Learning Organization แบบย้อนยุค


Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (ตอนที่ 29)

มีคนพูดถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือพูดเรื่องเรียนรู้กันจนชินหู แต่เวลาผมไปเป็นกระบวนกรที่ไหนก็ตามเวลาถามว่า “การเรียนรู้คืออะไร” ส่วนใหญ่ตอบวนไปวนมา หรือไม่ก็ยอมรับซื่อๆว่า “ไม่รู้ เพราะไม่มีใครเคยถามอย่างนี้มาก่อน” เอาล่ะครับนิยามองค์กรแห่งการเรียนรู้มีอยู่แล้ว แต่วันนี้ผมเสนอให้กลับไปนิยามพื้นฐานที่สุด คือคำว่า “เรียนรู้” ครับ ว่ากันตามนิยามที่เก่าที่สุดที่ว่าโดยท่านศาสตราจารย์  Kurt Lewin  (1951) ท่านนี้เป็นผู้ให้กำเนิด Action Research วิจัยแนวนี้เป็นที่มาของสาขาวิชา Organization Development, KM และ LO ที่เราเห็นทุกวันนี้แหละครับ การเรียนรู้ในมุมมองท่านนั้น ท่านบอกว่า “Learning is doing something better” แปลว่า “การเรียนรู้คือการทำอะไรบางอย่างให้มันดีขึ้น” ชัดไหมครับ จริงๆผมว่านิยามนี้เป็นนิยามที่เรียบง่ายที่สุด และทรงพลังที่สุด ซ่อนแง่มุมอะไรไว้มาก ลองนึกถึงการฝึกอบรมซิครับ ผ่านการประเมินหลังการอบรมแล้ว แต่กลับเอาความรู้ไปใช้งานไม่ได้ ไปทำงานให้ดีขึ้นไม่ได้ จะเรียกว่าเรียนรู้หรือไม่ ถ้าว่ากันตามนิยามนี้เรียกว่า “ไม่ได้เรียนรู้อะไรครับ” ผู้สอนต้องคิดใหม่แล้วครับ ผู้เรียนต้องคิดใหม่เช่นกัน องค์กรต้องคิดใหม่อย่างแรงครับ 

สำหับที่เริ่มสนใจ Learning Organization แล้วรู้สึกมันตึ๊บกับนิยาม และวิธีการของ LO จนไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร จะไปทางไหน ผมแนะนำให้เริ่มจากการค้นหาร่องรอยของการเรียนรู้ในองค์กรก่อน แล้วค่อยขยายผลไปเรื่อยๆ  ร่องรอยนั้นว่ากันนิยามแล้วก็คือ “จุดปลี่ยนที่ทำให้งานดีขึ้น” ถ้าขุดค้นไปเรื่อยเราจะเจอ “เงื่อนไข สภาพแวดล้อมและกระบวนการที่ทำให้เรา หรือทีมงาน ทำงานได้ดีขึ้น” เงื่อนไข ภาวะแวดล้อม กระบวนการนั้นคือ “เงื่อนไขแห่งการเรียนรู้” นั่นเองครับ  ผมเสนอให้หาร่องรอยนี้ด้วยวิธีการแบบ Appreciative Inquiry ครับ ลองถามเพื่อนร่วมงานว่า “ครั้งล่าสุดที่เราขายของได้เร็วขึ้นกว่าเดิมนั้น เกิดอะไรขึ้น” ถ้าทำงานเป็นทีมก็ “ครั้งที่ทำงานร่วมกันแล้ว ได้ผลงานดีขึ้นอย่างไม่เป็นมาก่อนนั้นเกิดอะไรขึ้น” อาจประยุกต์แนวคำถามไปหลายแนวทาง ซึ่งสามารถดูแนวคำ Appreciative Inquiry ได้ที่ www.aithailand.org ครับ สิ่งที่ค้นพบนั้นโดยทั่วไปสามารถทำซ้ำได้ครับ และจะส่งผลให้องค์กรดีขึ้นจริง

สรุป เราสามารถลดความซับซ้อนของแนวคิด LO ลงด้วยการกลับไปหานิยามดั้งเดิมของการเรียนรู้ แล้วสืบค้นด้วย AI ทดลองขยายผลดูครับ และถ้ากลับไปดูนิยามนี้จะค้นพบว่า การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ห้องฝึกอบรมครับ มันเกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา สังเกตได้จาก “อะไรๆที่มันดีขึ้น” ครับ นอกจากนี้นิยามสนับสนุนการเรียนรู้ด้วย  KM เป็นอย่างดี และลงตัวครับ

 

อ้างอิง:

Lewin, K. (1951). Field theory and learning. In Cartwright D. (Ed.), Field theory in

social science, (pp. 65-66). New York: Harper & Row Publishers.

หมายเลขบันทึก: 324708เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2010 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

“Learning is doing something better"

ชอบประโยคนี้มากเลยครับ

เป็นพื้นฐานในการพัฒนาองค์กรผมเลย

และจะนำไปใช้กับทุกองค์กรของผมเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท