สำนวนนิราศในลิลิตตะเลงพ่าย


สำนวนนิราศในลิลิตตะเลงพ่าย

ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

 

     สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงพระนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่ายขึ้นเป็นบทสดุดีเฉลิมพระเกียรติวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยแก่พระมหาอุปราชแห่งกรุงหงสาวดี เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕  แม้ว่าเนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับการทำศึกสงคราม แต่วรรณคดีเรื่องนี้กลับมีรสวรรณคดีอย่างครบถ้วน ทั้งนี้ด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ผู้นิพนธ์ 

    เป็นที่น่าเสียดายว่าสำนวนนิราศที่ไพเราะในลิลิตตะเลงพ่ายได้ถูกตัดทอนไปเมื่อเป็นบทเรียนในหนังสือเรียนภาษาไทย  จึงขอหยิบยกบางบทจากตอนพระมหาอุปราชคร่ำครวญถึงนางระหว่างการเดินทัพมาทำศึกกับกรุงศรีอยุธยา พอให้ได้สัมผัสความงดงามแห่งสำนวนนิราศ

ชมไม้ 

           พระครวญพระคร่ำไห้               โหยหา

พลางพระพิศพฤกษา                          กิ่งเกี้ยว

กลกรกนิษฐานา-                                 รีรัตน์  เรียมฤๅ

ยามตระกองเอวเอี้ยว                          โอบอ้อมองค์เรียม ฯ

         เฌอปรางเปรียบนาฏน้อง           นวลปราง

รักดั่งรักนุชพาง                                  พี่ม้วย

ช้องนางเฉฏช้องนาง                          คลายคลี่  ลงฤๅ

โศกพี่โศกสมด้วย                               ดั่งไม้นามมี ฯ

       เล็บมือนางนี้หนึ่ง                         นขา  เรียมฤๅ

ต้องดั่งต้องบุษบา                               นิ่มน้อง

ชงโคคิดชงฆา                                    นุชนาฏ  เหมือนฤๅ

เรียมระเมียรเดื่อปล้อง                       ดั่งปล้องศอสมร ฯ

      ซ่อนกลิ่นกลิ่นแก้วซ่อน                นาสา

ตาดว่าตาดพัสตรา                             หนุ่มเหน้า

สลาลิงเล่ห์สลา                                   นุชเทียบ  ถวายฤๅ

สวาดดั่งเรียนสวาทเจ้า                      จากแล้วหลงครวญ

      สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง                  ยามสาย

สายบ่หยุดเสน่ห์หาย                         ห่างเศร้า

กี่คืนกี่วันวาย                                     วางเทวศ   ราแม่

ถวิลทุกขวบค่ำเช้า                             หยุดได้ฉันใด

ชมนก

      นางนวลนึกนิ่มน้อง                       นวลปราง

จากพรากพรากจากนาง                    หนึ่งนั้น

พิราบพิลาปคราง                               ครวญแข่ง  ข้าฤๅ

บัวว่ายบัวนุชปั้น                                 อกน้องเรียมฤๅ ฯ

      ไก่แก้วคิดคู่แก้ว                           กลอยใจ  เรียมฤๅ

แสรกยิ่งแสรกหฤทัย                         พี่เศร้า

นกออกนึกออกไพร                          พลัดแม่  เหมือนฤๅ

ชมแขกเต้าคู่เต้า                               แขกน้องนานคืน ฯ

     เนืองนกจับมิ่งไม้                         เรียมยล

คุมคู่อยู่ทุกตน                                  ต่างร้อง

ตูเดียวอดูรทน                                  ทุกข์ทุ่ม  ทรวงนา

ฤๅบ่มีเพื่อนพร้อง                             พี่เพี้ยงอาดูร ฯ

      เบญจวรรณวานเร่งร้อง              เราบิน  ไปเฮย

แจ้งที่แสนสุดถวิล                             วากย์ว้า

ยามกินบเป็นกิน                               กินโศก

นอนดั่งนอนป่าช้า                            ชอกช้ำทรวงสลาย ฯ

      ไก้ฟ้าวานว่ายฟ้า                       หาวหน

หาสมรมายล                                    เถื่อนท้อง

เชิญชมพนารัญ                               เรียงรุ่น  รุกข์แฮ

ชมพิหคเหินร้อง                              ร่ายไม้  ไขเสียง ฯ

      พระโหยพระไห้ร่ำ                     รำจวน

พลางพระคำนึงนวล                        หนุ่มหน้า

บเหือดบหายครวญ                         ครางคร่ำ  อยู่แฮ

พระแต่โศกแต่เศร้า                         แต่สร้อยแสนทวี ฯ

 

หมายเลขบันทึก: 318911เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2009 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ครูคับ เพื่มเติมนิดหนึ่งนะคับ วันที่สมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาคือวันที่18มกราคม 2135 เมื่อก่อนคือวันที่25มกราคม เปลี่ยนเมื่อวันที่29 พ.ย.2548 เพราะคำนวณผิดไป7วันคับ ถือว่าวันที่18มกราคมคือวันกองทัพไทย เเละวันที่ระลึกถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยคับ

สวัสดีค่ะ...คุณ P ครูแป๊ว กัลยาณี

มาเรียนสำนวนนิราศในลิลิตตะเลงพ่ายด้วยคนนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

ครูคับ พระนเรศวรถามจิงๆคือพระนเรศนะคับ คำว่านเรศวร มาจากคำว่า นเรศ+วร ซึ่งมาจากพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิ์พงศ์(จาด)กล่าวว่า พระนเรศวรราชาธิราช สร้อยพระนามคือวรราชธิราช เช่นพระมหาจักรพรรดิ์วรราชาธิราชา ที่มีปรากฎอ่าคับ เเต่คำว่าพระนเรศวรมาจากการชำระประวัติศาสตร์ผิดพลาดเลยเพี้ยนมาเป็นพระนเรศวร เเต่ไม่ใช่ นร+อีศวรที่หลายๆคนเข้าใจกันนะคับ เเต่คนก็ยังเรียกว่าพระนเรศวรโดยที่พระนามจริงๆคือพระนเรศ มาจนถึงปัจจุบัน (ให้เป็นเกร็ดความรู้ไว้คับ)

**ที่มา หนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับวันที่3 มกราคม 2549 หน้า42-43

ครูคับ พระนเรศวรชื่อจิงๆคือพระนเรศนะคับ คำว่านเรศวร มาจากคำว่า นเรศ+วร ซึ่งมาจากพระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิ์พงศ์(จาด)กล่าวว่า พระนเรศวรราชาธิราช สร้อยพระนามคือวรราชธิราช เช่นพระมหาจักรพรรดิ์วรราชาธิราชา ที่มีปรากฎอ่าคับ เเต่คำว่าพระนเรศวรมาจากการชำระประวัติศาสตร์ผิดพลาดเลยเพี้ยนมาเป็นพระนเรศวร เเต่ไม่ใช่ นร+อีศวรที่หลายๆคนเข้าใจกันนะคับ เเต่คนก็ยังเรียกว่าพระนเรศวรโดยที่พระนามจริงๆคือพระนเรศ มาจนถึงปัจจุบัน (ให้เป็นเกร็ดความรู้ไว้คับ)

**ที่มา หนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับวันที่3 มกราคม 2549 หน้า42-43

สวัสดีค่ะ ครูอี๊ดคะ

สวัสดีจ้ะ โรตี

ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีที่แต่งได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้ลิลิตพระลอซึ่งวรรณคดีสโมสรยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทลิลิต จะเป็นรองอยู่ก็เพียงแต่งภายหลังเท่านั้น ครูแป๊วได้สอนลิลิตตะเลงพ่ายให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ติดต่อกันหลายรุ่น แม้ว่าปัจจุบันนี้จะไม่ได้สอนระดับชั้นนี้แล้ว แต่ความประทับใจยังคงไม่ลืมเลือน จึงอดไม่ได้ที่จะกล่าวถึงวรรณคดีเรื่องนี้เนื่องในวันกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ( ๑๑ ธันวาคม)

ขอขอบใจโรตีอย่างมากสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

สวัสดีค่ะ

ครูแป๊วขออนุญาตนำเสนอบางตอนของบทความ "สมเด็จพระนเรศวร" พระนามแปลกปลอมของ "พระนเรศ" โดย สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์ ในหนังสือศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ ๓ มกราคม ๒๕๔๙ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนนะคะ

... "สมเด็จพระนเรศวร" จึงเป็นพระนามแปลกปลอมของ "สมเด็จพระนเรศ" ที่อาลักษณ์ผู้เรียบเรียงพระราชพงศาวดารฯกลุ่มฉบับความพิสดารในสมัยหลังเรียกผิดเพี้ยนไปจากพระนามแท้จริงของพรนะองค์ อันเป็นผลมาจากการขาดแคลนเอกสารร่วมสมัยขั้นต้นสำหรับใช้ตรวจชำระประวัติศาสตร์สมัยศรีอยุธยาที่ล่วงเลยมาเกือบ ๒ ศตวรรษ"

ไม่ว่าพระนามที่แท้จริงจะเป็น "นเรศวร" หรือ "นริศ" หรือ "นเรศ" การสร้างคำใช้วิธีการสมาสแบบมีการสนธิ ดังนี้ค่ะ

นร + อิศวร = นเรศวร

นร + อีศ = นริศ , นเรศ

เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ

ในวรรณคดีเรื่องนี้มีรสวรรณคดีไทยครบถ้วนทีเดียว และใช้ภาษางดงามมาก

บทนิราศในลิลิตตะเลงพ่ายได้รับการยกย่องว่ามีโวหารดีเด่นเป็นเลิศทีเดียวครับ

พระมหาธรรมราชาจะเป็นตัวละครเอกในช่วงนี้ที่ผู้อ่านรู้สึกสงสารและเห็นใจ และลดความเกลียดชังฝ่ายพม่า

เพราะพระองค์สูญเสียนาง สูญเสียอำนาจ และสูญเสียชีวิต การเดินทางของพระมหาอุปราชาเทียบได้กับการเดินทางของพระลอ แต่เมื่อเปรียบเทียบความรู้สึกแล้ว ผู้อ่านจะรู้สึกเห็นใจพระมหาอุปราชามาก ความเสียใจของพระมหาอุปราชาเป็นลักษณะเด่นในบทนิราศของวรรณคดีเรื่องนี้ จนได้รับยกย่องว่า เป็นบทนิราศที่แสดงความอารมณ์เศร้าสะเทือนใจได้อย่างดี

สวัสดีนะจ๊ะ กิตติพงษ์

เธอคือศิษย์คนหนึ่งที่ครูภูมิใจ รักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า และจะเป็นผู้ที่ร่วมสืบสานภาษาไทยต่อไป

ที่เธอกล่าวมาทั้งหมดตรงกับใจของครู เราต่างมองเห็นความงดงามของวรรณคดีเรื่องนี้ และอยากให้นักเรียนที่เรียนลิลิตตะเลงพ่ายทุกคนเข้าถึงวรรณคดีเรื่องนี้เช่นเดียวกัน

การสูญเสียอย่างละเอียดของฝ่ายไทยและพม่าต้องส่งอาจารย์ใตรก้ได้ช่วยทีเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายอะครับ

ตอนนี้กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับอารมณ์เศร้าของพระมหาอุปราชา ในลิลิตตะเลงพ่าย สับสนมากเลยค่ะ... ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อนดี...

รบกวนคุณครูช่วยแนะหน่อยนะคะ... T_T

น้ำพุ ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ...^^

ช่วยอธิบายเรื่องการวิเคราห์ความงดงามของการใช้ภาษาในรรณคดีเรื่ิงลิลิตตะเลงพ่าย ในทุกแง่มุมพร้อมยกตัวอย่างๅบทร้อยกรองประกอบการวิเคราะห์   ใครก็ได้ช่วยหนูหน่อยค่ะ ดุณครูหนูสั่งให้ทำ  แล้วก็ส่งวันพฤหัสบดีที่17 ม.ค. 56 ช่วยหน่อยนะคะ

ไก่แก้วคิดคู่แก้ว กลอยใจ เรียมฤๅแสกยิ่งแสกหฤทัย พี่เศร้านกออกนึกออกไพร พลัดแม่ เหมือนฤๅชมแขกเต้าคู่เต้า แขกน้องนานคืนช่วยแปลให้หน่อยค่ะ//ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท