CBNA ฉบับที่ 44 :“เจ็ดข้อห่วงใยกับการพิจารณากฎหมายผู้รับงานไปทำที่บ้าน”


อย่าลืมว่าพวกท่านกำลังถูกจับตามองจากแรงงานนอกระบบ 21.8 ล้านคน และแรงงานในระบบอีก 13.7 ล้านคน ที่รอคอยการออกกฎหมายเพื่อการคุ้มครอง ปกป้องสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จากท่าน

ฉบับที่ 44 (12 ตุลาคม 2552)


“เจ็ดข้อห่วงใยกับการพิจารณากฎหมายผู้รับงานไปทำที่บ้าน”


บัณฑิต แป้นวิเศษ

มูลนิธิเพื่อนหญิง


 

นับจากประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาบริหารประเทศ การนำนโยบายประชานิยมยกกำลังสองที่มุ่งเน้นการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต สวัสดิการของภาคประชาชนให้เข้าถึงโอกาสการคุ้มครอง การเข้าถึงสิทธิ และการช่วยเหลือจากนโยบายของภาครัฐ ได้มีการขับเคลื่อนไปในทิศทางที่สร้างความหวังกับภาคประชาสังคมพอสมควร โดยเฉพาะความพยายามในการออกกฎหมาย การบูรณาการเชิงนโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคม

 

 

 

แรงงานนอกระบบเป็นกลุ่มประชากรเฉพาะอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ระยะหลังมานี้เริ่มถูกพูดถึงและให้ความสำคัญมากขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักด้านหนึ่งน่าจะมาจากสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจที่ทำให้สภาวะการลงทุนและการจ้างงานมีความไม่มั่นคงอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีการเลิกจ้าง การปรับระบบงานและการจ้างในรูปแบบที่ซับซ้อน เช่น มีการจ้างแรงงานนอกระบบและแรงงานข้ามชาติมากขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต

 

 

 

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานทั้งสิ้นประมาณ 50.4 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 35.5 ล้านคน แยกเป็นแรงงานในระบบ 13.7 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบ 21.8 ล้านคน โดยพบว่าแรงงานกลุ่มหลังนี้ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่รับงานมาทำที่บ้าน พบปัญหาหลายประการ คือ ได้รับค่าตอบแทนน้อย หรือทำงานแล้วไม่ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม มีชั่วโมงทำงานยาวนาน ไม่มีวันหยุดวันลาพักผ่อนที่แน่นอน ไม่ได้รับสวัสดิการ และที่สำคัญ คือ โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาแม้จะมีระบบการศึกษาแบบทางเลือกมากขึ้นก็ตาม

 

 

 

ในรอบหลายปีมานี้แรงงานนอกระบบที่เป็นผู้รับงานไปทำที่บ้านและองค์กรพัฒนาเอกชนได้ออกมาเรียกร้องรัฐบาล ให้เข้ามาใส่ใจกับการแก้ไขปัญหาการคุ้มครองแรงงานส่วนนี้อย่างจริงจัง  

 

 

 

สุจิน รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบกล่าวว่า “แรงงานนอกระบบต้องการให้มีกฎหมายออกมาคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน และครอบคลุมไปถึงสมาชิกในครอบครัวของผู้รับงานไปทำที่บ้านด้วย เพราะส่วนมากเมื่อรับงานไปทำที่บ้านแล้ว สมาชิกในครอบครัวก็จะช่วยกันทำงาน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตราย ในขณะเดียวกันการรับงานไปทำที่บ้านยังมีต้นทุน และค่าใช้จ่ายที่ผู้รับงานจะต้องแบกรับภาระสูงกว่าแรงงานในโรงงาน ดูได้จากงานที่ทำเหมือนกันชนิดเดียวกัน แต่แรงงานผู้รับงานไปทำที่บ้านต้องเสียค่าขนส่งเอง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เช่น ถ้าเย็บผ้า ก็ต้องเสียค่าเข็ม ค่าจักร ค่าอุปโภค บริโภคต่างๆ ผู้รับงานไปทำที่บ้านต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด โดยที่ผ่านมาแรงงานในส่วนนี้จะได้รับค่าจ้าง สวัสดิการจากการทำงานที่ไม่เป็นธรรมและไม่เท่าเทียมกับในระบบ”


 

 


อ่านต่อทั้งหมด click : 

http://gotoknow.org/file/ngaochan/CBNA_44.pdf

 

หมายเลขบันทึก: 322931เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2009 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท