Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

หลักการเจริญวิปัสสนาของพุทธวิหาร


สถานที่ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวทางสายเอก.. มหาสติปัฏฐานสี่ โดย ดร.ภัททันตะอาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ เป็นผู้อำนวยการใหญ่ พระปลัดชัชวาล ชินสโภ เป็นประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ พุทธวิหาร

หลักการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาของ "พุทธวิหาร" มีความเข้มข้น ชัดเจนมากๆ น่าสนใจค่ะ  ถ้าใครได้เข้ามาฝึกปฏิบัติจนครบตามหลักสูตรที่วางไว้ รับรองได้ว่า จะเข้าใจหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาได้อย่างลึกซึ้งแน่ๆเลยค่ะ  แพรขอเชิญชวนเพื่อนๆผู้ใฝ่ธรรมทั้งหลาย  ที่มีความหวังในการหลุดพ้นหรือสะสมบุญเพื่อเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัวในวันข้างหน้า  เข้ามาศึกษาการเจริญวิปัสสนาเต็มรูปแบบที่ "พุทธวิหาร" สถานศึกษาที่สำคัญในพุทธศาสนาและสัปปายะแห่งนี้นะคะ

พระอาจารย์ชัชวาล ชินสโภ ได้รับถ่ายทอดจาก พระอาจารย์ใหญ่ ดร.ภัททันตะ อาสภะ อัคคมหากัมมฐานาจริยะ ใช้แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ทำให้มรรคเกิด โดยมีอารมณ์หลักคือ พอง (หนอ) - ยุบ (หนอ)ค่ะ


ห ลั ก สู ต ร ก า ร ศึ ก ษ า แบ่งได้เป็น ๒ ส่วนคือ

ส่ ว น ที่ ๑ การศึกษาหลักแบ่งได้เป็น ๓ ระดับขั้น

    คั ด เ ลื อ ก ๑   ผลการศึกษาจบสัมมัสสนญานขั้นตรุณอุทยัพพญาณ

    • ภิกษุ – สามเณร เวลาในการปฏิบัติคราวละไม่เกิน ๒๐ วัน  บุคคลทั่วไปคราวละไม่เกิน ๑๕ วัน
    • ในกรณีผ่านการปฏิบัติคัดเลือก ๑ แล้ว ผู้ปฏิบัติสามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าศึกษาในระดับการศึกษาคัดเลือก ๒ ได้ทันทีที่ผ่านการคัดเลือก และทางศูนย์ฯ มีห้องเรียนรองรับ
    • ในกรณีที่ไม่ผ่านการคัดเลือก ๑ ให้เว้นเพื่อเตรียมความพร้อมไม่ต่ำกว่าคราวละ ๑๕ วัน ก็สามารถใช้สิทธิ์จองเข้าปฏิบัติคัดเลือก ๑ ได้อีกให้ปฏิบัติตามนี้ทุกครั้งที่ไม่ผ่านการคัดเลือก
    • ผู้ปฏิบัติที่ผ่านคัดเลือก ๑ สามารถเข้าปฏิบัิติในระดับคัดเลือก ๒

    คั ด เ ลื อ ก ๒    ผลการศึกษาจบ กักขฬอุทยัพพยญาณขั้นตรุณภังคญาณ

    • ภิกษุ – สามเณร เวลาในการปฏิบัติคราวละไม่เกิน ๔๐วัน  บุคคลทั่วไปคราวละไม่เกิน ๓๐ วัน
    • ในกรณีผ่านคัดเลือก ๒ แล้ว ผู้ปฏิบัติสามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าศึกษาในหวังผลได้ทันทีที่ผ่านการคัดเลือก และทางศูนย์ฯ มีห้องเรียนรองรับ
    • ผู้ปฏิบัติที่ผ่านคัดเลือก ๒ สามารถขอเข้ารับการเรียนวิชาครูเบื้องต้นได้ หากพระอาจารย์ชัชวาล เห็นสมควรว่าสามารถเป็นวิปัสสนาจารย์ระดับต้นได

    ร ะ ดั บ ห วั ง ผ ล  กำหนดโดยผลการศึกษาตั้งแต่สมณะธรรมขั้นที่ ๑ คือ วิปัสสนาญาณ ๑๖ เที่ยวแรกพิสูจน์ผลที่เรียนเรียบร้อยเป็นต้น ไม่จำกัดเวลา

    • ผู้ปฏิบัติที่ผ่านระดับหวังผล สามารถขอเข้ารับการเรียนวิชาครูชั้นสูงได้ หากพระอาจารย์ชัชวาล เห็นสมควรว่าสามารถเป็นวิปัสสนาจารย์ระดับสูงได้

ส ่ว น ที่ ๒ การศึกษาสงเคราะห์

การศึกษาสงเคราะห์ให้นำระเบียบใบคัดเลือก ๑ มาใช้โดยอนุโลม

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • อายุ 15 ปีขึ้นไป (ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ควรสมัครเข้าปฏิบัติในหลักสูตรสำหรับเด็กและเยาวชน)
  • มีรางกายสมบูรณ์ แข็งแรง ช่วยเหลือตัวเองได้
  • มีสุขภาพจิตปรกติ ไม่เป็นโรคประสาท โรคจิต ลมชัก ลมบ้าหมู หรือร่างทรง
  • ไม่ติดสิ่งเสพติดทุกชนิด
  • ปฏิบัติตามกฏระเบียนโดยเคร่งครัด

ระเบียบการรับสมัคร

  • เขียนจดหมายแสดงความจำนง ขอระเบียบการและใบสมัครพร้อมทั้งสอดซองเปล่าติดแสตมป์ 3 บาท จ่าหน้าถึงตัวท่านเอง ส่งถึงผู้อำนวยการศูนย์ฯ เลขที่ 100/1 หมู่1 ต.ดงละคร อ.เมือง จ. นครนายก 26000 (หรือขอรับระเบียบการ และใบสมัครตนเอง)
  • หากนักปฏิบัติยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับอนุญาติจากมารดา บิดา สามี หรือผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์ อักษรในใบสมัคร
  • ยื่นใบสมัครพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาฃนเป็นหลักฐาน ในวันรับสมัคร เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลหากท่านมีคุณสมบัติตามที่ศูนย์ตามที่ศูนย์กำหนดท่านจะได้รับใบตอบรับไว้เป็นหลักฐานในการลงทะเบียน
  • ผู้ที่สมัครแล้วมาไม่ได้ กรุณาแจ้งให้ศูนย์ทราบก่อนวันเข้าปฏิบัติอย่างน้อย 7 วันเพื่อศูนย์จะได้แจ้งให้ผู้ที่เป็นสำรองได้เข้าปฏิบัติแทน
  • ผู้สมัครและผู้เข้าปฏิบัติต้องเป็นคนเดียวกัน

กฏ ระเบียบ และข้อบังคับในการปฏิบัติ

  • เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของวิปัสสนาจารย์อย่างเคร่งครัด
  • มีความตั้งใจ อดทน และมีวิริยะ ในการเรียนการสอน ให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อเนื่องในช่วงที่เข้าปฏิบัติ
  • ไม่โทรศัพทื และไม่ติดต่อกับใครตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นและต้องได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ เพื่อพิจารณาตาม่ความเหมาะสมก่อน
  • ผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะต้องแสอดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรในใบสมัครซึ่งทางศูนย์ฯจัดเตรียมไว้ให้ ต้องมีบัตรประชาชน หรือใบสำคัญแสดงสัญชาติ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี เพื่อแสดงแก่อาจารย์ ผู้ปกครองของศูนย์ฯ จนเป็นที่พอใจ หรือ กรณีที่จำเป็ก็ให้มี วิปัสสนาจารย์ หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ รับรอง
  • ผู้สูงอาจุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งไม่ม่ผู้ปกครองมาด้วย(ยกเว้นได้รับอนุญาต) ผู้ป่วยโรคจิต โรคติดต่อ โรคที่สังคมรังเกียจ ทางศูนย์ฯไม่สามารถรับไว้ปฏิบัติธรรมได้ สำหรับผู้ที่มีอวัยวะไม่สมบูรณ์ให้อยู่ในดุลยพินิจของวิปัสสนาจารย์
  • ห้ามคุย บอก หรือถามสภาวะกับผู้ปฏิบัติ เพราะจะเป็นภัยแก่ผู้ที่กำลังปฏิบัติทั้งต่อตนเองและผู้อื่น โดยจะทำให้อารมณ์ฟุ้งซ่าน และเสียสมาธิ อันจะทำให้ผลการเรียนเสื่อม หากมีความสงสัยในหัวข้อวัตรปฏิบัติอย่างไรแล้ว ให้เก็บไว้สอบถามครูผู้สอน ห้ามสอบถามผู้ปฏิบัติด้วยกันเป็นอันขาด
  • ขณะที่ยังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติ ห้ามสวดมนต์ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์
  • ผู้ปฏิบัติจะต้องงดเว้นจากของเสพติดทุกชนิด ได้แก่ กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน บุหรี หมาก เครื่องดองของมึนเมา หรือนำยาเสพติดทุกชนิด เข้ามาในบริเวณศูนย์ฯเป็นอันขาด
  • หากผู้ปฏิบัติเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่โดยเร็ว เพื่อหาทางช่วยเหลือตามสมควรแก่กรณี ไม่ควรละเว้นการปฏิบัติ หากไม่มีความจำเป็น
  • นักปฏิบัติจะต้องระลึกเสมอว่า เรามาปฏิบัติเพื่อยกระดับจิตใจ ขัดเกลากิเลสตัณหาให้เบาบางลง มิใช่มาเพื่อหาความสุข ในการอยู่ดี กินดี จึงต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษต่อความไม่สะดวย และกระทบกระทั่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องทดสอบ และความอดทนและคุณธรรมของนักปฏิบัติว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด
  • ห้องหรือกุฏิที่จัดไว้เป็นห้องปฏิบัติ เฉพาะพระสงฆ์ก็ดีหรือห้องที่จัดไว้เฉพาะนักปฏิบัติที่เป็นบุรุษก็ดี สตรีก็ดี ห้ามมิให้เพศตรงข้ามเข้าไปนอน หรือใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม โดยเด็ดขาด
  • นักปฏิบัติจะต้องอยู่ในบริเวณที่กำหนดให้เท่านั้น  ถ้าไม่มีธุระจำเป็น ไม่ควรออกนอกสถานที่ปฏิบัติ และถ้ามีธุระจำเป็นต้องออกจากศูนย์ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเสียก่อน
  • ทางศูนย์ฯได้จัดที่พักไว้โดยเฉพาะเป็นห้องน มีไฟฟ้า น้ำ ห้องน้ำ ห้องส้วมพร้อม ขอความร่วมมือได้โปรดช่วยกัน ใช้น้ำ ไฟ อย่างประหยัด (ไม่ควรเปิดน้ำ ไฟฟ้าและพัดลมทิ้งไว้เมื่อไม่อยู่ในห้องพัก) และโปรด ทำความสะอาดในห้อง หน้าห้อง ห้องน้ำ ห้องส้วม รวมทั้งดูแลรักษา ของใช้ประจำห้อง ก่อนส่งคือเจ้าหน้าที่เมื่อเลิกปฏิบัติ
  • ให้ผู้เข้าปฏิบัติ เซ็นยืมของใช้ประจำห้อง และตรวจสอบให้ครบถ้วนพร้อมให้เจ้าหน้าที่เซ็นรับ เมื่อเลิกปฏิบัติ
  • ห้ามมิให้ ผู้เข้าปฏิบัติ ให้เงินหรือของมีค่าใดๆ กับเจ้าหน้าที่ ในศูนย์ หากต้องการบริจาค ให้บริจาคที่ฝ่ายการเงินของศูนย์ เพื่อจัดสรรให้เจ้าหน้าที่อย่างเหมาะสมต่อไป
  • การรับประทานอาหารมี 2 เวลา และดื่มน้าปานะ 1 เวลาดังนี้

                    07:00 น.   รับประทานอาหารเช้า
                    11:00 น.   รับประทานอาหารกลางวัน
                    17:00 น.   ดื่มน้ำปานะ

  • นักปฏิบัติจะต้องไม่นำของมีค่าติดตัวมาด้วย หากสูญหาย ทางศูนย์ฯ จะไม่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
  • กรณีมีผู้มาเยี่ยมจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เสียก่อน การเยี่ยมนั้นให้แขกคุยได้ไม่เกิน 15 นาที และเข้าเยี่ยมได้ที่ตึกอำนวยการเท่านั้น ห้ามเข้าไปชวนคุย ทั้งในห้องหรือตามที่ต่างๆ
  • ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถปฏิบัติตามกฏ ระเบียบ ดังกล่าวข้างต้น และได้รับการตักเตือนจากเจ้าหน้าที่ศูนย์ หรือวิปัสสนาจารย์ผู้สอนแล้ว แต่ยังคงประพฤติเช่นเดิมอยู่ ผุ้ปฏิบัติยินยอมที่จะออกจากศูนย์ ฯ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น และทางศูนย์ จะพิจารณาพิจารณาที่จะไม่รับผู้ปฏิบัติฝ่าฝืนกฏ ระเบียบและข้อบังคับเป็นนิจ ในการเข้าปฏิบัติครั้งต่อๆ ไป ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ วิปัสสนาจารย์ผู้สอน

ต า ร า ง ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม

  • ตารางปฏิบัติธรรมหลักสูตรพัฒนาจิตให้เป็นอริยะ (โยคี ๑๕ วัน) และโครงการพัฒนาสู่อริยสงฆ์ (ภิกษุสงฆ์ สามเณร ๒๐ วัน)
    โดยมีการเตรียมความพร้อม ๔ วัน
วัน

ตั้งแต่

ถึง

รายละเอียด

๙:๐๐ น.

๑๒:๐๐ น.

รายงานตัว เขียนใบสมัคร

 

๑๓:๓๐ น.

๑๔:๓๐ น.

ปฐมนิเทศ

 

๑๔:๓๐ น.

๑๕:๐๐ น.

สมาทานอัฏฐศีล

 

๑๕:๐๐ น.

๑๕:๓๐ น.

แนะนำการนั่งเบื้องต้น

 

๑๕:๓๐ น.

๑๖:๐๐ น.

แนะนำการเดินเบื้องต้น

 

๑๖:๐๐ น.

๑๗:๐๐ น.

สอนเดินจงกรม และนั่งสมาธิ

 

๑๗:๐๐ น.

๑๗:๒๐ น.

ดื่มน้ำปานะ

 

๑๗:๓๐ น.

๑๘:๓๐ น.

พักทำกิจส่วนตัว

 

๑๘:๓๐ น.

๒๒:๐๐ น.

ฟังธรรมบรรยายเรื่อง "ศีล"

๓:๓๐ น.

๔:๐๐ น.

ตื่นนอนและทำกิจส่วนตัว

 

๔:๐๐ น.

๕:๐๐ น.

เดินจงกรมและนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที

 

๕:๐๐ น.

๖:๐๐ น.

เดินจงกรมและนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที

 

๖:๐๐ น.

๖:๓๐ น.

ถามการกำหนด พองยุบ การกำหนดเสียง กำหนดได้ทันหรือไม่

 

๖:๓๐ น.

๗:๐๐ น.

สอนอิริยาบทย่อย (การเหยียดคู้)

 

๗:๐๐ น.

๘:๓๐ น.

พักรับประทานอาหารเช้า และทำกิจส่วนตัว

 

๘:๓๐ น.

๙:๓๐ น.

เดินจงกรมและนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที

 

๙:๓๐ น.

๑๐:๓๐ น.

เดินจงกรมและนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที

 

๑๐:๓๐ น.

๑๑:๐๐ น.

ถามการกำหนด และสอนอิริยาบทย่อย (การเก็บมือ)

 

๑๑:๐๐ น.

๑๒:๐๐ น.

พักรับประทานอาหารเพล

 

๑๒:๐๐ น.

๑๓:๐๐ น.

พักทำกิจส่วนตัว

 

๑๓:๐๐ น.

๑๔:๐๐ น.

เดินจงกรมและนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที(เสริมอิริยาบทย่อยจากยืนลงนั่ง)

 

๑๔:๐๐ น.

๑๕:๐๐ น.

เดินจงกรมและนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที (เสริมอิริยาบทย่อยจากนั่งลุกขึ่นยืน)

 

๑๕:๐๐ น.

๑๖:๐๐ น.

ถามวิธีกำหนด เสริมการกำหนดต่างๆ โดยเฉพาะการกำหนดสภาวจิต

 

๑๖:๐๐ น.

๑๗:๐๐ น.

ซ้อมอิริยาบทย่อย (จากยืนลงนั่ง จากนั่งลุกขึ้นยืน)

 

๑๗:๐๐ น.

๑๗:๒๐ น.

พักดื่มน้ำปานะ

 

๑๗:๒๐ น.

๑๘:๐๐ น.

พักทำกิจส่วนตัว

 

๑๘:๐๐ น.

๑๘:๓๐ น.

ซ้อมการกราบแบบกำหนด

 

๑๘:๓๐ น.

๒๒:๐๐ น.

ฟังธรรมบรรยายเรื่อง "สมาธิ"

๓:๓๐ น.

๔:๐๐ น.

ตื่นนอนและทำกิจส่วนตัว

 

๔:๐๐ น.

๕:๐๐ น.

เดินจงกรมและนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที(สอนการเก็บอาสนะ)

 

๕:๐๐ น.

๖:๐๐ น.

เดินจงกรมและนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที(สอนการปูอาสนะ)

 

๖:๐๐ น.

๗:๐๐ น.

ถามการกำหนด พองยุบ หลังการกำหนดอารมณ์รองว่าทันหรือไม่ แนะนำวิธีการกำหนดที่ถูกต้อง

 

๗:๐๐ น.

๘:๓๐ น.

รับประทานอาหารเช้า (สอนฝึกการรับประทานอาหาร และทำกิจส่วนตัว)

 

๘:๓๐ น.

๙:๓๐ น.

เดินจงกรมนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที

 

๙:๓๐ น.

๑๐:๓๐ น.

เดินจงกรมนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที

 

๑๐:๓๐ น.

๑๑:๐๐ น.

ถามวิธีการกำหนด และซ้อมอิริยาบทย่อยต่างๆ

 

๑๑:๐๐ น.

๑๒:๐๐ น.

พักรับประทานอาหาร (สอนอิริยาบทย่อยการเปิดปิ่นโต)

 

๑๒:๐๐ น.

๑๓:๐๐ น.

พักทำกิจส่วนตัว

 

๑๓:๐๐ น.

๑๔:๐๐ น.

เดินจงกรมนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที (ทบทวนการเก็บอิริยาบทย่อย การเก็บมือยืนลงนั่ง)

 

๑๔:๐๐ น.

๑๕:๐๐ น.

เดินจงกรมนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที (ทบทวนการเก็บอิริยาบทย่อย การเก็บมือจากนั่งลุกขึ้นยืน)

 

๑๕:๐๐ น.

๑๖:๐๐ น.

ถามการกำหนดต่างๆ ทบทวนการกำหนดสภาวจิต เสริมอิริยาบทย่อย การเก็บมือ จากยืนลงนั่ง จากนั่งลุกขึ้นยืน การหยิบของ ทบทวนการเหยียดคู้ให้ได้วิธีจิต

 

๑๖:๐๐ น.

๑๗:๐๐ น.

เดินจงกรมและนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที(สอนการปูอาสนะ)

 

๑๗:๐๐ น.

๑๗:๓๐ น.

สอบถามการกำหนด, เสริมอิริยาบทย่อย คู้ เหยียด การย้ายของ

 

๑๗:๓๐ น.

๒๒:๐๐ น.

ฟังธรรมบรรยายเรื่อง "ปัญญา"

๓:๓๐ น.

๔:๐๐ น.

ตื่นนอนและทำกิจส่วนตัว

 

๔:๐๐ น.

๕:๐๐ น.

เดินจงกรมนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที

 

๕:๐๐ น.

๖:๐๐ น

เดินจงกรมนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที

 

๖:๐๐ น.

๗:๐๐ น.

ถามวิธีการกำหนด พองยุบ การกไหนดอารมณ์รอง เช่น เสียง เวทนา สภาวจิต ฯลฯ และสอนอิริยาบทย่อย การเหยียดคู้ให้ได้วิถีจิต การหยิบของ การย้ายของ

 

๗:๐๐ น.

๘:๓๐ น.

รับประทานอาหารเช้า และทำกิจส่วนตัว

 

๘:๓๐ น.

๑๐:๐๐ น.

ดู VCD อิริยาบทย่อย

 

๑๐:๐๐ น.

๑๑:๐๐ น.

ทบทวนความเข้าใจว่า เข้าใจหรือไม่ที่ดู VCD และสรุปให้ฟัง

 

๑๑:๐๐ น.

๑๒:๐๐ น.

พักรับประทานอาหารเพล

 

๑๒:๐๐ น.

๑๓:๐๐ น.

พักทำกิจส่วนตัว

 

๑๓:๐๐ น.

๑๔:๐๐ น.

เดินจงกรมนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที

 

๑๔:๐๐ น.

๑๕:๐๐ น.

เดินจงกรมนั่งสมาธิอย่างละ 30 นาที

 

๑๕:๐๐ น.

๑๖:๐๐ น.

แนะนำวิธีการกำหนดที่ถูกต้อง

 

๑๖:๐๐ น.

๑๗:๐๐ น.

ฝึกซ้อมอิริยาบทย่อย การเปิดปิดประตู การนั่งส่งอารมณ์ ทบทวนขั้นตอนการส่งอารมณ์ การกราบพระแบบกำหนด

 

๑๗:๐๐ น.

๑๗:๓๐ น.

ดื่มน้ำปานะ

 

๑๗:๓๐ น.

๒๒:๐๐ น.

ฟังธรรมบรรยาย "ขึ้นกัมมัฏฐาน"

วันที่ ๕
เป็นต้นไป
    พระภิกษุ สามเณร โยคี ปฏิบัติในห้องกัมมัฏฐาน
ส่งอารมณ์ช่วงบ่าย โดยที่มีบัตรนัดส่งอารมณ์ให้กับ พระภิกษุ สามเณร โยคี
วันที่ ๑๔     พระภิกษุ สามเณร โยคี ฟังธรรมบรรยาย "ประโยชน์จากการวิปัสสนากัมมัฏฐาน แนะการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน"
วันที่ ๑๕     โยคีเปลี่ยนศีล เดินทางกลับ
วันที่ ๑๙     พระภิกษุ สามเณร ฟังธรรมบรรยาย "การนำปัสสนากัมมัฏฐานไปใช้ในชีวิตประจำวัน"
วันที่ ๒๐     พระภิกษุ สามเณร เดินทางกลับ

 

หมายเลขบันทึก: 317889เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท