KM ..ข้างเตียง


ฟังนะ ลูกพอมี(ผัว) สามี/ภรรยา(เมีย)..ได้ปลาตัวใหญ่เขาก็หิ้วขึ้นบ้าน(เมีย)ภรรยา/สามี(ผัว) เขา..ส่วนเรา..จบ

ผู้ป่วยหญิงรายหนึ่ง ถูกส่งตัวมาจาก ร.พ แถวๆจังหวัดกาฬสินธ์ค่ะ  ด้วยอาการมีแผลติดเชื้อเรื้อรังที่เท้าขวา หลังจากซักประวัติเชิงลึกพบว่า เป็นเบาหวานมาเกือบ 20 ปี ควบคุมเบาหวานไม่ดี และสาเหตุหนึ่ง คือ เป็นคนขี้โมโห แม้กระทั่งกับลูกหลาน เมื่อโมโห ก็ไม่ยอมกินยา ไม่คุมอาหาร เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จนต้องเข้าๆออกๆโรงพยาบาลบ่อยๆ เกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ สุดท้ายก็หมดแรงใจที่จะดูแลตนเอง ..

วานนี้ขณะที่ผู้เขียนกำลังฟังผู้ป่วยบอกเล่า ความคิด ความเชื่อ การรับรู้ เกี่ยวกับการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน อยู่นั้น ก็มีผู้ป่วยเบาหวานอีกคน อายุไล่เลี่ยกันเกิดความสนใจ เข้ามาร่วมวงสนทนา ผู้ป่วยรายนี้ อารมย์ดี มีความคิด ความเชื่อ ที่ตรงข้ามกับผู้ป่วยรายแรก..ผู้เขียนจึงให้ทั้งสองร่วมสะท้อนประสบการณ์การควบคุมอารมย์ของตนเอง ดังนี้ค่ะ

ผู้ป่วยรายแรกเล่า ว่า "มีลูก 10 คนพึ่งพาไม่ได้ เรียนมาทำไม เรียนมาแล้ว ดูแลแม่ไม่ได้ ..มันเรียนมาทำไม๊?????.." ในขณะที่เสียงสะท้อนของเพื่อนบ้านกับบอกว่า "ถ้าแกไม่มีลูก..แกตายไปนานแล้วววว.."

ผู้ป่วยรายที่สองเล่าว่า "มีลูก 8 คน สำหรับคนเป็นแม่แล้ว เห็นลูกมีความสุข แม่ก็มีความสุข .จะไปคาดหวังอะไรกับลูก..ฟังนะ ลูกพอมี(ผัว) สามี/ภรรยา(เมีย)..เขาก็รักของเขา  ได้ปลาตัวใหญ่เขาก็หิ้วขึ้นบ้าน(เมีย)ภรรยา/สามี(ผัว) เขา..ส่วนเรา..จบบบบบบบ..หมายความว่า" ไม่ต้องพูดอะไรต่ออีก ..ให้พอแค่นั้น"พูดแล้วก็หัวเราะ

 

(ได้รับการอนุญาตจากผู้ป่วยแล้ว)

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน วิธีการหนึ่งที่ช่วยในการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยนั้น คือ กลุ่มบำบัดค่ะ แต่สำหรับผู้ป่วยใน(นอนโรงพยาบาล) บางครั้งการทำกลุ่มไม่เอื้ออำนวย เช่น มีผู้ป่วยไม่มาก ผู้ป่วยไม่สามารถลงเตียงได้ ..ดังนั้นการที่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยที่เดินได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันข้างเตียง อย่างนี้ ก็มีประโยชน์มากค่ะ 

 

หมายเลขบันทึก: 327792เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2010 05:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับคุณ ลดา ดีมากครับ จะได้เอาไปสะท้อนในวงเบาหวานให้กลุ่มฟัง ให้ระวังเรื่องอารมณ์ครับ

ดีค่ะ

เป็นเรื่องที่น่าศึกษาสะท้อนในเครือข่ายชาวค่ายเบาหวานค่ะ

เราควรปิดหน้าตาผู้ป่วยด้วยนะคะ ใช้โปรแกรม Photoscape ค่ะ

P ขอบคุณ  อีกครั้ง ค่ะพี่แก้ว

ดาพยายามแล้ว ..ภาพไม่น่าดูค่ะ

 จึงขออนุญาตก่อนบันทึกค่ะ

ครั้งต่อไปจะพยามใหม่ค่ะ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่น่าสนใจระหว่างผู้ป่วย..ก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความคิดที่จะมาปรับใช้ในการดูแลตัวเองค่ะ.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท