สบายดีหลวงพระบาง 2


สบายดี ที่เมืองมรดกโลก

สบายดีครับ พี่น้องชาว Gotoknow

กลับมาต่อเรื่องราวหลังจากบันทึกแรกเกี่ยวกับการเดินทางในลาว บันทึกนี้ก็จะเก็บความประทับใจในหลวงพระบางมาเล่าสู่กันฟังต่อ  ขอบคุณพี่ๆทุกท่านที่เข้าชมและเม้นด้วยนะครับ

 

หลังจากนั่งรถโดยสารประจำทางจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปยังเมืองหลวงพระบาง ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 10 ชั่วโมงกว่าๆ เราก็เดินทางมาถึงหลวงพระบางเวลาประมาณตี 4 ของวันที่ 6 ธันวาคม จากนั้นก็ขึ้นสามล้อไปหาที่พักในเมืองกัน   ไปที่แรก เจอราคา 40 USD อ๊ากก  แพงไป  ทริปนี้เป็นทริปชุดประหยัด  หาไปเรื่อยๆ กว่าจะเจอ เพราะช่วงนี้นักท่องเที่ยวเยอะ สุดท้ายก็ได้ เกสต์เฮ้าส์ หรือ เฮือนพัก ราคาไม่ถูกไม่แพงมาก คืนละ 500 บาท เป็นห้องพัดลม หาร 3 คน ก็โอเคนะ

รถโดยสารจอดให้กินข้าวระหว่างทาง  เราก็เลยกินเฝอกัน

 

เข้าที่พักแล้วก็วางแผนเที่ยว หนึ่งในกลุ่มก็เสนอขึ้นมาว่า อยู่ต่ออีกซักวันดีมั้ย อืมม อยู่ต่อก็ดีนะ หลังจากนั้นก็จัดการโทรติดต่อมาหาดวงใจที่เวียงจันทน์ว่าจะอยู่หลวงพระบางต่ออีกวัน (ใช้ซิมลาวที่ดวงใจซื้อและเติมเงินให้ ^^ ขอบคุณคร้าบ)  จากนั้นก็นอนสลบไสล

สภาพห้องพัก 2 เตียง กับ 3 คน

 

ตื่นมาอีกทีก็สิบโมงเช้า จัดการธุระส่วนตัวเสร็จ ก็ออกไปเช้าจักรยานเพื่อปั่นเที่ยวรอบเมืองกัน ค่าเช่าวันละ 120 บาท ไม่แพงมาก  ปั่นออกไปหาข้าวกินริมแม่น้ำโขง

บรรยาการริมน้ำโขงสวยงามมาก อาหารก็คล้ายๆไทย สั่งผัดกะเพรา กะ ผัดไทย (ไปถึงลาวยังสั่งผัดไทย อีก)  รสชาติก็ใช้ได้ แต่แพงไปหน่อย (จานละ 80 บาท) เหอๆ

ร้านอาหารริมน้ำโขง

กินเสร็จเราก็จัดการแลกเงินเป็นเงินกีบ  ส่งไปรษณียบัตร เพื่อยืนยันว่า เรามาถึงแว้วว แล้วก็ปั่นจักรายานเที่ยวกัน Let 's GO GO Go

การปั่นจักรยานที่นี่ต้องชิดขวา เหมือนรถทั่วไป ทำเอาตอนแรกๆ แจ๊คก็งงไปเหมือนกัน เพื่อนต้องคอยเตือนตลอด เหอๆ  ปั่นไปเรื่อยๆ แล้วแวะบางจุดที่น่าสนใจ

จุดแรกที่แวะ คือ วัดแสนสุขาราม เข้าชมฟรี วัดสวยดี

 

พระอุโบสถ วัดแสนสุขาราม

 พระอุโบสถ วัดแสนสุขาราม

จุดต่อมาคือวัดเชียงทอง ค่าชม 80 บาท วัดนี้ว่ากันว่าเป็น วัดที่ Unseen ของเมืองนี้เลยทีเดียว  วัดอยู่ติดริมแม่น้ำโขง  ภายในวัดก็มีพระอุโบสถที่สวยงาม มีรงเก็บราชรถ ซึ่งเคยใช้ในพิธีพระศพของเจ้ามหาชีวิตในอดีต และมีโบราณสถานหลายๆอย่างที่สวยงาม

 

คำจารึก วัดเชียงทอง มรดกโลก

โรงเมี้ยนโกศ หรือโรงเก็บราชรถ วัดเชียงทอง

พระอุโบสถวัดเชียงทอง

บรรยากาศภายในโรงเก็บราชรถ

ท่าน้ำโขงหน้าวัดเชียงทอง

จากวัดเชียงทองก็ปั่นจักรยานย้อนกลับทางเดิม มาแวะที่หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ หลวงพระบาง จ่ายค่าเข้าชม 80 บาท  ที่นี่เคยเป็นพระราชวังของเจ้ามหาชีวิตในอดีต ภายในจัดแสดงประวัติและของใช้ส่วนพระองค์ ศิลปวัตถุที่มีคุณค่า  สิ่งที่ประทับใจก็คือ มีกุญแจเมืองของกรุงเทพ (เป็นกุญแจเมืองทองคำที่มอบให้แขกบ้านแขกเมือง หรือ พระราชอาคันตุกะของไทย) และมีตู้พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยด้วย ซึ่งในหลวงได้พระราชทานเป็นของที่ระลึกแด่ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาของลาว แล้วก็มีห้องประดิษฐานพระบาง พระพุทธรูปสำคัญอันเป็นที่มาของชื่อเมือง หลวงพระบาง (หลวง แปลว่า เมือง หลวงพระบาง ก็คือ เมืองแห่งพระบาง)  เสียดายที่นี่ห้ามถ่ายรูปข้างใน ได้แต่เก็บความประทับใจไว้ในภาพความทรงจำ

 

พระราชวังหลวงพระบาง

หลังจากพระราชวังหลวงพระบาง เราก็กลับมาพักซักหน่อย กะว่าเย็นๆ จะขึ้นยอดภูสี ไปดูพระอาทิตย์ตกดิน ประมาณ 4 โมง เราก็ปั่นจักรยานไปเที่วริมแม่น้ำคานกัน ก่อนจะถึงก็แวะชมวัดวิชุนราช ซึ่งมีพระสถูปรูปร่างแปลกตา ที่ชาวลาวเรียกว่า พระธาตุหมากโม (เพรามีรูปร่างคล้ายแตงโมนั่นเอง)  เดินชมวัด จากวัดนี้สามารถมองเห็นพระธาตุจอมภูสีได้อย่างงดงาม

 

       พระธาตุหมากโม วัดวิชุนราช

พระธานตุจอมภูสี มองจากพระธาตุหมากโม

 

ออกจากวัดวิชุนก็ปั่นต่อไปยังสะพานเก่า ซึ่งสร้างข้ามแม่น้ำคาน รูปแบบสะพานดูคลาสสิกดี อดใจที่จะถ่ายรูปไม่ได้ เก็บภาพเล็กน้อยแล้วปั่นต่อไป

 

จากนั้นเราก็ปั่นไปชมวิวจุดที่แม่น้าคานกับแม่น้ำโขงมาบรรจบกัน สวยงามมาก พระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้าแล้ว เราเดินชมวิวซักพักแล้วก็รีบปั่นไปภูสี เพื่อขึ้นไปดูวิวรอบเมืองและชมแสงสุดท้ายของวัน

 

วิวแม่โขง

               จุดบรรจบของ โขง และ คาน                           

ค่าขึ้นภูสี 80 บาท ขึ้นบันไดประมาณ 400 ขั้น ทำเอาหอบแฮ่กๆ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะมองเห็นวิวรอบเมืองหลวงพระบางได้กว้างขวาง  แต่น่าเสียดายอย่าง  พระาอทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว  แต่ยังพอเห็นแสงสุดท้ายของวันรำไรๆ อากาศเริ่มเย็นลง

 

        วิวเมืองหลวงพระบางเมื่อยามเย็น                     พระธาตุจอมภูสีเมื่อตะวันลับฟ้า

จากนั้นเราก็ลงจากภูสี เมาซื้อของฝากที่ตลาดมืด ของสวยๆ เยอะแยะเลย หอบกลับมามากมาย แล้วเดินหาของกิน และกลับที่พักไปนอน เก็บแรงไว้ตลุยทีท่องเที่ยวทางธรรมชาติกันในวันพรุ่งนี้ เย้ๆ

บรรยากาศตลาดมืด

 

บันทึกนี้เล่าเรื่องราวแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บันทึกต่อไป จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติครับ

คำสำคัญ (Tags): #หลวงพระบาง
หมายเลขบันทึก: 319457เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ภาพสวย วิวสวย ถ่ายทอดบ้านเมืองและวัฒนธรรมได้ชัดเจนว่าเขาอนุรักษ์จริง สิ่งก่อสร้างมิให้สูงกว่า 2 ชั้น
คุณไปทั้งทีควรจะใส่บาตรยามเช้าและถ่ายรูปมาให้เห็นกัน อยากให้ชาวไทยใส่บาตรด้วยวัฒนธรรมแบบนี้บ้าง
เขาบอกว่า คนไทยไปหลวงพระบางถ้าไม่ใส่บาตรก็เหมือนไปไม่ถึง "นครหลวงพระบาง"

 

เห็นด้วยครับ กับการที่ยังคงสภาพบ้านเมืองได้ดีมากๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมประทับใจมาก

เรื่องตักบาตรก็เหมือนกันครับ เค้าสามารถรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไว้ได้ดี จนกลายมาเป็นจุดขายที่สำคัญได้ จริงๆแล้วถ้าคนไทยเราปฏิบัติตามวัฒนธรรมได้แบบนี้ก็จะดีเหมือนกันครับ จากวิถีชีวิตก็จะกลายเป็นจุดขายให้เมืองท่องเที่ยวได้

ผมก็ได้ร่วมตักบาตรเหมือนกันครับ แต่เป็นวันต่อไป ไว้จะมา review ในบันทึกต่อไปนะครับ

ยังไม่เคยไปค่ะ มาเก็บเกี่ยว เที่ยวทางภาพอักษรกับหนุ่มน้อยก่อนนะคะ

อิจฉาๆๆๆๆๆๆๆ

อยากไปๆๆๆๆๆๆ

สวยดี

ชอบวัดอ่ะ

โบราณมาก

แต่แนวคล้ายๆล้านนา นะ

ว่าแต่ว่า

ทริปนี้

ไปสามคนหรอ

อย่าบอกนะว่าโดดเรียนกันน่ะ

ของฝากจากตลาดมือไม่มีหรอ

ครั้งหน้า เจอกัน

สวัสดีค่ะน้องแจ๊ค เป็นบันทึกที่ได้เห็นภาพ อยากไปเที่ยวชมมากค่ะ ซื้อหนังสือมาอ่าน

อยากเห็นแม่น้ำคาน พระธาตุภูสี ...บรรยากาศสวยงาม อากาศคงเย็น

สงสัยลืมถ่ายรูปต้นดอกจำปาที่ขึ้นอยู่ทั่วไป

อาหารแพงเหมือนกันนะคะ เฝอ อร่อยไหม...

 

เมืองนี้น่าไปนะคะ ผู้คนดูใจดี

ตักบาตรข้าวเหนียว ยังคง classic ตลอดกาล

 

น้องแจ๊ค ส่งภาพ สวยๆไปฝากหน่อยนะคะ

 

  • เพลินเลย..เงียบๆไปนะครับ
  • ขอบคุณประสบการณ์ดีๆครับ

ถ่ายทอดเรื่องราวได้ดีจริงๆคะ

ภาพก็สวยมาก ใช้กล้องอะไรคะ

สวัสดีค่ะ..น้องจารุพงษ์ เคยไปค่ะ..หลวงพระบาง หลายปีแล้ว สวยงามประทับใจ โดยเฉพาะวันที่พวกเขาไปทำบุญ นุ่งซิ่นทุกคน แต่งแบบสวยงามมากประทับใจ ภาพหายไปไหนหมดไม่รู้ ขอนำลาวใต้มาฝากแทนแล้วกัน

น้ำตกคอนพะเพ็ง

"ไนแองการ่า แห่งเอเซีย"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท