เมื่อ สกย. ต้องใช้ KM + OM


...เอาใจช่วย สกย...

จาก weekly meeting เมื่อวันอังคารที่ 15 ธันวาคม 2552 ได้ฟัง AAR จาก อาจา่รย์ประพนธ์ เรื่อง KM กับสำนักงานกองทุนสวนยาง (สกย.) ก็ปิ๊งแว้บขึ้นมาว่า ถ้า สกย. ต้องใช้ KM พัฒนางาน จะมีชองทางใดได้บ้าง ซึ่งหมายความว่า เป็นข้อเสนอแนะบนข้อมูลจาก AAR นะคะ

งาน สกย. เป็นงานที่มีคนมาเกี่ยวข้องหลายฝ่าย เดิมดูเหมือนจะมีภารกิจเรื่องยางอย่างเดียว แต่ปัจจุบันอาจจะมีภารกิจกว้างไกลกว่านั้น เท่าที่ทราบงานส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับชาวสวนยาง เครื่องมือ KM เพียงอย่างเดียวจึงอาจตอบสนองได้ไม่ครอบคลุม น่าจะใช้ OM (Outcome Mapping) ประกอบด้วย

นึกภาพว่าเ้จ้าหน้าที่ สกย. ในแต่ละจังหวัด ได้วางแผนในการปลูกยางร่วมกับชาวบ้าน เพราะคนที่เป็นพระเอกจริงๆ เป็นคนที่ลงมือปลูก ดูแล จนได้น้ำยาง เป็นชาวบ้านมากกว่าเจ้าหน้าที่ แล้วทำไมเราไม่เสริมพลัง (Empower) ชาวบ้านกันล่ะ ชักชวนชาวบ้านที่ทำได้ดี มาเล่า มาแลกเปลี่ยนกัน หมุนเวียนกันไป ซึ่งเวทีแบบนี้ เจ้าหน้าที่ สกย. บริหารจัดการได้สบาย ทำหน้าที่เหมือนเป็นแมวมองหานางแบบ นายแบบ มาขึ้นเวที มาคุยกันถึงเทคนิคเคล็ดลับในการปลูกยาง ดูแลสวนยาง ทำอย่างไรให้ได้น้ำยาคุณภาพดี ปริมาณสูง การทำงานแบบนี้คือการใช้ KM นั่นเอง

แล้ว OM อยู่ตรงไหน ก็อยู่ตอนที่ชักชวนให้ชาวบ้านเห็นเป้าหมายร่วมกัน เห็นเส้นทางไปสู่เป้าหมายร่วมกัน เพราะถ้าไม่มีเป้าหมาย ไม่มีเส้นทางเดินให้ แล้วใครจะมาร่วมเดินไปด้วยกัน ซึ่งในทางปฏิบัติ OM ยังแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน (ช่วงวางแผน) และ 1 ขั้นตอนใหญ่ (ช่วงติดตามประเมินผล)

ทั้ง KM และ OM เป็นการทำงานในระยะยาว ที่ส่งเสริมให้เกิด "คนสำราญ งานสำเร็จ" แม้ในระยะเริ่มแรก องค์กรต่างๆ ไม่เฉพาะ สกย. จะต้องผ่านกลไกการผลักดันจากหน่วยงานเฉพาะ ก็ตาม

สคส. เอาใจช่วย สกย. ให้ผ่านช่วงเริ่มต้นนี้ไปให้ได้ เพื่อที่เราจะได้ทำงานร่วมกันในอนาคตนะคะ

ผิดถูกอย่างไร เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้ค่ะ

อ้อม สคส.

คำสำคัญ (Tags): #km#om#สกย.
หมายเลขบันทึก: 320897เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2009 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Outcome Mapping อธิบายในมุมมองของคุณในฐานะกระบวนกร ให้ผมเข้าใจหน่อยครับ

Outcome Mapping เป็นเครื่องมือในการทำงานเป็นเครือข่าย ที่เริ่มด้วยการเสาะหาภาคีมาทำงานร่วมกัน บนความเชื่อว่าเรื่องที่เราอยากทำ ก็มีคนอื่นอยากทำ ชวนกันมาทำร่วมกันเลยน่าจะดีกว่า

จึงเริ่มด้วยการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าอีก 5 ปี 10 ปี สิ่งที่เราช่วยกันทำ จะเกิดผลอย่างไร (Vision) แล้วมีงานส่วนไหนที่เริ่มทำได้ก่อนใน 2 - 3 ปีข้างหน้า (Mission) ใครจะเป็นภาคีหลักในการทำงานส่วนนั้น (Direct Partner) ทำไปแล้วระยะหนึ่ง ภาคีที่ทำงานด้วยกันจะมีการพัฒนาอย่างไรบ้าง (Outcome Challenge) จะติดตามว่ามีความคืบหน้าอย่างไร น่่าจะดูจากการเ่ปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไรบ้าง (Progress Marker) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ได้มาจากหนุนเสริมอย่างไรบ้าง (Strategy map) ....

ยังมีอีก 2 - 3 ขั้นตอนค่ะ แต่ให้เขียนบรรยายได้ยาวแค่ไหนก็ไม่เท่ามาทดลองทำเองนะคะ ปีหน้า สคส. มีอบรม Outcome Mapping อยากเชิญชวนให้มาเจอหน้าเจอตากันใน workshop ดีำไหมค่ะ เรี่ยนรู้กันไป 3 วัน (24 - 26 ก.พ. 53 คอร์ส การวางแผนเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน)

อ้อม สคส.

ขอบคุณครับ สนใจอยากเข้าร่วม เอาไว้ใกล้ๆ ติดตามข่าวอีกที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท