ภาษาเดินทางตามปลาเห็ด ปลาเห็ดเดินทางตามกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์เดินทางตามสายน้ำ.. 

 

                        

                          ถ่ายภาพ : ณัฐพัชร์  ทองคำ
                          กล้องมือถือ Nokia N70

            หลายวันก่อนเดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์ที่จังหวัดอ่างทอง แวะร้านก๋วยเตี๋ยวสูตรโบราณ ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นอำเภอรอยต่อกับจังหวัดลพบุรี ก็พบกล่องใส่ ปลาเห็ด เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านที่นี่ นำปลาเห็ดมาร้อยด้วยเชือกกล้วย เส้นละ ๘ ชิ้น ๑๐ บาทเท่านั้นเอง .. ดังนั้นขอเพิ่มอีกจังหวัด พระนครศรีอยุธยาก็เรียก ทอดมัน ว่า ปลาเห็ด ....

 มีท่านใด จากจังหวัดไหน เรียก "ทอดมัน" ว่า "ปลาเห็ด" กันบ้างค่ะ? 

 

หมายเลขบันทึก: 317569เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2009 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)
  • มีเพื่อนอยู่นครปฐมเรียกปลาเห็ดเหมือนกัน
  • คนงามบ้านโป่งอยู่ใกล้นครปฐมไม่เรียกปลาเห็ดหรือครับ

ว่าจะมาปิดคอมฯแล้วนอน..เห็นปลาเห็ดของณัชพัชร์เลยคันมือ..ปรือตาโพสต์ให้น้องซะหน่อย..ปลาเห็ดบ้านครูอ้อยก็คือหนองดินแดงก็เกือบจะถึงสระกะเทียมติดเขตราชบุรี..และญาติทางปู่กับย่าจะเป็นคนราชบุรี..ซะส่วนใหญ่..เขาเรียกว่าบ้านใหม่โพธาราม..ละแวกนั้นจะเป็นต้นตระกูลครูอ้อยเล็ก..ปลาเห็ดที่ว่าย่าครูอ้อยทำเป็นต้นแบบนั้นเป็นปลาตัวเล็กๆเช่นปลาสร้อยชุบในแป้งข้าวเจ้าที่โม่เองปรุงรสด้วยพริกแกงที่โขลกเองอีกแหล่ะ น้ำปลา ย่าจะไม่ใส่ผงชูรส ใบมะกรูดซอย ตักขึ้นให้เป็นแพ แพละ4-5 ตัว ทอดให้เหลืองกรอบ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดงๆอย่างที่เราเห็นเพราะเป็นสีของพริกแกง ส่วนปลาตัวใหญ่ก็จะใช้ปลาช่อนขนาดเล็ก-ขนาดปานกลางในการชุบทอด ปลาใหญ่นี้จะใช้เพียงตัวเดียวไม่ทอดเป็นแพค่ะ....ถ้ามีปลาหลากชนิดปะปนกัน..ก็จะสับให้ละเอียดคลุกกับเครื่องแกงนวดให้เหนียว ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่ถั่วฝักยาวและใบมะกรุดซอยดับคาวทุกทีไป อันนี้ล่ะค่ะเขาเรียกทอดมัน..เล่าตามประสบการณ์นะคะ..ไปที่ไหนก็จะถกเถียงกะเขาว่าปลาทอดเป็นตัวๆชุบลงในแป้งปรุงรสคือ ปลาเห็ด ส่วนทอดมันคือปลาสับละเอียดนวดกับเครื่องแกงใส่ถั่งฝักยาว ใบมะกรูดต่างห่าง..

สวัสดีค่ะ อาจารย์ประหยัด ช่วยงาน

  • เอ .. ไม่แน่ใจนะค่ะ สำหรับท่านอื่นในจังหวัดราชบุรีอาจจะเรียก "ปลาเห็ด" ก็ได้นะค่ะ แต่สำหรับดิฉันและครอบครัวเรียก "ทอดมัน" ค่ะมาได้ยิน "ปลาเห็ด" เอาก็เมื่อโตแล้วด้วยค่ะเนี่ยะ ^^"

อรุณสวัสดิ์ค่ะ ครูอ้อยเล็ก

  • อ่านคอมเมนต์ครูอ้อยเล็ก แล้วหิวค่ะ ^^"
  • มีอีกหลายเรื่องราวกับการเรียก "ทอดมัน" นะค่ะ
  • เด็กรุ่นใหม่ จะไม่รู้จัก "ปลาเห็ด" ค่ะ มีชาวสุพรรณบุรีเล่าให้ฟังว่า เด็กรุ่นใหม่เข้าใจว่าถ้าทอดแบบอวบๆ ชิ้นใหญ่ๆ เค้าจะเรียกว่า "ทอดมัน" แต่ถ้าทอดแบบชิ้นเล็กๆ บางๆ จะเรียกว่า "ปลาเห็ด" ค่ะ
  • เด็กบางคนพอเข้าไปเรียนกรุงเทพฯ จากที่เคยเรียก "ปลาเห็ด" ก็หันไปเรียก "ทอดมัน" กันหมด กลับมาบ้านบอกแม่ให้ทำทอดมันให้ทาน แม่ไม่รู้จัก ฮ่า ฮ่า

ระยะหลัง..ไปไหนสักแห่ง..ก็มักคิดเสมอว่า อาหารพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของท้องถิ่นนั้นๆ คืออะไรบ้าง และถ้าเป็นไปได้ก็หาเวลาแวะไปทาน  ไม่ใช่เพราะชอบทานอาหารขึ้นชื่อหรอกนะครับ แต่กำลังสัมผัสและเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ล่าสุดไปเวียดนาม -ลาว...ก็กินเฝอ ไปหลายชาม...ขากลับ ซื้อสาหร่ายเมืองลาวจากหลวงพระบางมาด้วย

ขอบคุณครับ

เป้นของโปรดเลยครับ ที่บ้านผมเรียกทอดมัน ถ้าใช้ปลากรายจะอร่อยมาก แต่หายากครับ

คนพิดโลก ก็เรียกทอกมันว่าปลาเห็ดค่ะ ^_^

สวัสดีค่ะ อาจารย์แผ่นดิน

  • ดิฉันก็เป็นอีกคนนึงที่ชอบอาหารท้องถิ่น อาหารพื้นเมือง ไปที่ไหนก็จะถามหาอาหารที่ส่วนใหญ่คนพื้นที่เค้าจะสั่งทานกัน แต่ เอ่อ ก็มีบ้างสำหรับอาหารบางอย่างต้องขอเลี่ยงๆ ^^"
  • เมื่อเดือนก่อนไปเยี่ยมบ้านอาจารย์ที่เชียงใหม่ ภรรยาท่านปรุงอาหารมาให้ แล้วบอกว่าอร่อย หาทานยากนะ ... ด้วยความไม่ค่อยจะเห็นแก่ทานรีบช่วยภรรยาอาจารย์ท่านยกมาที่โต๊ะทันที แล้วทำท่าว่าจะตักแล้ว แต่เผอิญเหลือบไปเห็นสายตาของอาจารย์และเพื่อนที่โต๊ะ และทุกคนนั่งเงียบ มือเริ่มชะงัก เลยถอยมืออกมา แล้วบอกว่า "เอ่อ ยังไม่ชิมดีกว่า เค้าเรียกว่าอะไรค่ะ" อาจารย์บอกว่า "ลูกฮวก"
  • ??!!?!??? ?!??!?? ?!???
  • เอ่อ แล้วฮวกมันคืออะไรหล่ะค่ะ ........ ????????
  • และแล้วอาจารย์ก็เฉลยเพราะแกทราบว่าดิฉันไม่ชอบพวกตระกูล กบ เขียด อึ่งอ่าง แกเลยสงสารต้องบอก ไม่งั้นได้ชิม เข้าปาก แล้วคืนนั้นคงนอนไม่หลับ ฝันถึงแต่กบกระโดดเข้า-ออก แทนแกะกระโดดไปแล้ว แฮ่ ^^"

วัสดีค่ะ อาจารย์ขจิต ฝอยทอง

  • ถ้าผ่านไปแถวนั้น(บ้านอาจารย์แหละ) จะขอแวะไปชิมของอร่อยๆ ค่ะ ^^"
  • เคยได้เล่าเรื่องนี้ให้อาจารย์วิรัตน์ฟัง พอไปสอนหนังสือทีแกจะถามว่า ซื้อปลาเห็ดมาฝากหรือเปล่า ฮ่าาา สงสัยว่าจะเป็นอาหารโปรดเหมือนกับอาจารย์นะค่ะ ^^

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อ้อม ฐิติรัตน์ สุวรรณสม

  • ทอดมันภาษาอังกฤษเค้าเรียกว่าอะไรน๊าาา "Fish Cake" ใช่ไหมค่ะ ^^
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะค่ะอาจารย์ ...
  • ^^

มีร้านหนึ่งที่บางแสน เรียก ลาบทอด ครับ

สวัสดีค่ะ คุณตาหยู

  • "ลาบทอด" เหรอค่ะ ไม่เคยได้ยินเลย ได้ความรู้ใหม่อีกแล้วค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ ^^

สวัสดีค่ะ

มาชิมทอดมันด้วยค่ะ

อิอิ ของโปรด

สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา

  • กำลังประชุมอยู่นะค่ะเนี่ยะ แฮ่ ^^"
  • เดี๋ยวจะไปทานอาหารกันค่ะหลังประชุม .....

ที่อำเภอชาติตระการ พิษณุโลก เรียกปลาเห็ดครับ

บ้านผมก็เรียกปลาเห็ดครับ

แต่รสชาดไม่เหมือนทอดมันทั่วไปครับ

เวลาทำเขาจะใช้ปลาซิว ปลาสร้อยสับ เวลาเรากินจะเคี้ยวก้างกรุป ๆ ไปด้วย

รสชาดก็จัดจ้านมากกว่าครับ

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

อำเภอหนองบัว นครสวรรค์

เรียก ปลาเห็ด

P..ลาบทอดคือ..ใส่เนื้อหมูสวรรค์แทนเนื้อปลาค่ะ...

กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระมหาแล ขำสุข(อาสโย) ค่ะ ... และสวัสดีค่ะ คุณไม่แสดงตนหนานเกียรติ และครูอ้อยเล็ก

  • งั้นขอเพิ่มว่า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดตาก และอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ก็เรียก "ทอดมัน" ว่า "ปลาเห็ด" นะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ ^^
  • ครูอ้อยเล็ก ขา "ลาบทอด" นี่ท่าทางน่าอร่อยนะค่ะ สงัสยว่าต้องไปหาทานที่บางแสนซะแล้วค่ะ แต่ต้องหาเจ้ามือก่อน ฮ่าาา

สวัสดีค่ะ

มาชิมปลาเห็ดดอง

อิอิ

สุขใจในวันพ่อนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา

  • แหมมมม๋ ปลาเห็ดดอง ไม่แน่ว่าอาจจะอร่อยก็ได้นะค่ะ ฮ่าาา ^^"
  • ขอบคุณค่ะ สุขใจในวันพ่อเช่นกันนะค่ะ ^^

P...หลังมหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน (ในตอนนั้นทึ่ครูอ้อยเล็กศึกษาอยู่..แต่ตอนจบเป็นมหลัยบูรพาเป็นรุ่นที่ทรานสคริปแปลกมากมี 2 ชื่อ อยู่ใบใบเดียวกัน)

มีร้านอาหารอีสานที่บรรยากาศบ้านๆ เป็นที่นิยมมาก..ครูอ้อยเล็กจำไม่ได้ว่าชื่อร้านอะไร..มีสตางค์เป็นไม่ได้ต้องไปกินอาหารอีสานร้านนี้..และที่ขาดไม่ได้คือ ลาบทอดนี่แหล่ะค่ะ...

สวัสดีค่ะ นครสวรรค์ทั้งจังหวัดก็ได้ยินเขาเรียก" ปลาเห็ด "

ที่ทราบเพราะทำงานเกี่ยวกับการตรวจร้านอาหารและตลาดสดของกรมอนามัยค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูอ้อยเล็ก

  • โอ๊ยยยยย ใกล้เที่ยงแล้วด้วย ขับรถไปบางแสนยังทันไหมค่ะ แฮ่ ^^"
  • หิวววว ว ววว ว
  • ขอบคุณค่ะสำหรับภาพลาบทอดค่ะ ^^

สวัสดีค่ะ คุณnana งาน พสว.ศอ.8

  • ขอบคุณค่ะที่ร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ ทราบจากชาวนครสวรรค์หลายท่านอย่างนี้ ชัดเจนเลยค่ะ เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ได้หลายเรื่องเลยค่ะ (กำลังอ่านและรวบรวมค่ะ จะนำมาเล่าให้ฟังโอกาสต่อไปนะค่ะ) ^^
  • แล้วอาหารในตลาดของจังหวัดนครสวรรค์ สด สะอาด อร่อย น่าซื้อไหมค่ะ ^^

สวัสดีค่ะคุณณัฐพัชร์

อ่านบันทึกนี้แล้วได้เรื่องการเดินทางของภาษาจริง ๆ ด้วยค่ะ

ระง้อย ... สำนึก รู้ตัว

ปลาเห็ด ... ทอดมัน

อ้อ...อาหารตามชี้ อีกคำหนึ่ง... แม๊ อันนี้เห็นภาพดีจริง ๆ ....

ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของ "วัฒนธรรม" ที่ใช้สื่อสารอันทรงอานุภาพมากค่ะ เพราะภาษามักจะเกี่ยวข้องกับการกิน การอยู่ และวิถีชีวิต... มันจึงแพร่ไปไกลหลายจังหวัดแบบไม่สามารถจะพยากรณ์ได้...

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ คุณคนไม่มีราก

  • มีเพื่อนบอกว่า บางครั้งเค้าไม่ได้ใช้ภาษาในการสื่อสารค่ะ แรกเริ่มเดาไปว่าคงใช้ "ภาษามือ" หรือที่เรียกว่า "อวัจนภาษา"
  • แต่เพื่อนบอกว่า เค้าใช้ "ใจ" ในการสื่อสารค่ะ ฮิ๊ววว ว วว ^^"
  • การสื่อสารกันด้วยใจมันก็คือ "ภาษาใจ" แหละเน๊อะ ..
  • ภาษาใจนี่คงยังเกี่ยวข้องกับวิถีของคนอยู่ดีหล่ะค่ะ
  • ภาษาใจ พยากรณ์ได้ไหมค่ะ แฮ่ ^^"
  • อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร ก็เรียกปลาเห็ดครับ ครั้งแรกที่รู้จักทอดมันก็งงๆเหมือนกัน อ๋อ!ปลาเห็ดบ้านเรานี่เอง
  • ขอบคุณความรู้ที่มาของชื่อครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณนะคะ

ทั้งๆที่งานยุ่ง ยังอุตส่าห์ แว๊................บ ไปปั่นเม้นท์ให้

ดีใจหลายจริงๆค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

  • อาจารย์เป็นคนพรานกระต่ายเหรอค่ะ ชาวอำเภอพรานกระต่าย มีคนเก่งๆ เยอะนะค่ะนี่ ^^
  • มีเรื่องสนุกๆ จากการลงพื้นที่ไปทำงานวิจัยที่กำแพงเพชร กับอาจารย์วิรัตน์มาให้อ่านเล่นๆ ค่ะ "ขึ้นไม่มีลง ธงอนามัย"

สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา

                  

  • นอนหลับฝันดีนะค่ะ ^^
  •  
    • คนสุพรรณ ก็เรียกทอดมัน ว่า ปลาเห็ด....ป้าเหมียวสงสัยว่าเป็นคนละอย่างกัน...แต่มาคิดอีกทีคงคล้ายๆ กล้วยทอด กับ กล้วยแขก นั่นล่ะมั้งค่ะ
    • ตามมาเก็บเรื่องดีดีค่ะ...
  • 'ภาษาเดินทางตามปลาเห็ด ปลาเห็ดเดินทางตามกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์เดินทางตามสายน้ำ' ให้ความเข้าใจ ได้ความเกร็ดความรู้ แล้วก็ได้แนวคิดดีจังเลยนะครับอาจารย์ณัฐพัชร์
  • วิธีสร้างความรู้และมีวิธีทำความเข้าใจโลกรอบข้างได้อย่างหลากหลายแนวนี่ นอกจากทำให้เห็นแง่มุมหลากหลายที่สังคมและชุมชนต่างๆจะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันแล้ว ก็นับเป็นความมั่งคั่งร่ำรวยทางภูมิปัญญามากนะครับ
  • มีความรู้อย่างนี้เยอะๆก็คงจะเป็นฐานความรู้ที่ทำให้สังคมต่างๆสานความเป็นเพื่อนร่วมโลกเดียวกันได้อย่างดีนะครับ
  • ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์
  • กำลังทำงานแบบสะสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ หน่ะค่ะ แล้วเผอิญว่างานทุกงานที่ทำอยู่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างที่อาจารย์ว่าไว้จริงๆ ค่ะ
  • และกำลังทำหน้าที่เหมือนเนื้อเยื่อ (ที่ไม่ใช่พังผืด) คอยเชื่อมประสานทุกส่วนให้ทำงานไปด้วยกันให้ได้ดีที่สุดค่ะ ^^

 

สวัสดีค่ะ คุณป้าเหมียว

  • เดาเล่นๆ ขำๆ คงประมาณกล้วยนี้มีชื่อจริง และชื่อเล่น มั๊งค่ะ สักพักอาจมีนามสกุลด้วย ฮ่าาา (ไม่ขำ) - -"

ชัยนาท ก็เรียกว่า ปลาเห็ด

  • ขอบคุณลุงแจ่มที่แวะมาค่ะ ^^

สุพรรณณบุรีเรียกว่าปลาเห็ดครับ เมื่อยังเด็กๆแม่มักทำปลาเห็ดเป็นอาหารรสเด็ดปลาเห็ดจะไม่มีน้ำจิ้มครับ

แวะมาเรียนรู้กับพี่สาวที่รักครับ ขอบคุณมากครับผม

ขอบคุณอาจารย์ ดร.ป๊อบ ม๊าก มากๆๆ เช่นกันค่ะ

รักษาสุขภาพด้วยค๊าาาา ^^

สุรเชษฐ์ จรุงธนะกิจ

แน่ใจหรือว่า ปลาเห็ด เป็นคำเขมร มันอาจกลับกันก็ได้ เขมรอาจจะยืมจากไทย เท่าที่ทราบ คำว่า ปลาเห็ด จะใช้กันมากในแถบภาคกลางของไทย ลุ่มเจ้าพระยา และแถบลุ่มน้ำของแควต่างๆ ของภาคเหนือตอนล่าง ตั้งแต่พิษณุโลกลงมายัน ราชบุรี สุพรรณบุรี ยกเว้น กรุงเทพและปริมณฑลเคยถามเพื่อนคนอีสาน หลายจังหวัด ที่น่าจะใกล้ชิดไปทางเขมร ก็ไม่รู้จักคำว่า ปลาเห็ด ตำบลบ้านเกิด ของผม อยู่ใต้สุด ของนครสวรรค์ ห่างจากปากน้ำโพ 80 กม. ห่างจาก ตัวเมือง ลพบุรี ชัยนาท สิงหบุรี ไม่เกิน 40 กม.เรียกได้ว่า ในถิ่นนั้น ใช้คำว่าปลาเห็ด ทั้งนั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท