งานวิจัยเรื่องที่ 3


เรื่อง บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียน

เรื่อง  บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1

ผู้จัดทำ  วนิดา  สัมพันธ์พร

จัดทำเมื่อ  ตุลาคม  2549

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

1.  เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1

2.  เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1    จำแนกตามตำแหน่ง

คำถามในการวิจัย

  1.  บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1  อยู่ในระดับใด
  2. บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1  จำแนกตามตำแหน่งแตกต่างกันหรือไม่

สมมติฐานการวิจัย

บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1  จำแนกตามตำแหน่งมีความแตกต่างกัน

กรอบความคิดในการวิจัย

                ในการศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1   ได้กำหนดขอบข่ายตามแนวคิดการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนของ  นัทธี  พงษ์ดนตรี (2544,หน้า6)  ใน  3 ด้าน  คือด้านการบริหารจัดการของโรงเรียน  ด้านการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาสู่โรงเรียน  และด้านการนำนักเรียนออกไปสู่แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น  

ขอบเขตของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1  โดยมีขอบเขตการวิจัย ดังนี้

  1. ขอบเขตของเนื้อหา

การศึกษาครั้งนี้ม่งศึกษา  บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1

  1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2.1       ประชากร  ได้แก่  ผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 ปีการศึกษา  2549  จำนวน  799  คน  เป็นผู้บริหาร  85  คน  และครู  715  คน 

2.2       กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้  ได้มาจากผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุลี   เขต 1  ปีการศึกษา  2549  โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น  (stratified  Random  Sampling)  ตามสัดส่วนของผู้บริหารและครู  แบ่งตามอำเภอและเทียบเป็นร้อยละ  ตามกลุ่มตัวอย่าง  แล้วใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย  (Simple Random  Sampling  )  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของเครจซี  และเมอร์แกน  (Krejcie  & Morgan, 1970  ,pp.607-608)  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 260 คน  เป็นผู้บริหาร 30 คน  และครู 230 คน

  1. ตัวแปรที่ศึกษา

3.1  ตัวแปรต้นที่ศึกษา  ได้แก่  ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน

3.1.1    ผู้บริหารโรงเรียน

3.1.2   ครู

3.2   ตัวแปรตาม  คือ  บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนในด้านการบริหารจัดการของโรงเรียน  การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่โรงเรียน  และการนำนักเรียนออกไปสู่แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1.  ได้แนวทางสำหรับครูและผู้บริหารโรงเรียนการพัฒนาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน  ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 
  2. ได้แนวทางในการที่จะนำข้อมูลที่ได้รับไปพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับหลักสูตรแม่บท  ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 1 
  3. ได้ข้อเสนอแนะต่อผู้เกี่ยวข้องในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ในการจัดการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ชลบุรี เขต 1

การดำเนินการวิจัย

  การศึกษาวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
  3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูล
  4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
  5. วิเคราะห์ข้อมูล
  6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

  1.  ประชากร  ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 ปีการศึกษา  2549  จำนวน 799 คน  เป็นผู้บริหาร  84  คน และครู 715 คน 
  2. กลุ่มตัวอย่าง  ได้มาจากผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่สอนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  ปีการศึกษา  2549  โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น  ตามสัดส่วนของผู้บริหารและครู  เทียบเป็นร้อยละตามกลุ่มตัวอย่าง  แล้วใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง  ของเครจซี่และมอร์แกน  ได้กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  260  คน  เป็นผู้บริหาร 30 คน  และครู 230  คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                เครื่องมือทีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้  เป็นแบบสอบถามบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต  1    แบบสอบถามแบ่งออกเป็น  2  ตอน  ดังนี้

                ตอนที่ 1  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม  มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (Check  List)

                ตอนที่  2  เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  Scale)  ตามแบบของลิเคิร์ท  (Likert)  5  ระดับ  คือ  มากที่สุด  ปานกลาง  น้อย  น้อยที่สุด  โดยถามบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  ใน 3 ด้าน  จำนวน  45  คน  คือ

  1.  ด้านการบริหารจัดการของโรงเรียนในการการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจัดการเรียนการสอน  จำนวน  16 ข้อ
  2. ด้านการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาสู่โรงเรียน  จำนวน  15  ข้อ
  3. ด้านการนำนักเรียนออกไปสู่แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น  จำนวน  14 ข้อ

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ  ดังนี้

  1.  ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาทในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอน
  2. สร้างแบบสอบถามให้ครอบคลุมเนื้อหาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1
  3. นำแบบสอบถามที่ได้เสนอผู้ทรงคุณวุฒิ  พิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรง(Validity)  ตามเนื้อหา(Content  Validity)  และโครงสร้าง(Construct  Validity)
  4. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิแล้วไปทดลองใช้ (try  out)  กับครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน  30  คน  แล้วนำมาหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ  ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม  โดยใช้วิธีหาสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง  .45 - .81
  5. หาค่าความเชื่อมั่น(Reliability)  ของแบบสอบถาม  โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธ์แอลฟา  (Alpha  Coeffcient)  ตามวิธีของครอนบาค  ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  .97
  6. นำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นและมีความสมบูรณ์ไปใช้ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้า  ผู้วิจัยดำเนินการตามดังต่อไปนี้

  1. ขอหนังสือจากภาควิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  ถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 1  เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการแจกแบบสอบถามไปยังครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
  2. ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามให้แก่โรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง  โดยส่งและเก็บแบบสอบถามด้วยตนเอง
  3. ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาทั้งหมดมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามแต่ละฉบับ  จนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด
  4. นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติการวิจัยโดยใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป  SPSS  Windows

การวิเคราะห์ข้อมูล

                ในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการตามขั้นตอน  ดังนี้

  1.  นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์ทั้งหมดมาให้คะแนน  ตามแนวทางการประเมินเจตคติ  แบบมาตราส่วนประมาณค่า  แบบลิเคิร์ท  (Likert ’s Scale)  คือ

มีการส่งเสริมมากที่สุด              ให้  5  คะแนน

มีการส่งเสริมมาก                      ให้  4  คะแนน

มีการส่งเสริมปานกลาง             ให้  3  คะแนน

มีการส่งเสริมน้อย                    ให้  2  คะแนน

มีการส่งเสริมน้อยที่สุด             ให้  1  คะแนน

  1.  การแปลความหมายของคะแนน  ผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์ความหมายค่าเฉลี่ยของคะแนนเป็นตัวชีวัดโดยอาศัยแนวคิดของบุญชม  ศรรีสะอาด  และบุญส่ง  นิลแก้ว  แล้วแปลความหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด  ดังนี้

คะแนนเฉลี่ย  4.51 -  5.00       หมายถึง  มีส่งเสริมมากที่สุด

คะแนนเฉลี่ย  3.51 -  4.50       หมายถึง  มีส่งเสริมมาก

คะแนนเฉลี่ย  2.51 -  3.50       หมายถึง  มีส่งเสริมปานกลาง

คะแนนเฉลี่ย  1.51 -  2.50       หมายถึง  มีส่งเสริมน้อย

คะแนนเฉลี่ย  1.00 -  1.50       หมายถึง  มีส่งเสริมน้อยที่สุด

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

                ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์  โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ  SPSS  for  Windows  ดังนี้

  1.  ศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1
  2. เปรียบเทียบของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  จำแนกตามตำแหน่ง  สถิติที่ใช้  คือ  การทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

  1.   บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  โดยรวมและรายด้านอย่าในระดับปานกลาง  เรียงคะแนนจากมากไปน้อย  คือ  การนำนักเรียนออกไปสู่แหล่งภูมิท้องถิ่นการบริหารจัดการของโรงเรียน  และการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่โรงเรียน
  2. เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  จำแนกตามตำแหน่ง  โดยรวม  และด้านการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่โรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < .05 )  ส่วนด้านการบริหารจัดการบริหารจัดการของโรงเรียน  และด้านการนำนักเรียนออกไปสู่แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ (Tags): #สรุปงานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 318378เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2009 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีครับ อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มมาอีกหน่อย ขอบคุณนะครับ

พี่เปา..น้อง ๆ เค้าขึ้นเล่ม 7 แล้วคร๊าบบบ

เป็นงานวิจัยที่น่าศึกษา  ถ้าเป็นไปได้อยากจะขออ่านงานวิจัยเป็นเล่มเพื่อนำมาใช้อ้างอิงและเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าต่อไป  จะขอบคุณเป็นอย่างสูง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท