กฤษณะ ระวิโรจน์
ว่าที่ร้อยตรี กฤษณะ อ๊อฟ ระวิโรจน์

โครงการจรวดขวดนำ


บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ 

         การวิจัยเกี่ยวกับ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การแข่งขันจรวดขวดน้ำเป็นที่แพร่หลายในวงการวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้มีการจัดการแข่งขันในหลายโรงเรียนทั้งระดับภาค ถึงระดับประเทศผู้จัดทำโครงการเล็งเห็นความสำคัญในการจัดโครงการนี้ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์มากมายในด้านนักเรียนและการสอนของครูและเพื่อเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องทุกปี

ก.  ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อ – สกุล ผู้จัดทำโครงการ  ว่าที่ร้อยตรีกฤษณะ  ระวิโรจน์

ชื่อโครงการ                          โครงการแข่งขันจรวดขวดน้ำในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ในวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด

ปีที่ทำการรายงาน               2551

ข.                  ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาของการประเมิน 

 

วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ 

1.เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ตามโครงการแข่งขันจรวดขวดน้ำในการทำงานเป็นกลุ่ม  ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

2.เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3.เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ขอบเขตการประเมิน

                นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์  ร้อยเอ็ด  

นักเรียนที่เรียนสาระเพิ่มโครงงานวิทยาศาสตร์

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน 

  1. 1.              แบบสอบถาม 
  2. 2.              ภาพถ่ายกิจกรรม

 

 

 

 

บทที่

เอกสารและงานที่เกี่ยวข้องการจัดแข่งขัน 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง 

  1. หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ หลักสูตรแกนกลาง สสวท.
  2. การสอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

5.        เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแผนการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์

                                6.          WWW.google.com

จรวดขวดน้ำ

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อนี้มานาน  จรวดขวดน้ำเป็นที่นิยมในหมู่นักประดิษฐ์ และ รักการทดลองพัฒนา โดยมีการพัฒนากันมาหลายรูปแบบ ซึ่งในปัจจุบันได้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายใน วงการการศึกษา เกิดเป็นชมรมจรวดขวดน้ำ ในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ จนทำให้เกิดการแข่งขันระดับประเทศถึง 6 ครั้งด้วยกัน
             จรวดขวดน้ำ (PET) คือ จรวดที่สร้างจากขวดพลาสติกน้ำอัดลม ใช้แรงขับเคลื่อนด้วยน้ำหรือแป้งโดยอาศัยแรงดันของอากาศที่บรรจุอยู่ภายใน สำหรับในประเทศไทย การแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ ได้มีการจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี 2546 โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) “การแข่งจรวดขวดน้ำ” นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน ง่ายที่เยาวชนจะให้ความสนใจแล้ว ยังควบคู่ไปด้วยสาระความรู้ในกระบวนการวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมพัฒนาให้เด็กได้ใช้ความรู้และจินตนาการอย่างดี และยังมีบุคคล นักเรียน นักศึกษาให้ความสนใจในกิจกรรมนี้มากขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม นอกจากการแข่งขันระดับประเทศของไทยแล้ว จรวดขวดน้ำยังเป็นที่นิยมในหลายๆ ประเทศ อย่าง Water Rocket Challenge ในประเทศอังกฤษ Adventures in Science and Technology - The Great Cross - Canada Water Rocket Challenge ที่แคนาดา Japanese Water Rocket Contest ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเยาวชนไทยนั้นก็มีความสามารถไปประชันฝีมือในเวทีระดับชาติมาแล้วเช่นกัน

                การประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ

อุปกรณ์ที่ใช้ 

                1. ขวดน้ำอัดลมพลาสติก 2 ขวด                 

                2. มีดคัตเตอร์

                3. กรรไกร

                4. เทปกาวแบบบาง

                5. กระดาษ หรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดสำหรับตกแต่ง

วิธีประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ

                1. เตรียมขวดน้ำอัดลม 2 ขวด

                                   

                                    

                2. ใช้มีดคัตเตอร์ตัดขวดใบที่ 1 ตามภาพจะได้หัวจรวด และส่วนรองท้ายจรวด

ส่วนรองท้ายจรวด

หัวจรวด

 

 

 

                                            

 

                3. ตัดแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด ตามลักษณะที่ต้องการเพื่อติดเป็นครีบด้านข้างจรวด

                       

                4. นำส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ตั้งแต่ ข้อ1 –  ข้อ3 ไปติดเข้ากับขวดใบที่ 2 และพันด้วยเทปกาว ดังรูป

                             

 

หลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ 

 

                การพุ่งขึ้นของจรวดขวดน้ำอาศัยกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ข้อที่3 ที่กล่าวไว้ว่า “ แรงกริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา แต่มีทิศทางตรงกันข้าม “

                เมื่อเราเติมน้ำ และอัดอากาศเข้าไปในขวด  อากาศที่ถูกอัดอยู่ภายในจรวดขวดน้ำ จะทำหน้าที่เหมือนเป็นสปริงที่จะดันให้จรวดลอยสูงขึ้นไป และดันน้ำให้พุ่งออกทางปากขวด  การที่เราเติมน้ำลงไปในจรวดขวดน้ำทั้งๆที่ดูเหมือนว่าเราอาศัยเพียงแรงผลักของอากาศทำให้จรวดขวดน้ำพุ่งขึ้นไปได้ เป็นเพราะในขณะที่อากาศผลักให้จรวดขวดน้ำพุ่งขึ้นไป จรวดขวดน้ำก็จะผลักให้อากาศพุ่งถอยหลังไปเช่นกัน (ตามกฎข้อที่ 3 ของนิวตัน)แต่มวลของจรวดมีมากกว่ามวลของอากาศมาก ทำให้อากาศมีความเร่งมากกว่าความเร่งมากกว่าจรวดมาก (พิจารณาตามกฎข้อที่ 2 ของนิวตัน) ทำให้อากาศพุ่งออกไปจากจรวดขวดน้ำหมดก่อนที่จรวดขวดน้ำจะพุ่งขึ้นไปได้สูง น้ำที่เราเติมลงไปนั้น จะช่วยชะลอเวลาที่อากาศใช้ในการพุ่งออกจากจรวดขวดน้ำ เพราะจรวดขวดน้ำต้องผลักให้น้ำภายในจรวดขวดน้ำพุ่งออกไปด้วย ทำให้ความเร็วของจรวดสูงกว่าตอนที่ไม่ได้เติมน้ำลงไปในจรวดขวดน้ำนี้

                แต่ปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้แรงผลักของอากาศลดลง และความดันภายในจรวดก็จะลดลงรวดเร็วมากขึ้น ดังนั้น เราต้องมีอัตราส่วนของการเติมน้ำอย่างเหมาะสม เพื่อทำให้จรวดขวดน้ำพุ่งออกไปได้ไกลที่สุด

 

 

 

 

 

บทที่ 3

วิธีดำเนินการประเมินโครงการ 

การวิเคราะห์เจตคติการำงานกลุ่ม ครั้งนี้ได้มุ่งเน้นการทำกิจกรรมต่างๆในกลุ่มการมีส่วนร่วมโดยจะกล่าวถึง 

ขั้นตอน การดำเนินการวิจัย ตามลำดับดังนี้

  1. ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
  2. เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล
  3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
  4. วิเคราะห์ข้อมูล
  5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ลำดับขั้นตอนการประเมิน มีวิธีการตามขั้นตอนดังนี้ 

1.ศึกษาทฤษฎีการประเมิน  หลักการ  วิธีการต่างๆ

2. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน

3. เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง

4. วิเคราะห์ข้อมูล

5. จัดทำรูปเล่มรายงาน

ประชากรโครงการ 

  1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1          ประชากร หมายถึง  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและปลายโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด   จังหวัด  ร้อยเอ็ด

1.2                              กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด  ที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขันจรวดขวดน้ำ   รวมจำนวนนักเรียน 59  คน  จังหวัด  ร้อยเอ็ด  ภาคเรียนที่ 1   ปีการศึกษา 2551

  1. เครื่องมือวัดเป็นแบบสอบถามซึ่งกลุ่มตัวอย่างจะได้ทำการถูกประเมินจาก การเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันจรวดขวดน้ำ

 

 

 

 

 

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล 

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มี  1 ชนิดคือ

1.แบบสอบถามความคิดเห็นของการจัดโครงการแข่งขันจรวดขวดน้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย

วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 

                                 ผู้จัดทำโครงการจึงนำแบบสอบถามกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย ที่เข้าร่วมแข่งขันจรวดขวดน้ำโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด  วันที่ 22 สิงหาคม 2551

                ขั้นที่ 2  แจกแบบประเมินเจตคติการทำงานกลุ่ม  ให้กลุ่มตัวอย่าง 17 คน หลังจากทำกิจกรรม โดยให้เพื่อนเป็นผู้ประเมิน สมาชิกในกลุ่ม ทั้งหมด 17 ฉบับ

การวิเคราะห์ข้อมูล 

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 

  1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่

1.1                               ร้อยละ  (perentage)

ใช้สูตรของบุญชม  ศรีสะอาด

ค่าร้อยละของรายการใด  =   ความถี่ของรายการนั้น   × 100

                                              ความถี่ทั้งหมด

                                           1.2  ค่าเฉลี่ย 

                  สูตร              12X'>     

                เมื่อ                        แทน  ตัวกลางเลขคณิต

                                    ∑X     แทน  ผลรวมทั้งหมดของคะแนน

                                       n          แทน  จำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

1.3       ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD

                                      ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                  สูตร          S.D.        

                   เมื่อ           X         แทน  ตัวกลางเลขคณิตของกลุ่มตัวอย่าง

                                  n           แทน  จำนวนข้อมูลทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง

 

 

สำหรับคำถามตามมาตราส่วนประเมินค่า ( Rating  Scale) ได้มีการกำหนดค่าคะแนนและความหมายตามวิธี  ลิเคอธ์ท ( Likert) ดังนี้

 ระดับความเหมาะสมแบ่งออกเป็น   5  ระดับ

  5   หมายถึง   มากที่สุด

  4   หมายถึง    มาก 

  3   หมายถึง    ปานกลาง

  2  หมายถึง   น้อย 

 1 หมายถึง    น้อยที่สุด 

  พร้อมทำการวิเคราะห์ ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ( 12X'> ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

การแปรค่าเฉลี่ยคะแนน ได้กำหนดความหมาย ของคะแนนเฉลี่ยแต่ละช่วง ลำดับดังนี้

ค่าเฉลี่ย ระหว่าง 4.51  - 5.00    หมายถึง    มากที่สุด 

ค่าเฉลี่ย ระหว่าง 3.51 – 4.50    หมายถึง     มาก

ค่าเฉลี่ย ระหว่าง 2.51 – 3.50    หมายถึง    ปานกลาง

ค่าเฉลี่ย ระหว่าง 1.51 – 2.50    หมายถึง     ควรปรับปรุง

ค่าเฉลี่ย ระหว่าง 1.00 – 1.51    หมายถึง     ควรปรับปรุงอย่างมาก

 

 

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การประเมินผลการวิเคราะห์ ข้อมูล โครงการแข่งขันจรวดขวดน้ำ

  1. ผลวิเคราะห์เกี่ยวกับ ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันจรวดขวดน้ำโดยการสุ่ม 17 คน

จากผู้เข้าร่วมแข่งขัน 23 ทีม ทีมละ 3  คน  รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรม 69 คน

ตอนที่ 1  ผล การวิเคราะห์ ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย  โดยใช้สถิติ ข้อมูลดังนี้  ชั้น ม.ต้น

ตารางแสดงค่า มัชฌิมเลขคณิต

ข้อที่

ข้อความ

12X'>

S.D.

ความหมาย

1

ระยะเวลาในการจัด

4.58

0.56

มาก

2

สถานที่ในการจัด

4.35

0.77

มาก

3

การมีส่วนร่วมของนักเรียน

4.94

0.26

มากที่สุด

4

ก่อให้เกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์

4.82

0.42

มากที่สุด

5

กิจกรรมที่สร้างสรรค์

4.94

0.26

มากที่สุด

6

อยากมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

4.64

0.54

มากที่สุด

7

พอใจที่เข้าร่วมกิจกรรม

4.58

0.66

มากที่สุด

8

สร้างความสามัคคีในการทำงาน

4.94

0.26

มาก

 

 

 

 

 

จากตาราง เมื่อพิจารณาโดยรวมพบว่ากลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามความคิดเห็นในการเข้าร่วมกิจกรรมถ้าพิจารณาเป็นรายข้อตามลำดับค่ามัชฌิมา เลขคณิตพบว่า

1.ข้อ 5 เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์                                   ( 12X'> = 4.94)           มากที่สุด

2.ข้อ 3 การมีส่วนร่วมของนักเรียน                              ( 12X'> = 4.94)            มากที่สุด

3. ข้อ 8 สร้างความสามัคคีในการทำงาน                      ( 12X'> = 4.94)            มากที่สุด 

4. ข้อ 4 ก่อให้เกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์                      ( 12X'> = 4.82)          มากที่สุด

5.ข้อ 6 อยากมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง                             ( 12X'> =4.64)             มาก ที่สุด

6. ข้อ 7 พอใจที่เข้าร่วมกิจกรรม                                 ( 12X'> = 4.58)            มากที่สุด

7.ข้อ 1 ระยะเวลา                                                    ( 12X'> = 4.58)             มากที่สุด

8. ข้อ 2 สถานที่                                                                      ( 12X'> = 4.35)              มาก

  บทที่ 5

สรุปผลการประเมิน อภิปรายและข้อเสนอแนะ

   สรุปผลการประเมินโครงการแข่งขันจรวดขวดน้ำ

กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม คือนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์  ร้อยเอ็ด  ระดับชั้นม.ต้น ทั้ง ชายและหญิง  23 คน ที่เข้าร่วมแข่งขัน

โดยรวม เรียงตามค่ามัชฌิมาเลขคณิต

 

ถ้าพิจารณาเป็นรายข้อตามลำดับค่ามัชฌิมา เลขคณิตพบว่า

1.เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์                              

2. การมีส่วนร่วมของนักเรียน                                          

3.  สร้างความสามัคคีในการทำงาน                              

4.  ก่อให้เกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์                              

5.อยากมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง                      

6. พอใจที่เข้าร่วมกิจกรรม                                              

7.ระยะเวลา                                                                  

8.  สถานที่                                                                

 

 

แสดงว่านักเรียนเข้าร่วมโครงการก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีส่วนร่วมและเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ในระดับมากที่สุดเท่ากัน ก่อให้เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อยากให้มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  รองลงมา  พอใจเข้าร่วมกิจกรรม ระยะเวลาเหมาะสม แต่ต้องเพิ่มเติม  สถานที่ในการแข่งขัน

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. สร้างสรรค์กิจกรรมเวลาว่างนักเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  2. สามารถนำข้อมูลไปพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
  3. ช่วยแก้ปัญหาการทำงานเป็นหมู่คณะที่มีความคิดเห็นต่างๆกันให้ดีขึ้น
  4. ก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านการเรียนวิทยาศาสตร์

ข้อเสนอแนะของผู้ประเมิน

อยากให้มีการจัดกิจกรรมนี้อีกและนักเรียนมีคามสนุกสนานมากและอยากทำฐานยิงเอง

 

 

 

 

รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

และวิจัย

 

 กิจกรรมส่งเสริมเรียนรู้  การแข่งขันจรวดขวดน้ำ

วิชาสาระเพิ่ม โครงงานวิทยาศาสตร์   ห้อง ม.2

 

 

โดย

ว่าที่ร้อยตรีกฤษณะ ระวิโรจน์

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์

 

 

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด

 สำนักเขตพื้นที่การศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 1

กระทรวงศึกษาธิการ

 

 

กิตติกรรมประกาศ

ในการจัดการเรียนการสอนจะต้องจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สิ่งสำคัญรายงานการวิจัยฉบับนี้ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ ฝ่ายบริหารวิชาการที่คอยสนับสนุน ขอขอบคุณคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และครูที่ปรึกษางานวิจัยครูชำนาญการพิเศษ ครู สุรางค์ ซ้ายสนาม และขาดมิได้คือผู้อำนวยการสถานศึกษา นายชัชวาล  พืชสิงห์ ที่ได้ให้การสนับสนุน และ นักเรียน โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนรินทร์ ร้อยเอ็ด

จึงขอขอบพระคุณทุกท่านที่อ้างถึงมา ณ ที่นี้

 

                                                                        ว่าที่ร.ต.กฤษณะ ระวิโรจน์

                                                                              ผู้วิจัยและรายงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำนำ

 

                รายงานโครงการฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ให้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมแข่งขันจรวดขวดน้ำเพื่อให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำงานกลุ่ม นำผลการวิจัยไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและปรับปรุงกิจกรรมให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ข้อมูลจากนักเรียนในชั้นเรียนระดับม. 2 ที่นำไปใช้เป็นแนวทางในการค้นคว้า  การศึกษา  การจัดทำโครงการครั้งต่อไป เพื่อให้โครงการที่จะทำครั้งต่อไปมีคุณภาพยิ่งขึ้น

                หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้คงเป็นประโยชน์และแนวทางแก่ผู้สนใจบ้างไม่มากก็น้อย

 

 

 

                                                                                 ผู้รายงาน

                                                                   ว่าที่ร้อยตรีกฤษณะ  ระวิโรจน์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

             เรื่อง                                                                                   หน้า

บทที่ 1  บทนำ

ความเป็นมา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

ขอบเขตการวิจัย

ประโยชน์ที่จะได้รับ

นิยามศัพท์เฉพาะ

บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและสาระสำคัญของการวิจัย

แนวคิดที่เกี่ยวข้อง

สาระสำคัญของการวิจัย

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการประเมิน ผลการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 5 สรุปผลการประเมิน  อภิปรายและข้อเสนอแนะ

  บรรณานุกรม

  ภาคผนวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

                  http : //www.nsm.or.th/data/wr-mgking.pdf
                   http : //www.nsm.or.th/data/wr-newton-law.pdf

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายชื่อทีมนักเรียนที่ส่งจรวดเข้าร่วมกิจกรรม

ม.ต้น

  1. ทีม COKE

สมาชิก 1. ด.ช.พงศกร โสภา      ม. 1/4

            2. ด.ช.พงพัฒน์    สนแก้ว     ม.  1/4

            3.ด.ช.ประชา   ศรีทัศน์         ม. 1/4

  1. ทีมเด็กดี

สมาชิก 1. ด.ช.คณิต    ทุมสิทธิ์                ม. 2/4

            2. ด.ช.จาตุรนค์   เชิดพานิชย์       ม.  2/4

            3.  ด.ช.คฑาเทพ   กล้าจิต            ม. 2/4

  1. ทีม top

สมาชิก 1. ด.ช.ฐกฤฐ์         ม. 2/2

            2. ด.ญ.ศิวพร        ม.  2/2

            3.ด.ญ.กรรทิมา      ม. 2/2

  1. ทีม เด็กม. 1

สมาชิก 1. ด.ช.ภัทธภณ    ชมศิริ        ม. 1

            2. ด.ช.นำชัย  คำภิรมย์           ม.  1

            3.ด.ช พีรวัฒน์   วงศ์ดี            ม. 1

  1. ทีมไทบ้าน

สมาชิก 1. ด.ช.นัฐพล    หัศจรรย์     ม. 2/3

            2. ด.ช.กิตติชัย     สาวิกัน      ม.  2/3

            3.ด.ช.อภิสิทธิ์     สุวรรณชะรา        ม. 2/3

  1. ทีมโคบา

สมาชิก 1. ด.ช.ธนากรณ์   ศิริมี            ม. 2/3

            2. ด.ญ.จิตราพร    อาษาจิตร    ม.  2/3

            3.ด.ญ.กิติยา       เชิงหอม         ม. 2/3

             4.ด.ช.พุฒิเมธ  สุดโสภณาดุลย์ ม. 2/4

  1. ทีมสนามแข่ง

สมาชิก 1. ด.ช.รัชพล  ศิริสาร              ม. 2/3

            2. ด.ช.ปัญญา   แสนจันทร์          ม.  2/3

            3.ด.ช.พงศ์ภูวิศ   คำสีหา              ม. 2/4

  1. ทีมเฉยๆ

สมาชิก 1. ด.ช.ไชยยา    คำทองทิพย์     ม. 2/3

            2. ด.ช.ธนพัฒน์    พันธุ             ม. 2/3

            3.ด.ช.สุธิภาส   ใสสานัง            ม. 2/3

  1. ทีมแผ่วปลาย

สมาชิก 1. ด.ช.นัฐวุฒิ   เพียรวิชา          ม. 1/1

            2. ด.ช.อดิเทพ  ศรีวรรณะ         ม.  1/1

            3.ด.ช.พบณรงค์   บุญฑล           ม. 1/2

  1. ทีมเด็กหอ

สมาชิก 1. ด.ช.อภิวัฒน์    จันทร์ศิริ        ม. 1/1

            2. ด.ช. เศรษฐโรจน์     เหวห้วย  ม.  1/2

            3.ด.ช.สุชาครีย์     อัตอามาตย์     ม.1/2

  1. ทีมไฟล์คลับ

สมาชิก 1. ด.ญ.สุพัตรา    พยัฆชน        ม. 3/1

            2. ด.ญ.สรินยา     ทดนาที         ม.  3/1

            3.ด.ญ.สุกันยา      ลาดนาเลา      ม. 3/1

  1. ทีมจรวดมังกร

สมาชิก 1. ด.ช.ณัฐพล  ผะดาการ            ม. 1

  1. ทีม SIX    ONE    NINE

สมาชิก 1. ด.ช.เอกพันธ์    รูปสะอาด       ม. 1 

            2. ด.ช.อนุเดช     ทองคำ              ม.  1

  1. ทีมจรวดจิ๋ว

สมาชิก 1. ด.ช.อดิศักดิ์   ทิพนัส          ม. 1/2

            2. ด.ช.เอกวิทย์    ฉวีเวช          ม.  1/2

            3.ด.ช.ปฏิภาณ      อรัญพูล        ม. 1/2

  1. ทีม Black Rose

สมาชิก 1. ด.ช.วิษณุ      ทารวัฒน์          ม. 1/2

            2. ด.ช.เนติพัทธ์    อินจินดา       ม.  1/2

  1. ทีมจวดจาดทีม

สมาชิก 1. ด.ช.ณัฐพร    คำน้อย                 ม. 1

            2. ด.ช.สรศักดิ์     เทียนโพธิ์            ม.  1

        &nb

คำสำคัญ (Tags): #ร้อยเอ็ด7
หมายเลขบันทึก: 322329เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณค่ะจะนำเอาไปให้นักเรียนทำบ้าง

เก่งมาก..สุดยอด..เป็นกำลังใจให้คุณครูประสบความสำเร็จนะคะ

เป็นกำลังใจให้พัฒนางานต่อไป..ขอให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหวังบนเส้นทางชีวิตครู..

พัฒนางานต่อไปให้ได้ไปญี่ปุ่นเหมือนจรวดกระดาษเด้อ

น่าส่งเสริมต่อยอดเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สมบูรณ์แบบ

คัยทำอ่ะ โครตเท่ห์

ขอเรียนแบบได้ไหม อิๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท