สรุปงานวิจัยเรื่องที่ 6


วิจัยการตัดสินใจของผู้บริหาร

เรื่อง  การตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต  2

ผู้จัดทำ     สมปอง  พิริยนนทกุล

จัดทำเมื่อ  กุมภาพันธ์  2551

ความมุ่งหมายของการวิจัย

  1.  เพื่อศึกษาการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต 2
  2. เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2  จำแนกตามเพศ  ประสบการณ์ ในการบริหารงาน  และขนาดของโรงเรียน

ประโยชน์ของการวิจัย

      เพื่อนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงลักษณะการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนและเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในโอกาสต่อไป

คำถามในการวิจัย

  1.  การตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต 2 โดยรวมและรายด้านเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมตัดสินใจอยู่ในระดับใด
  2. การตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2  จำแนกตามเพศ  ประสบการณ์ และขนาดของโรงเรียน  แตกต่างกันหรือไม่

สมมติฐานการวิจัย

       การตัดสินในของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2  จำแนกตามเพศ  ประสบการณ์  และขนาดของโรงเรียน  แตกต่างกัน

กรอบความคิดในการวิจัย

      การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  มุ่งศึกษาการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต  2  โดยผู้ศึกษากำหนดใช้รูปแบบ  วรูม  และเยตตอน  (Vroom & Yetto,p. 156)  และกำหนด  เพศ ประสบการณ์  ของผู้บริหารโรงเรียน  และขนาดของโรงเรียน  เป็นตัวแปรอิสระในการศึกษาครั้งนี้ 

ขอบเขตของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้  ดังนี้

  1.  ขอบเขตของเนื้อหา

การศึกษาครั้งนี้  มุ่งศึกษาแบบการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามพฤติกรรมซึ่งผู้วิจัยปรับปรุงและประยุกต์มาจาก  วรูม  และเยตตอน  (Vroom & Yetto,p. 156)  โดยปรับเป็นลักษณะในการตัดสินใจ  5  ลักษณะ

                แบบที่  1  ผู้บริหารตัดสินใจเองตามลำพัง

                แบบที่  2  ให้ครูมีส่วนร่วมตัดสินใจบ้างเล็กน้อย

                แบบที่  3  ให้ครูมีส่วนร่วมตัดสินใจบางครั้ง

                แบบที่  4  ให้ครูมีส่วนร่วมตัดสินใจเกือบทุกครั้ง

                แบบที่  4  ให้ครูมีส่วนร่วมตัดสินใจด้วยทุกครั้ง

  1.  กลุ่มประชากร

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  คือผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต 2  รวม  123  คน  แบ่งเป็นผู้บริหารเพศชาย  จำนวน  100  คน ผู้บริหารเพศหญิง  จำนวน  23  คน

  1.  ตัวแปรที่ศึกษา

3.1   ตัวแปรต้น  ได้แก่

3.1.1   เพศ  ได้แก่

3.1.1.1   ชาย

3.1.1.2   หญิง

3.1.2      ประสบการณ์ในการบริหารงาน  ได้แก่

3.1.2.1   ประสบการณ์ น้อย  ต่ำกว่า

3.1.2.2   ประสบการณ์มาก  เท่ากับหรือมากกว่า  10  ปี

3.1.3      ขนาดโรงเรียน

3.1.3.1   เล็ก  นักเรียนต่ำกว่า  120  คน

3.1.3.2   กลาง  นักเรียน  212 -300  คน

3.1.3.3   ใหญ่  นักเรียน  301  คน  ขึ้นไป

3.2   ตัวแปรตาม  ได้แก่  การตัดสินใจการบริหารโรงเรียน  ทั้ง   4  งาน  ประกอบด้วย

3.2.1  งานวิชาการ

3.2.2  งานบริหารงานบุคลากร

3.2.3  งานบริหารงบประมาณ

3.2.4  งานบริหารทั่วไป

วิธีการดำเนินการวิจัย

ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน  ต่อไปนี้

  1.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  3. การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
  4. การเก็บรวบรวมข้อมูลและการจัดกระทำข้อมูล
  5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

  1.  ประชากร  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  ผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต  2  ในปีการศึกษา  2550  จำนวน  123  โรงเรียน  ผู้บริหาร  จำนวน  123  คน  ผู้บริหารเพศชาย  จำนวน  100  คน  ผู้บริหารเพศหญิง  จำนวน  23  คน
  2. กลุ่มตัวอย่าง  ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2  ปีการศึกษา  2550  โดยกำหนดเพศของผู้บริหารในการสุ่ม  งานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ผู้บริหารที่เป็นเพศหญิงในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต 2  ทั้งหมด  เป็นกลุ่มตัวอย่าง  รวม  23  คน   ส่วนผู้บริหารเพศชายใช้การสุ่มตัวอย่างตามรายอำเภอ  อีก 69  คน  ได้กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  92  คน

เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

ข้อมูลที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยในครั้งนี้  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการตัดสินใจของผุ้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต  2  คือ

ส่วนที่ 1  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต  2    โดยใช้แบบสำรวจ  (Cheek  List)  ประกอบด้วยหัวข้อที่ต้องตอบ  คือ เพศ  ประสบการณ์การทำงาน  และขนาดโรงเรียน

ส่วนที่ 2  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการตัดสินใจที่ผู้บริหารใช้ในการบริหารโรงเรียน  ซึ่งมี  4  งาน  คืองานวิชาการ  งานบริหารงบประมาณ  งานบริหารบุคคล  งานบริหารทั่วไป  เป็นลักษณะแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ (Rating  Scale)   โดยเรียงลำดับคะแนนจากมากที่สุด  มาก  ปานกลาง  น้อย  และน้อยที่สุด  ตามลำดับ

สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  SPSS  for  Windows  โดยเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับความมุ่งหมาย  และสมมุติฐานในการวิจัย  ดังนี้

  1.  ในการศึกษา  การตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต  2 สถิติที่ใช้  คือ ( )  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
  2. การทดสอบสมมุติฐานที่ว่า  การตัดสินใจของผู้บริหาร  จำแนกตามเพศ  และประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียน  สถิติที่ใช้คือ  การทดสอบค่าที (t-Test)  ขนาดโรงเรียน  เล็ก  กลาง  ใหญ่  ใช้การทดสอบ  ANOVA (One-Way  ANOVA)

สรุปผลการวิจัย

  1.  การตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต 2  โดยรวมการตัดสินใจอยู่ที่ค่าเฉลี่ย  4.18  คือให้ครูมีส่วนร่วมตัดสินใจเกือบทุกครั้ง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยให้ครูมีส่วนร่วมการตัดสินใจเกือบทุกครั้งทุกด้าน
  2. ผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต 2  จำแนกตามเพศ   พบว่าผู้บริหารที่มีเพศต่างกันมีการตัดสินใจโดยรวมและรายด้านทุกด้านต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
  3. ผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต 2  จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน  พบว่า  ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน  มีการตัดสินใจโดยรวมและรายด้านทุกด้าน  แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ
  4. ผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี  เขต 2   จำแนกตามขนาดโรงเรียน  พบว่า  โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  ในด้านบริหารวิชาการวิชาการและด้านบริหารงานทั่วไป  ผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลางจะมีการตัดสินใจที่เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมสูงกว่าผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  (p<.05)
คำสำคัญ (Tags): #สรุปงานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 321895เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2009 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท