นายร้อยเอก หลวงบวรบรรณรักษ์ กับพจนานุกรมภาษาสันสกฤต-ไทย เล่มแรก


พจนานุกรมเล่มนี้ นอกจากจะให้ความหมายคำศัพท์สันสกฤตแล้ว ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี เพราะมีการใช้คำศัพท์สำนวนเก่าในสมัยเมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา นักประพันธ์หรือผู้ที่ต้องการตั้งชื่อบุคคลแปลกๆ เก๋ๆ ก็ค้นหาจากหนังสือเล่มนี้ได้ นอกจากนี้แล้ว ยังมีเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศัพท์แต่ละคำ โดยเฉพาะวิสามานยนาม ตัวพวกชื่อตัวละครต่างๆ
เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมได้พจนานุกรมสันสกฤตมาเล่มหนึ่ง ดีอกดีใจ เพราะรูปเล่มสวยงาม น่าใช้ (หนาไปนิด) และที่สำคัญ เป็นพจนานุกรมภาษาสันสกฤต-ไทย เล่มแรกด้วย
พจนานุกรมเล่มนี้ไม่ใช่แค่แปลสันสกฤตเป็นไทย แต่แปลเป็นอังกฤษด้วย คือ พจนานุกรม 3 ภาษา (แต่ไม่มีการแปลกลับ)
ชื่อเต็มๆ ไม่ใช่พจนานุกรม แต่เป็น อภิธาน ท่านใช้คำว่า “สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน” พิมพ์ครั้งแรก โดยโรงพิมพ์ไท เมื่อ พ.ศ. 2469 ขนาด 8 หน้ายก (ประมาณกระดาษ A4) ความหนาถึง 1,360 หน้า ปกแข็ง  (เฉพาะศัพท์อย่างเดียว 1,343 หน้า)
Ste-dict_001
แน่นอนว่า ผมไม่ได้หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรก แต่ได้ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 (กันยายน 2552) โดยสำนักพิมพ์แสงดาว เรียกว่า เพิ่งพิมพ์มาสดๆ ร้อนๆ เล่มนี้ พิมพ์โดยวิธีถ่ายมาโดยตรง เพื่อรักษาต้นฉบับ (ถูกตามต้นฉบับ ผิดก็ตามต้นฉบับ) และขนาดก็ย่อลงเป็นพ็อกเก็ตบุ๊ก (1/4 จากของเดิม) แต่จำนวนหน้ายังเท่าเดิม ทำให้กะทัดรัด พกพาสะดวกขึ้น

ชำแหละพจนานุกรม
Ste-dict_002
อย่างที่บอกแล้ว พจนานุกรมเล่มนี้ แปลจากภาษาสันสกฤต เป็นภาษาไทย และอังกฤษ ภาษาสันสกฤตนั้น ใช้ตัวหนังสือไทยเขียน ทำให้คนทั่วไปอ่านได้ ไม่เหมือนพจนานุกรมสันสกฤตส่วนใหญ่ ถ้าไม่ใช้อักษรโรมัน ก็อักษรเทวนาครี คนที่ไม่เคยเรียนสันสกฤตมาก่อน จะอ่านไม่ออก หรืออ่านยาก
การลำดับศัพท์ เรียงตามธรรมเนียมนิยมของภาษาอินเดียทั่วไป คือ เริ่มจากสระก่อน อ อา อิ อี อุ อู ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เอ ไอ โอ เอา แล้วจึงขึ้น “ก ข ค ฆ ง” จนจบที่  “ห” (ภาษาสันสกฤต ไม่มี อ อ่าง หรือ ฮ นกฮูก ครับ) คำควบกล้ำ อยู่หลังจากคำที่ประสมสระ เช่น กุ (kai) มาก่อน กฺรม (krama)

ดูตัวอย่างกันสักหน่อย
   
ตาลเวจนกม ตาลเรจนก. น. นางระบำ; นรรตกม ผู้เต้น, ผู้เต้นรำทำเพลง, นักฟ้อน, ตัวลร; a female dancer; a dancer or actor.

Ste-dict-007

จำนวนศัพท์ในพจนานุกรมเล่มนี้มีเท่าใด ไม่ได้บอกไว้ สุ่มนับดูได้ราวสองหมื่นศัพท์ นับว่ามากพอสมควรสำหรับพจนานุกรมทั่วไป แต่พจนานุกรมสันสกฤต ศัพท์ยิ่งมากยิ่งดี
ผู้ที่ต้องการทราบความหมายของคำ ก็สามารถเปิดค้นหาได้เลย แต่สำหรับการใช้งานนั้น อาจยังไม่คล่องตัวนักสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ภาษาสันสกฤตจริงๆ เพราะว่า ยังขาดรายละเอียดที่สำคัญ คือ เพศของคำ (คำนามในภาษาสันสกฤตมีสามเพศ คือ ชาย, หญิง และกลาง) กับหมวดของธาตุหรือกริยา (มีด้วยกัน 10 หมวด) เช่น เปิดคำว่า ชิ แปลว่า น. เวตาล  ไม่รู้ว่าเป็นเพศอะไร ทำให้แจกรูปไม่ถูก เป็นต้น
นอกจากนี้ ทราบมาว่าพจนานุกรมที่พิมพ์ครั้งก่อนมีใบแก้คำผิด แต่ฉบับนี้ไม่ทราบว่ามีหรือเปล่า ถ้าจัดพิมพ์แบบเรียงพิมพ์ใหม่ น่าจะดีกว่า จะได้แก้คำผิดไว้ด้วย
หากมีการจัดพิมพ์ครั้งต่อไป น่าจะเรียงพิมพ์ใหม่ ปรับปรุง เพิ่มเติมส่วนที่จำเป็น ส่วนศัพท์ภาษาอังกฤษนั้น หากตัดออกเสีย ก็ไม่เสียหลาย แล้วเพิ่มศัพท์ไทย-สันสกฤต ก็จะได้พจนานุกรมสันสกฤตไทย-ไทยสันสกฤต ที่มีขนาดกะทัดรัด เหมาะมือ และใช้งานประโยชน์ได้มากขึ้นอีก

ประวัติการพิมพ์
    ครั้งแรก 1 เมษายน พ.ศ. 2469
    ครั้งที่สอง กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2507 (ย่อส่วนลง ?)
    ครั้งที่สาม กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์ 29 มีนาคม พ.ศ. 2507 (เหมือนครั้งที่สอง)
    ครั้งที่สี่ สำนักพิมพ์แสงดาว กันยายน พ.ศ. 2552 (คงจะเหมือนครั้งที่สาม) เพิ่มสารบัญตามตัวอักษร และประวัติการพิมพ์ พร้อมประวัติผู้แต่งท้ายเล่ม รวม 1400 หน้า ราคา 480 บาท
Ste-dict_005

ผู้แต่ง
เล่ามาพักหนึ่งแล้ว ยังไม่ได้บอกว่าผู้แต่งพจนานุกรมนี้เป็นใคร
    ชื่อบนปก บอกว่า ร้อยเอก หลวงบวรบรรณรักษ์ (นิยม รักไทย) คนทั่วไปคนไม่คุ้นชื่อ แต่นักเลงหนังสือรุ่นก่อนๆ น่าจะคุ้นกันดี เพราะท่านผู้นี้แต่งและแปลหนังสือเอาไว้หลายเล่ม
    นายร้อยเอก หลวงบวรบรรณรักษ์เป็นลูกครึ่งฝรั่งไทย เดิมชื่อ John Jam บิดาเป็นชาวสก็อต มารับราชการในเมืองไทย สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อสำรวจแหล่งทองคำ มารดาเป็นคนไทย ท่านเกิด (10 มกราคม 2419) ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ

     เมื่อเรียนจบ ท่านได้สอนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัน ซึ่งได้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมแก่พระยาอนุมานราชธนด้วย นอกจากนี้ยังสอนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และโรงเรียนสวนกุหลาบอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นเข้ารับราชการที่กรมตำรา ในภายหลังได้แต่ง และแปลหนังสือหลายเรื่อง เช่น
     มหาภารตยุทธ์, บันเทิงทศวาร (The Decameron), ชาฎกบางเรื่องไตรพากย์, ชัยมงคลคาถาไตรพากย์, ขงจื้อมหาคุรุ, อาหรับราตรี เป็นต้น

     หลวงบวรบรรณรักษ์ผู้นี้แหละ เป็นครูสอนภาษาสันสกฤตแก่นายผี (อัศนี พลจันทร์) นักเขียน นักคิดคนสำคัญของไทยในสมัยหนึ่ง และมีผลงานการแปลวรรณคดีสันสกฤต เช่น ภควัทคีตา และแต่งเพลงเดือนเพ็ญ อันลือลั่น
     ท่านได้สมรสกับคุณเสริม เลขยานนท์ มีบุตรธิดา 3 คน ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2489 สิริอายุ 70 ปี

Ste-dict_004

     ท่านผู้แต่งพจนานุกรม นายร้อยเอก หลวงบวรบรรณรักษ์ คงมีผลงานการเขียนไม่น้อย เพราะอยู่ในกลุ่มปัญญาชนนักคิดนักเขียนในเวลานั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ชื่อและผลงานก็เริ่มเลือนหายไป คนรุ่นใหม่ๆ ย่อมไม่รู้จักเป็นธรรมดา
    เราไม่ทราบว่า ท่านเรียนสันสกฤตมาจากไหน แต่การแต่งพจนานุกรมสันสกฤต ถือว่า ต้องมีความสนใจ อดทน มุ่งมั่น และมีภูมิในทางนี้อย่างยอด
    จะว่าไปแล้ว ในยุคสมัยนั้น มีฝรั่งหลายคน ที่เก่งภาษาไทย ชอบภาษาไทย และเขียน แต่งหนังสือไทย ไม่ว่าจะเป็น หมอบลัดเลย์ หรือ ยอร์ช เซเดส์ เป็นอาทิ กรณีของหลวงบวรฯ ก็เช่นกัน ท่านศึกษาภาษาไทยอย่างแตกฉาน ดูคำนำจากอภิธานเล่มนี้ก็ได้  ท่านใช้คำว่า มุขพันธ์ และเนื่องจากอาจหาอ่านได้ยาก จึงขอคัดลอกมาทั้งหมด

     เจอะภาษายากๆ ไม่ต้องแปลกใจครับ หลายศัพท์ที่อ่านยากเข้าใจยาก คงไม่ใช่ศัพท์ที่ใช้ทั่วไป ท่านผู้เขียน (ครันถการ) อาจประดิษฐ์ขึ้นเอง จึงได้ใส่คำในวงเล็บเอาไว้ด้วย จากคำนำ หรือ มุขพันธ์ นี้ พบว่าท่านอ้างพจนานุกรมสันสกฤตไว้สองเล่ม คือ ของบัณฑิต ราม ชาสัน (Pandit Ram Jason) และวามัน ศิวราม อาปเต (Va man Shivaram Apte) ซึ่งเป็นนักปราชญ์ทางภาษาสันสกฤต ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดีแม้ในปัจจุบัน

มุขพันธ์ ของ ครันถการ
    ภาษาสันสกฤตเปนศัพทาศรัยอันทรงไว้ซึ่งคำทุกหมวดวิทยา, และปราชญ์หนังสือทุกภาษายอมรับว่า ‘สันสกฤตอุดมด้วยคำใช้ทุกประเภทวิชชา;’ เพราะเหตุนี้, ปราชญ์ทุกชาติทุกภาษา จึงได้บำเพ็ญเวลาของตนต้อการศึกษามตฤกาสำคัญของภาษาทั้งหลาย. แท้จริงในการบรรยายปาริภาษิกศัพท์ หรือคำศาสตรบัญญัติทั้งหลายกับคำใช้ในกายพคดีทุกประเภท, เท่าที่ปราชญ์วรรณคดีทุกประเทศได้พิจารณาแล้วโดยถ้วนถี่, ย่อมไม่มีภาษาใดล่วงวิษัยพากย์สันสกฤตได้. แม้กฤตวิทย์ในภาษาไทยก็นิยมใช้ศัพท์สันสกฤต ทั้งโดยตรงและโดยแผลง โดยอเนกปริมาณ; เพราะมีความเห็นร่วมกันว่า ‘สันสกฤตเปนพจนาลังการแก่วรรณคดีของเรา, และเปนคำใช้อันไพเราะสละสลวยสมภูมิ์ฐานแก่ภาษาผู้ดีทุกสมัย’ กาพยคดีในภาษาไทยแทบทุกเรื่อง ย่อมบันจุศัพท์สันสกฤตลงไว้เปนส่วนใหญ่, เพราะเหตุว่านักปราชญ์ไทยยกย่องว่าเพราะพร้อง และนับถือเปนแบบแผนเรื่อยมาจนทุกวันนี้.

    แต่ยังไม่มีตำราเปนหลักฐาน สำหรับค้นหาคำแปลศัพท์สันสกฤตทั้งหลาย ให้ได้ความชัดเจนเปนคำไทยและอังกฤษ, เพื่อเปนสมบัติของประเภทตำราไทย. กฤตวิทย์ไทยเราพากันกล่าวคำอภิโยคอันเจือด้วยโศกว่า ‘เมื่อไรชาวเราจะได้เห็นสันสกฤตมูลครันถ์, อภิธาน, และสารสงเคราะห์ พิมพ์จำหน่ายในเมืองไทย ? เมื่อไรชาวเราจะได้ใช้ ‘นิยมาภิธานภาษาไทย’ ( a standard dictionary of the Siamese language ) อันสมบูรณ์พร้อมด้วยปาริภาษิกศัพท์ที่เรานิยมใช้มานานแล้ว ? ตราบใดชาวเรายังบกพร่องในมูลครันถ์ ( text-books )  อันได้ผ่านตาของนิรุกติสภามาแล้ว, ตราบนั้นลิปีการของเราก็ยังได้ชื่อว่า เกยแห้งในการแต่งหนังสืออยู่เรื่อยไป. เปนความจริงอันน่าอัศจรรย์ใจที่ไม่มีท่านผู้ใดเคยได้ลิขิตสันสกฤตอภิธานขึ้นไว้ในภาษาไทย. เมื่อไรชาวเราจะได้สมมโนรถของเราหนอ ?

    ศัพทาภิโยคเหล่ารนี้มีเดชพอที่จะกระตุ้นลิปีการ และโกศการสมัยปัตยุบันให้ช่วยกันเขียนเรื่องที่เหมาะแก่ภูมิ์รู้ของตนขึ้นไว้ในเวลาว่างซึ่งตนย่อมมี. ทั้งนี้ก็โดยความยินดีอย่างยิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับคำขอร้องของ “ขุนโสภิตอักษรการ” เจ้าของโรงพิมพ์ไทให้เขียน สํสกฤต-ไทย-อังกฤษ อภิธาน เล่มนี้ ขึ้นไว้เปนนิษฐสมบัติส่วนหนึ่งในภาษาไทยสมัยนี้; เพราะว่าการรับปากคำว่า จะทำให้สำเร็จเปนเล่ม ดุจเล่มอันพิมพ์แล้วบัดนี้เปนอาทิ ได้ประจักษ์แจ้งแก่มติของข้าพเจ้าเปนโอกาสอันดีวิเศษสำหรับ ‘ก่อคฤหมูลแห่งวิทยาขึ้นไว้ให้ศิษย์และประศิษย์ (ศิษย์ของศิษย์) รุ่นหลังสร้างเหนือมูลนี้ต่อไป,’ และสำหรับต่อการเล่าเรียนภาษาซึ่งได้หลั่งความติดใจลงไว้ในตัวข้าพเจ้าเรื่อยมาจนทุกวันนี้. ผลอันดีที่การนี้จะอนุเคราะห์ข้าพเจ้าต่อไปข้างน่านั้น คือ ‘ความรู้ซึ้งในศัพทารถภาษาไทย,’ ซึ่งข้าพเจ้าตั้งใจจะเขียนให้สำเร็จเปนเล่มดุจอภิธานเล่มนี้ ( ถ้ามีเวลาพอทำได้ตามมโนรถ ).

    ในการลิขิตอภิธานเล่มนี้ โกศการได้หารือโกศครันถ์ของบัณฑิตรามชาสัน และโกศครันถ์ของวามันษิวรามอัปเต อันเปนหมวดสารสงเคราะห์ที่ไว้ใจได้ และเหมาะสำหรับเราชาวไทย

    หวังใจว่า นิทรรศน์ของครันถการอภิธานเล่มนี้ คงเปนที่ไว้ใจเช่นเดียวกันกับสูตร์ของครันถการบัณฑิตทั้งสองท่าน อันกล่าวนามแล้วโดยฉเพาะ, และเชื่อมั่นว่า คงได้รับความสมเคราะห์แห่งนักปราชญ์ทั่วไป เพื่อแนะนำให้ดรุณชนชาวไทยใช้โกศครันถ์เล่มนี้เปนสมุดคู่มือทันสมัย.

นายร้อยเอก หลวงบวรบรรณรักษ์ ( นิยม  รักไทย )
วันที่ ๑ เมษายน พ. ศ. ๒๔๖๙
ถนนรองเมือง, จังหวัดพระนคร



แน่ นอนว่า ผมไม่ได้หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรก แต่ได้ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 (กันยายน 2552) โดยสำนักพิมพ์แสงดาว เรียกว่า เพิ่งพิมพ์มาสดๆ ร้อนๆ เล่มนี้ พิมพ์โดยวิธีถ่ายมาโดยตรง เพื่อรักษาต้นฉบับ (ถูกตามต้นฉบับ ผิดก็ตามต้นฉบับ) และขนาดก็ย่อลงเป็นพ็อกเก็ตบุ๊ก (1/4 จากของเดิม) แต่จำนวนหน้ายังเท่าเดิม ทำให้กะทัดรัด พกพาสะดวกขึ้น
หมายเลขบันทึก: 322939เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2009 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (43)

ดีจังเลยครับ ชอบที่มีภาษาอังกษด้วยจะได้เปรียบเทียบได้ สบายดีไหมครับอาจารย์หมู

สวัสดีค่ะ

เป็นบันทึกยาว ๆ ที่อ่านได้อย่างเพลิดเพลินค่ะ

อ่านจนจบ เลยได้ความรู้คำศัพท์อีกหลายคำ ไม่น่าเชื่อว่าอ่านหนังสือภาษาไทยก็ว่ามาก แต่ภาษาไทยบางคำ กลับไม่ค่อยรู้จัก เช่นคำว่า "มุขพันธ์"

ยิ่งภาษาสันสกฤตยิ่งรู้น้อยไปอีก เพิ่งรู้ว่ามี "เพศ"ด้วย

ทำให้รู้ว่าตัวเองมีความรู้ด้านภาษาน้อยจริง ๆ สักแต่อ่าน ๆ ไม่ค่อยรู้รากของภาษา แล้วยังเข้าใจว่าตัวเองอ่านมากด้วย...ฮา...เชื่อเลย

เป็นหนังสือที่น่าซื้อมาใช้ สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ค่ะ ส่วนตัวกำลังคิดว่าซื้อมาแล้วนอกจากเก็บไว้เป็นหนังสือเก่าหายากแล้ว จะใช้ทำอะไรดี

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

ขอบคุณมากครับ จะต้องไปหาซื้อมาบ้างแล้ว พอดีแฟนเรียนภาษาศาสตร์

บก.หมู หายไปนาน กลับมาพร้อมสาระที่อัดแน่นเหมือนเคยค่ะ การเขียนในสมัยก่อนนึกเองว่าอ่านยาก ลองอ่าน เอ๊ะ ก็อ่านง่าย พอเข้าใจความหมายคำศัพท์นะคะ (อย่างที่คุณน้องคนไม่มีรากเขียนว่าอ่านเพลิน) ห้องสมุดมีหรือยังน้อ....

ราชทินนาม หลวงบวรบรรณรักษ์ น่าไปสืบเสาะค้นหากันต่อนะคะ ว่า คำ บรรณรักษ์ มีมาแต่หนใด....เอาลงวิกิด้วยนะคะ จะติดตามอ่านค่ะ

พบ blogger ..อาจารย์ธ.วัชชัย

 

-ขอบคุณที่มาเยือนค่ะ ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์พี่ชาย

  

สวัสดีปีใหม่ค่ะ ท่านบก. สบายดีนะคะ

ห่างหายแต่ยังระลึกถึงนะคะ ขอบคุณที่แวะไปย้ำเตือนค่ะ แหม ตะลอนๆ ...

ปีนี้ไม่ค่อยได้ตะลอนคะ เดินทางผ่านภาพและตัวอักษรแทนค่ะ

อยากได้กระจกร้าวจังค่ะ จะได้ไปชมความสามารถท่านหลวงบวรบรรณรักษ์ผู้นี้ ...

 

  • สวัสดีปีใหม่ค่ะท่านอ.ธ.วัชชัย
  • มาเติมเต็มเรื่องภาษา สาระยังแน่นเหมือนเคย
  •  ขอบคุณมากค่ะ
  • ถ้ามีโอกาสจะขออนุญาตไปเผยแพร่ต่อนะคะ

สวัสดีค่ะคุณครูธ. วัชชัย

  • ชอบที่จะอ่านค่ะ ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดี ๆ
  • จะรออ่านอีกนะคะ
  • ขอให้มีความสุขทั้สองคนนะคะ

ระลึกถึงเสมอค่ะ...พี่เหมียว

                                           

                   

ขอให้สุข สดชื่น สมหวังนะคะ

 

Dsc07781

วันที่อาจารย์แวะไปขอนแก่น พี่แก้วชวนไปต้อนรับ แต่ติดประชุมเที่ยงค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายด้วยความระลึกถึงอาจารย์ค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ คุณ ธ.วั ช ชั ย

ขอให้มีความสุขมากๆ ค่ะ

ซื้อที่ไหนอ่ะ ศูนย์หนังสือจุฬาก็ไม่มี บอกหน่อยจิ๊

ตากำลังจะปิดแล้ว มาทายทักท่านบก.ก่อน

ขอตัวไปเข้าเฝ้าท่านหลวงฯ แล้ว ฝันดีนะคะ ;)

ตอนนี้ มีความรู้สึกอยากเขียนหนังสือท้องถิ่นให้กับบ้านเกิดสักเล่ม..จังเลยครับ  เช่น ประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน  สถานที่สำคัญๆ ประเพณี  ภูมิปัญญา  ผญาและคำกลอน คำสอนที่ใช้ในชุมชนจากอดีตถึงปัจจุบัน  เสร็จแล้วก็มอบให้โรงเรียน, วัด และชุมชน  บางทียังอยากทำเป็นภาคการ์ตูน ด้วย...

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

มาขอบคุณอาจารย์ที่ไปเยี่ยมในบล็อกค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาขอบคุณอาจารย์ที่ไปเยี่ยมในบล็อกค่ะ

  • สวัสดีค่ะ อ.ธ.วัชชัย
  • มาทักทายในวันหยุด
  • อให้หายจ็บหายไข้ในเร็ววันนะคะ
  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ และมีความสุขกับทุก ๆ วันนะค่ะ

  • สวัสดีค่ะ

    แวะมาทักทายค่ะ

    ระยะนี้สุขภาพอาจารย์เป็นอย่างไรบ้างคะ

    รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

    (^___^)

    หายไปนานเช่นกันนะคะ เป็นหนังสือหายากจริงๆด้วย

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายตอนเช้า บรรยากาศดี ๆ ค่ะ
  • มีความสุขกับวันทำงานนะค่ะ
  • สวัสดีค่ะ

    รออ่านบันทึกยาก ๆ แต่ไม่เครียด....ค่ะ

    รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

    (^___^)

    • สวัสดีค่ะอ.ธ.วัชชัย แวะมาทักทายค่ะ
    •  ขอให้สุขภาพแข็งแรงค่ะ
    • ขอบคุณที่ไปเยี่ยมเยียน มีความสุขในการทำงานนะคะ

    สวัสดีค่ะท่านบก.หมู

    อยากมีกระจกทวิภพ จะได้ไปปะหน้ากับท่านหลวงบวรบรรณรักษ์ บ้างจัง

     ตอนนี้ได้ยินชื่อแต่ท่านหลวงบริบาล คนเดียวเลย อิ อิ .. ในทีวีเรื่องผีสิง

    คุณธ.วัชชัยก็นานๆเขียนที เขียนแต่ละทีก็มีสาระน่ารู้ ที่ไม่ใช่ว่าธรรมดาจะพบจะเห็นกันได้ง่ายๆ หนังสือเล่มนี้ใหญ่มากนะคะ คงต้องตั้งโต๊ะกับที่ไม่เคลื่อนย้าย

    ขอบคุณมากค่ะที่ไปแวะเยี่ยม พี่หมู่นี้ก็ผลุบๆโผล่ๆค่ะ

    ส่งผ้ามาให้ดูถึงที่ด้วย ผ้าลายลูกอ๊อดคือผืนพื้นดำแล้วมีลายเหมือนจุดขาวๆ สังเกตจะเห็นว่าไม่กลม มีหางสะบัดเล็กน้อย และในผืนนั้นหางก็ไม่ได้ไปทางเดียวกันทั้งหมดค่ะ ผืนที่ซื้อมามีริมผ้าเป็นสีแดงด้วยชอบจังเลยค่ะ

     

    สวัสดีครับธ.วั ช ชั ย

    จะทำอย่างไรให้คนไทยเรียนรู้ภาษาสันสกฤตเพิ่มมากขึ้น

    สวัสดีครับ พี่นุช

    หนังสือเล่มเดิม หนาอย่างที่ว่าครับ

    แต่ฉบับพิมพ์ใหม่ เขาย่อลงเหลือเท่าพ็อกเก็ตบุ๊ค ก็ค่อยยังชั่วหน่อย

    ขอบคุณนะครับ ที่นำผ้าสุรินทร์มาฝากไว้

    มีลวดลายแปลกตาดีครับ ไม่น่าเบื่อ

    ไม่งั้นไปแวะทีไร ก็มีแต่ผ้าลายเดิมๆ

    สวัสดีครับ อาจารย์ฤทธิชัย

    อาจารย์ถามชวนให้อยากตอบครับ

    ผมเห็นคนเรียนภาษาสันสกฤตเยอะเหมือนกันนะครับ

    ทั้งในไทย หรือไปเรียนต่างประเทศ

    แต่จบมาแล้ว ถ้่าไม่ได้ใช้ ไม่ได้ส่งต่อ เผลอๆ จะลืมได้ง่ายๆ

    บางท่านจบแล้วไปเป็นผู้บริหาร หรือทำงานด้านอื่นๆ ก็ทิ้งภาษาสันสกฤตไป น่าเสียดาย

    จะว่าไปแล้ว ผลงาน ตำรา หรือวรรณคดีสันสกฤตในบ้านเรามีไม่น้อย

    แต่อยู่ในแวดวงจำกัด ผมคิดว่า ถ้าเราได้เผยแพร่งานแนวนี้มากขึ้นเรื่อยๆ

    คงทำให้ผู้ที่สนใจ ได้หันมาเรียน ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน กันมากขึ้น

    ผมเองก็คิดอยู่เหมือนกันว่าน่าจะหาทางส่งเสริมเรื่องนี้ครับ

    นอกเหนือจากการเผยแพร่ด้านเอกสาร คงจะมีแนวทางอื่นๆ อีก

    'วทามิ' ที่คิดทำขึ้นก็เพื่อการนี้ครับ อาจารย์ส่งเรื่องมาลงได้เลยนะครับ ;)

    มาชม

    เป็นเรื่องประวัติบุคคลที่น่าสนใจ ที่มีผลงานฝากเอาไว้ เพราะหาอ่านยากนะครับนี่...

    สวัสดีค่ะ

    แวะมาส่งข่าวว่า บันทึกใหม่ "เหลือแดงเริงระบำ" เข้าไปคอมเม้นท์ไม่ได้ค่ะ cursor ไม่ทำงานเลยค่ะ ไม่ทราบมีอะไรผิดพลาดที่บันทึกหรือว่าที่คอมพ์ของคนไม่มีรากเองค่ะ

    (^___^)

    ปล. อ.ตั้งใจใช้ชื่อ บันทึกว่า เหลือแดง... อย่างนั้นหรือเปล่าคะ... ^_^

    คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

                         ขอบคุณคะ

    อยากเรียนภาษาสันสกฤตค่ะ.. มีที่ไหนเปิดสอนบ้างคะ? แล้วค่าเรียนประมาณเท่าไรคะ?

    ส่วนพจนานุกรม สามารถสั่งซื้อได้ที่ไหนคะ?

    ขอบคุณมากค่ะ

    สวัสดีครับ อาจารย์ Umi

    ขอบคุณมากครับที่ แวะมาชม

    มีผู้รู้หลายท่านที่มีผลงานมาก แต่หาประวัติไม่ค่อยเจอครับ

     

    คุณ คนไม่มีรากครับ

    ขอบคุณมากครับ ที่แจ้งเตือน อิอิ

    เรื่องคอมเมนต์ไม่ได้ ไม่ทราบเป็นยังไงนะครับ

    แก้ไม่ถูกเหมือนกันครับ

    สวัสดีครับ คุณสิริพร

    ขอบคุณสำหรับลูกเป็ดน้อยครับ ;)

     

    สวัสดีครับ คุณ p

    พจนานุกรม สั่งซื้อร้านซีเอ็ดได้เลยครับ

    ส่วนที่เรียนภาษาสันสกฤตนั้น ทราบแต่ที่เรียนในระบบ

    ปริญญาตรี มีหลายสถาบัน ที่เิปิดสอนภาษาไทย

    ระดับ ป โท มีที่ม.ศิลปากร จุฬาฯ มหาจุฬา มหามกุฏ ครับ

     

    แต่ถ้าจะเรียนหลักสูตรพิเศษ ไม่ทราบเหมือนกันครับ (ไม่น่าจะมี)

    เพราะวิชาสันสกฤตเนื้อหาเยอะ ต้องฝึกฝนมาก

    ตำราที่ใช้สำหรับเรียนก็มีน้อย

     

    แต่ถ้าต้องการจะเรียนด้วยตัวเอง ผมจะแนะนำตำราให้นะครับ

    ถ้าตั้งใจจริงๆ สัก 3 เดือนก็น่าจะได้พื้นฐานพอสมควรครับ

    สนใจเรียนภาษาสันสกฤตด้วยตนเองนะครับ  ช่วยแนะนำตำราให้ด้วยครับ

    อยากอ่านตัวเทวนากรีได้ด้วยนะครับ

    สวัสดีครับ คุณเป็ด

    ตำราภาษาสันสกฤตที่เป็นภาษาไทยมีน้อย และหายากด้วยครับ

    ลองดูที่ร้านมหาจุฬาบรรณาคาร ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ นะครับ

    ใกล้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือศูนย์หนังสือของมหาวิทยาลัยสงฆ์

    ที่ไหนก็ได้ มีตำราของ ศ.(พิเศษ)ดร.จำลอง สารพัดนึก หลายเล่มครับ

    อ่านเข้าใจง่าย และราคาถูกด้วย

     

    แต่ถ้าภาษาอังกฤษ แนะันำเล่มนี้ครับ Sanskrit Primer อ่านยากหน่อย

    เพราะใช้ภาษาเก่า แต่เขียนได้ดี ลำดับตามความง่ายยาก โหลดได้จาก

    http://www.archive.org/download/sanskritprimer00perrrich/sanskritprimer00perrrich.pdf

    หรือจะเรียนบทเรียนออนไลน์ ที่นี่ครับ

    http://chitrapurmath.net/sanskrit/step-by-step.htm หรือ

    http://acharya.iitm.ac.in/sanskrit/sans.php?lnum=1&pnum=1

     

    การอ่านอักษรเทวนาครีนั้นไม่ยากครับ อันที่จริงก็คล้ายๆ อักษรไทยเรา

    ลองดูที่เว็บของ ดร.ฤทธิชัย เป็นพื้นฐานนะครับ (ภาษาฮินดี ใช้อักษร

    เทวนาครีเหมือนกัน)

     

    ได้ความจริงไร หรือติดขัดอย่างไร ก็สอบถามได้นะครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท