งานวิจัย สถานการณ์การทำประมงเคยใน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี


สถานการณ์การทำประมงเคย ใน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ปี 2550-2551 พบว่าผลผลิตลดลง โดยได้รับผลกระทบจากเรืออวนรุนอวนลากรุกล้ำชายฝั่ง และผลกระทบจากน้ำเสียและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม นอกจากนี้ยังพบว่าชาวประมงขาดแคลนพื้นที่การทำประมง ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ควรหามาตรการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
สถานการณ์การทำประมงเคย ใน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี

The Situation of Krill Fisheries in  Ban Laem, Phetchaburi Province

จุฑามาศ   ทะแกล้วพันธุ์ 1

บทคัดย่อ 

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การทำประมงเคยใน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดยการสัมภาษณ์ชาวประมงที่ทำการดักจับเคย จำนวน 22 คน ระหว่างเดือนธันวาคม 2550 –มีนาคม 2551 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้านปัญหาในการทำประมงโดยการทำ content analysis

ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่การทำประมงเป็นหาดโคลน มีป่าชายเลนตลอดแนวชายฝั่งลักษณะเนื้อดินจะเป็นดินโคลนเหลวหรือเป็นดินโคลนเนื้อละเอียด และมีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ชาวประมงส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ช่วงอายุ 21-30 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา อาศัยอยู่ใน ต.บางตะบูนมากที่สุด มีรายได้ต่อวันโดยเฉลี่ยในฤดูทำการประมง 404.55+ 300.38 บาท ชนิดเคยที่จับได้มีเพียงชนิดเดียว คือเคยตาดำ ความยาวเฉลี่ย 0.76+0.22 ซม.โดยมีวิธีการทำประมง 3 วิธีได้แก่ วิธีการรอเคยชาวประมงนิยมทำมากที่สุด(ร้อยละ 63.6) รองลงมาคือวิธีการรุนเคยหรือระวะรุนเคย(ร้อยละ 22.7) วิธีช้อนเคยนิยมทำน้อยที่สุด(ร้อยละ 13.6) จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่าปัญหาที่ชาวประมงพบในการทำประมงเคย คือ จำนวนผลผลิตลดลง ผลกระทบเรืออวนลาก อวนรุนรุกล้ำชายฝั่ง ผลกระทบจากน้ำเสียและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และปัญหาการขาดแคลนพื้นที่การทำประมง ซึ่งชุมชนควรหามาตรการแก้ไขร่วมกันเพื่อปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่แหล่งทำการประมงเคยให้ดีขึ้น

คำสำคัญ   : เคย , กุ้งเคย, การทำประมง  , อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี             

                               

Abstract

The aim is  to identify  the situation of  krill fisheries in Ban Laem, Phetchaburi province. This study used  primary and secondary data which obtained from interviewing 22 samples of  people who catched  krill  in Phetchaburi province, during December 2007-March 2008. It is analyzed by descriptive method and interpreted by percentage arithmetic mean and standard derivation.

The result reveals that most of the samples are male, 21-30 years old , get finished in primary school and live in Bang Tabun. They are working in the sea with income 404.55+ 300.38 Baht per day. Mysis (Mesopodopsis orientalis) is the main product , the average of  total length 0.76+0.22 cm. Samples can catch  krill  by a traps ,  by a push nets and by a hand net. The most favorite method is the catching by a traps(63.6%) and follows by  a push nets(22.7%) and by a hand net (13.6%), respectively. The result also shows that the important problems are the reduecing of product, the trespassing of  the trawlers and  push  nets, declined environment and a lack of  fisheries source. A community should be solve problem by sharing idea which  improve source of  krill fisheries

Keywords : Krill Krill Fisheries ,  Ban Laem , Phetchaburi Province

__________________________________________________________________________________________

1 สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ต.นาวุ้ง อ.เมือง จ.เพชรบุรี  76000

นำเสนอในงาน การประชุมวิชาการราชภัฏเพชรบุรี ครั้งที่ 1 ณ ห้องวิทยาภิรมย์ 2 ตุลาคม 2551  สงวนสิทธิ์ในนามของมหาวิทยาลัยเพชรบุรี 2551        

หมายเลขบันทึก: 328243เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2010 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตามมาบอกว่าไม่ใช่ศิษย์เก่าราชภัฎครับ แต่รู้จักอาจารย์หลายท่านครับ มาดูงานวิจัยครับ ตอนนี้อยู่แก่งจานครับ งานวิจัยของอาจารย์ที่บ้านแหลมน่าสนใจมากๆๆครับ

เป็นอีกแหล่งอาหารหนึ่งที่มนุษย์ทำลายด้วยตัวเองหรือเปล่าคะ

ไม่มีเคย ก็ไม่มีกะปิ ไม่มีน้ำพริก

เคยเป็นแค่ส่วนหนึ่ง แต่จำนวนผลผลิตเคยอาจบอกได้ว่า สัตว์น้ำประมงอื่นๆคงน้อยตามไปด้วยแล้ว

เป็นห่วงปลาทูไทยจริงๆเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท