สรุปงานวิจัยเรื่องที่ 7


ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับแรงจูงใจ

เรื่อง  ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 1

ผู้จัดทำ   อุบล  สุวรรณศรี

จัดทำเมื่อ  มิถุนายน  2549

ความมุ่งหมายของการวิจัย

  1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1
  2. เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1
  3. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  ตามความเห็นของครู  จำแนกตามเพศ  วุฒิการศึกษา  และเขตอำเภอที่ตั้ง
  4. เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  ตามความเห็นของครู  จำแนกตามเพศ  วุฒิการศึกษา  และเขตอำเภอที่ตั้ง
  5. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี

ความสำคัญของการวิจัย

  1. ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจะได้ทราบและหาแนวทางในการปรับปรุงพฤติกรรมผู้นำและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  2. สามารถนำผลการวิจัยเสนอสำนักงานเตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  เพื่อหาวิธีการเสริมสร้างพฤติกรรมผู้นำแก่ผู้บริหารโรงเรียนให้เหมาะสม  ซึ่งจะเป็นประโยชน์และเอื้ออำนวยต่อการบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพทั้งในระดับเขต  ระดับจังหวัดชลบุรี  โดยส่วนรวมต่อไป

คำถามของการวิจัย

  1. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  ตามความเห็นของครู  จำแนกตามเพศ  วุฒิการศึกษา  และเขตอำเภอที่ตั้ง  อยู่ในระดับใด
  2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  ตามความเห็นของครู  จำแนกตามเพศ  วุฒิการศึกษา  และเขตอำเภอที่ตั้ง  อยู่ในระดับใด
  3. เปรียบเทียบพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  ตามความเห็นของครู  จำแนกตามเพศ  วุฒิการศึกษา  และเขตอำเภอที่ตั้ง  แตกต่างกันหรือไม่
  4. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  ตามความเห็นของครู  จำแนกตามเพศ  วุฒิการศึกษา  และเขตอำเภอที่ตั้ง  แตกต่างกันหรือไม่
  5. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 1 มีความสัมพันธ์กันหรือไม่

สมมติฐานของการวิจัย

  1. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  ตามความเห็นของครู  จำแนกตามเพศ  วุฒิการศึกษา  และเขตอำเภอที่ตั้ง  แตกต่างกัน
  2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  ตามความเห็นของครู  จำแนกตามเพศ  วุฒิการศึกษา  และเขตอำเภอที่ตั้ง  แตกต่างกัน
  3. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  มีความสัมพันธ์กันทางบวก

ขอบเขตของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ มีขอบเขต  ดังนี้

  1. ของเขตของประชากร

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 1 ดังนี้

         ประชากร  ได้แก่  ครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 1  รวม 3  อำเภอ  ได้แก่  อำเภอเมือง  อำเภอบ้านบึง  อำเภอหนองใหญ่

          กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  ครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 1  ในปีพ.ศ. 2549  แบ่งตามอำเภอเมือง  จำนวน  195  คน อำเภอบ้านบึง  จำนวน  107  คน   อำเภอหนองใหญ่  จำนวน  20  คน  โดยใช้ตารางเครจซี่  และมอร์แกน  โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น  ตามเขตอำเภอ  ได้กลุ่มตัวอย่างครูจำนวน  322  คน

  1. ขอบเขตของตัวแปร  ตัวแปรที่ศึกษาครั้งนี้  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม  คือ

 ตัวแปรต้น  ประกอบด้วย

        เพศ

       วุฒิการศึกษา

       เขตอำเภอที่ตั้ง

 ตัวแปรตาม  ประกอบด้วย

      พฤติกรรมผู้นำตามแนวคิดและทฤษฎี  ของริทชี่  และทอมสัน ประกอบด้วย

              แบบมุ่งสัมพันธ์

              แบบมุ่งงาน

     แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูตามทฤษฎี  ของเฮอร์สเบอร์ก  ประกอบด้วย

           ความสำเร็จของงาน

           ความยอมรับนับถือ

           ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ

           ความรับผิดชอบ

           ความก้าวหน้าในการทำงาน

กรอบความคิดในการวิจัย

          การศึกษาครั้งนี้  ผู้วิจัยมุ่งศึกษาพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 1 โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีของของริทชี่  และทอมสัน ได้ศึกษาพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์(People Orientation)และแบบมุ่งงาน(Task  Orientation)  และการปฏิบัติงานตามแนวคิดของเฮอร์สเบอร์ก  ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ปัจจัยจูงใจ  ซึ่งประกอบด้วย  5  องค์ประกอบ  จำแนกตามเพศ  วุฒิการศึกษา  และเขตอำเภอที่ตั้ง  จากแนวคิดดังกล่าวจึงได้สรุปกรอบความคิดในการศึกษา

วิธีการดำเนินการวิจัย

         การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 1  ซึ่งมีรายละเอียดในการดำเนินการ  ดังนี้

 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล

วิธีการเก็บข้อมูล

การจัดกระทำข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษากับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  ดังนี้

  1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  ครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 1  ในปีพ.ศ. 2549   รวมทั้งหมด  99  โรงเรียน  3  อำเภอ  ได้แก่อำเภอเมือง  ครูจำนวน  1219  คน อำเภอบ้านบึง  ครูจำนวน  667  คน   อำเภอหนองใหญ่  ครูจำนวน  126  คน  รวมทั้งหมดครูจำนวน  2012  คน
  2. กลุ่มตัวอย่าง  โดยใช้ตารางคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง   ของเครจซี่  และมอร์แกน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น  ตามอำเภอ  ได้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นครูผู้สอนปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 ได้กลุ่มตัวอย่างครูจำนวน  322  คน

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอน  คือ

                ตอนที่ 1  แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะของครูโรงเรียนประถมศึกษา  ประกอบด้วย เพศ  วุฒิการศึกษา  และอำเภอที่ตั้ง  ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ

ตอนที่ 2  แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน  เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน  โดยมุ่งวัดพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน  ในด้านการบริหาร  ตามแนวคิดของริทชี่และทอมสัน  ซึ่งได้ศึกษาพฤติกรรมแบบมุ่งสัมพันธ์และภาวะผู้นำแบบมุ่งงาน

ตอนที่  3  แบบสอบถามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโดยได้ถามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน  5  ด้าน  คือ  ด้านความสำเร็จของงาน  ความยอมรับนับถือ  ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ   ความรับผิดชอบ  ความก้าวหน้าในการทำงาน  ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษามาจากแนวคิดและทฤษฎี  ของเฮอร์สเบอร์ก   มาเป็นแนวทางสร้างแบบสอบถาม  สำหรับใช้วัดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  โดยเรียงจาก  มากที่สุด  มาก  ปานกลาง  น้อย  และน้อยที่สุด  แบ่งเป็น 5 ด้าน  ดังนี้  คือ

                ด้านความสำเร็จของงาน

                ด้านความยอมรับนับถือ 

                ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ   

                ด้านความรับผิดชอบ

                ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน 

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

  1. วิเคราะห์ข้อมูลระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารโรงเรียน กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  โดยหาคะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD)
  2. เปรียบเทียบระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  จำแนกตามเพศ  วุฒิการศึกษา โดยทดสอบค่าที (t- test)
  3. เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  จำแนกตามเขตที่ตั้ง  โดยใช้การทดสอบด้วยความแปรปรวนทางเดียว  (One-way ANOVA)เมื่อพบความแตกต่างวิเคราะห์เป็นรายคู่ด้วยวิธี  LSD
  4. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  จำแนกตามเขตที่ตั้ง  โดยใช้การวิเคราะห์แบบสหสัมพันธ์อย่างง่าย  (Simple  Correlation)

สรุปผลการวิจัย

พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1  มีพฤติกรรมแบบมุ่งสัมพันธ์และภาวะผู้นำแบบมุ่งงานอยู่ในระดับปานกลางเมื่อจำแนกตามเพศ  วุฒิการศึกษา  และเขตอำเภอที่ตั้ง  การบริหารของผู้บริหารที่ต่างกัน  มีพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) ระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน    จำแนกตามเพศ   วุฒิการศึกษา   และเขตที่ตั้ง   แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี  เขต 1 ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ (Tags): #สรุปงานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 321898เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2009 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 03:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท