การบริหารสถานบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ


ความเป็นเลิศทางการศึกษาหัวใจอยู่ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด

ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษา

     ความเป็นเลิศทางการศึกษาหัวใจอยู่ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด

ในสภาพแวดล้อมของการดำเนินการสถาบันการศึกษา  ผู้บริหารย่อมมุ่งหวัง

สร้างความเป็นเลิศให้กับสถาบันการศึกษาของตน ผู้บริหารสถาบันการศึกษาแต่ละคน

มองความหมายของ “ความเป็นเลิศ” และกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่ความเป็นเลิศนี้แตกต่างกันไป

องค์ประกอบสำคัญของความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษา ได้แก่

๑. ความมีประสิทธิภาพทางด้านต้นทุน

การประกอบกิจกรรมต่างๆของสถาบันการศึกษานั้น ผู้บริหารจะต้องกระทำ

โดยตระหนักถึงความมีประสิทธิภาพทางด้านต้นทุนเป็นสำคัญแต่ไม่ได้หมายความว่า

สถาบันการศึกษาจะต้องพยายามลดต้นทุนให้อยู่ในระดับต่ำสุด แต่อย่างน้อยต้นทุนก็

ควรจะต่ำกว่าต้นทุนถัวเฉลี่ยของการจัดการศึกษาในระดับเดียวกัน

๒. การบริหารงานในลักษณะที่มองกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาเป็น

ภาพรวมผู้บริหารจะต้องเข้าใจความเกี่ยวเนื่องระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ต้นทุนที่เกิดขึ้น

ในหน่วยงานหนึ่งอาจได้รับผลกระทบมาจากการตัดสินใจจากหน่วยงานอื่น

๓. การให้ความสำคัญกับทุกกิจกรรมของสถาบันการศึกษา

ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับทุก ๆ ส่วนขององค์กร

ไม่เฉพาะกิจกรรมการเรียนการสอนเท่านั้น ทุกกิจกรรมมีความสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องให้

ความสนใจเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นกิจกรรรมเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา

งานหลักสูตรการเรียนการสอน บุคลากร อาคาร-สถานที่ ธุรการ-การเงิน และ

ความสัมพันธ์กับชุมชน ตลอดจนการให้คำปรึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาด้านต่างๆ ฯลฯ

๔. การพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ผู้บริหารเน้นการ

พัฒนากิจกรรมทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง โดยการให้ความสำคัญกับการบริหารกิจกรรมเพื่อ

ลดความสูญเปล่าหรือกิจกรรมที่ไม่เพิ่มค่าให้เหลือน้อยที่สุดหรือให้หมดไป

๕. ความพึงพอใจของนักเรียน นักศึกษา

ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าหลักสูตรและบริการ

อื่น ๆ ของสถาบันการศึกษาไม่สร้างความพอใจหรือไม่ตรงกับความต้องการของนักเรียน

นักศึกษา ดังนั้นสถาบันการศึกษาจะต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของ

นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประเมินผลความพอใจของนักศึกษาด้วยวิธีการต่าง ๆ

 

แนวทางการจัดองค์กรทางการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

ก. การปรับระบบต่างๆในโรงเรียนเพื่อการพัฒนา

๑. ปรับระบบการบริหารจัดการ เน้นกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม

๒. ปรับสภาพจิตใจครูและบุคลากร โดยการสร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ

ผลักดันคุณภาพ และจัดสวัสดิการ สิทธิผลประโยชน์เกื้อกูลให้ตามสมควรเพื่อเป็นการ

เสริมสร้างขวัญ กำลังใจ

๓. ปรับระบบการนิเทศและติดตามผล ในลักษณะ "กัลยาณมิตรนิเทศ" ซึ่งมี

การนิเทศโดยเพื่อนครู ฝ่ายวิชาการ และโดยผู้บริหาร เป็นต้น

๔. ปรับกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ในลักษณะ

"การจัดการความรู้" โดยจัดให้มีการศึกษาเรียนรู้ตามสภาพจริงทั้งในและนอก

ห้องเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ฝึกให้นักเรียนรู้จักสังเกต ตั้งคำถาม สืบค้นหาข้อมูล

จดบันทึกข้อมูล เล่าเรื่อง/ประสบการณ์ นำเสนอผลงาน และรู้จักประเมินตนเอง ฯลฯ

๕. ปรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลอย่างเต็ม

ศักยภาพ ซึ่งโรงเรียนอาจจัดให้มีกิจกรรมชมรม ชุมนุม ตามความถนัด ความสนใจของ

นักเรียน นักศึกษาและมีครูเป็นที่ปรึกษา

๖.ปรับระบบการแนะแนวการช่วยเหลือนักเรียน เน้นสร้างความร่วมมือระหว่างบ้าน กับ

โรงเรียนในการช่วยกันดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน การจัดกิจกรรม

แนะแนวอาชีพ/แนะแนวศึกษาต่อ การจัดกิจกรรมร่วมกันคิดไม่ให้(เด็กและเยาวชน)

ผิดซ้ำสอง ฯลฯ

๗.ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน โดยสำรวจ และขึ้นทะเบียนแหล่ง

เรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและขอความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

เช่น พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์ท่องเที่ยว ชุมชนผลิตสินค้า OTOP

เป็นต้น

๘.ปรับสัมพันธภาพระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและชุมชน โดยจัดกิจกรรมร่วมกันใน

ลักษณะ "เครือข่ายผู้ปกครอง" ร่วมกันเฝ้าระวัง ปกป้อง ช่วยเหลือ ดูแลไม่ให้นักเรียน

นักศึกษามีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไป

๙.ปรับระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยเน้นการวัดและประเมินตามสภาพ

จริง (Authentic Assessment) เช่น จาการสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์ และตรวจ

ผลงานนักเรียน นักศึกษาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

๑๐.ปรับกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศทางการศึกษา ในที่นี้มีกลยุทธ์สำคัญๆ ขอนำเสนอเป็น

แนวทาง ดังต่อไปนี้

- ผู้บริหารประสานใจ

- ทอสายใยสร้างความตระหนัก

- ชวนชักนิเทศเชิงมิตร

- ศิษย์เรียนรู้อย่างมีความสุข

- บุกเบิกกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์

- สืบสานการเรียนรู้อย่างมั่นคง

- ดำรงสัมพันธภาพที่ยืนยง

- มุ่งตรงประสิทธิภาพและประสิทธิผล

- พัฒนากลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

ข.แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบภายในโรงเรียนให้ประสบผลสำเร็จไปสู่ความเป็น

เลิศ

๑. ศึกษาวิเคราะห์

๒. มั่นเหมาะวางแผน

๓. แนบแน่นยุทธศาสตร์

๔. มีมาตรฐานเป้าหมาย

๕. หลากหลายสื่อ/นวัตกรรม

๖. น้อมนำปฏิบัติ

๗. แน่ชัดควบคุมติดตาม

๘. งดงามประเมินผล

๙. นำยลพัฒนาปรับปรุง

๑๐. รุ่งเรืองสร้างเครือข่าย

       หากผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ร่วมงานทุกฝ่ายในหน่วยงาน หรือ องค์กรได้

สร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และร่วมมือกันผลักดันคุณภาพการศึกษา เชื่อมั่นว่า

“การจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ” คงไม่ไกลเกินความเป็นจริงและความเป็นเลิศ

ดังกล่าวหัวใจอยู่ที่ “ผู้เรียนสำคัญที่สุด”

หมายเลขบันทึก: 322587เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2009 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

มุมมองนักบริหารเยี่ยมมาก

เป็นผู้บริหารที่เยี่ยมยอดวรยุทธ์ในอนาคต

เก่งคิด เก่งงาน ชีวิต

ก็ O.K.

สิบเอกสง่า ด่านวัฒนา

เหมาะสมมากที่จะเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ การศึกษายังมีความหวังนะครับ

เก่งทุกเรื่องเลยนะ ขอชม

การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ อาจต้องผ่านอุปสรรคที่จะต้องฝ่าฟันอย่าท้อแท้ ดังนั้น ใจของผู้บริหารจะต้องอดทนและยึดมั่นกับอุดมการณ์ ขอเป็นกำลังใจให้ครับผม

เก่งและพัฒนาตัวเองดีขึ้นมากเรียนรู้ระบบการบริหารการจัดการอย่างเป็นระบบอยากให้ผู้บริหารในโรงเรียนมีแนวปฏิบัติอย่างนี้บ้าง

อดิศักดิ์ สีการัง

เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์อย่างมากครับ เป็นวิธีการ หลักการ กิจกรรม ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เป็นมิตร เป็นเพื่อน ที่มีส่วนร่วมนำสู่ความเลิศอย่างภาคภูมิใจทุกส่วน เป็นภาษาเขียนที่อ่านแล้วเข้าใจจนมองเห็นเป็นภาพแห่งความสำเร็จ ครับ ขอบคุณมาก ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท