เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรประจำถิ่นของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี


เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรประจำท้องถิ่นของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นการท่องเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ ภายใต้กรอบแนวคิด 3 ประการ คือ 1) เน้นการดำเนินการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สร้างความประทับใจด้วยต้นทุนทางสังคมที่ชุมชนมีอยู่ 2) ไม่รบกวนการประกอบอาชีพเดิมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) มุ่งสร้างความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การชมทัศนียภาพ การถ่ายรูป แหล่งนาเกลือและเกลือสปา แหล่งทำการเกษตรที่ศูนย์สาธิตพืชไร่และพืชสวนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ชมพระอาทิตย์ขึ้น ณ บริเวณปากอ่าวบางตะบูน การล่องเรือถีบกระดานเลนในแหล่งทำประมงพื้นบ้านที่คลองบางขุนไทร

เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษหัวข้อเรื่อง "ประสบการณ์การทำวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เรื่องการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรประจำท้องถิ่น อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี" วันที่ 29 มกราคม 2553 13.30-14.00 น. ณ เรือนกระจก ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรประจำท้องถิ่นของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

Local Agro-Tourism Trail Planning in Ban Laem, Phetchaburi .

จุฑามาศ  ทะแกล้วพันธุ์1, บัญญัติ  ศิริธนาวงศ์1, นวรัตน์  ประทุมตา2 ศิริวรรณ   แดงฉ่ำ1, วนิดา  มากศิริ1 และทิพย์สุดา  ชงัดเวช1

Chuthamat Thaklaewphan1, Bunyut Sirithanawong1, Nawarat Prathoomta2, Siriwan Dangcham1, Wanida Maksiri 1 and Thipsuda Changadvach1

 บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสภาพปัญหาของแหล่งท่องเที่ยว 2) เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรประจำท้องถิ่น อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ด้วยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียในเส้นทางท่องเที่ยว ได้แก่ เกษตรกร ตัวแทนภาครัฐและเอกชน และผู้นำชุมชน จำนวน 61 คน ซึ่งได้จากการสุ่มด้วยเทคนิค Snow Ball Sampling Technique ผลการวิจัย พบว่า แหล่งทำการเกษตรในอำเภอบ้านแหลมมีจุดเด่นและเอกลักษณ์ที่น่าประทับใจและมีศักยภาพเพียงพอต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางจราจรหลักคือ เส้นทางคลองโคน-ชะอำ โดยใช้เกณฑ์ทางภูมิศาสตร์ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ ภายใต้กรอบแนวคิด 3 ประการ คือ 1) เน้นการดำเนินการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สร้างความประทับใจด้วยต้นทุนทางสังคมที่ชุมชนมีอยู่ 2) ไม่รบกวนการประกอบอาชีพเดิมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) มุ่งสร้างความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การชมทัศนียภาพ การถ่ายรูป แหล่งนาเกลือและเกลือสปา แหล่งทำการเกษตรที่ศูนย์สาธิตพืชไร่และพืชสวนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ชมพระอาทิตย์ขึ้น ณ บริเวณปากอ่าวบางตะบูน การล่องเรือถีบกระดานเลนในแหล่งทำประมงพื้นบ้านที่คลองบางขุนไทร จากการทดสอบเส้นทางนำร่องพบปัญหาสำคัญ คือยังไม่มีหน่วยงานในท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างแหล่งท่องเที่ยว ดังนั้น แนวทางการพัฒนาจึงควรที่จะได้จัดตั้งคณะทำงานและจัดทำระบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวเพื่อให้มีการเชื่อมต่อระหว่างแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่อำเภอบ้านแหลมและบริเวณใกล้เคียงในรัศมี 30 กิโลเมตร

คำสำคัญ : การท่องเที่ยวเชิงเกษตร  บ้านแหลม  เพชรบุรี

 1คณะเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

 2 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

1 Faculty of Agricultural Technology, Phetchaburi Rajabhat University

2 Faculty of  Industrial Technology, Phetchaburi Rajabhat University

Abstract

This research aims to studies 1) the local area potential in Agro-tourism management and problems 2) local Agro-Tourism trail planning in Ban Laem, Phetchaburi, using participatory research of community acceptation. The 61 direct stakeholders from farmer local public sector, private sector, local communities and associations were sampled by Snow Ball Sampling Technique

The result showed that Agriculture sources in Ban Laem are adequate potential to Agro-tourism management. This trail plan supported the one-day trip, due to traffic flow from Ban Klong Khon – Cha-am District based on the principle of geography. The suitable of this plan were supported by the concepts of 1) emphasized to make learning process and impression experience with base on social capital 2) don’t disturb the traditional living and friendly to the environment 3) stimulate to proud of agriculture. The various activities included: sight-seeing, take photograph at salt pan and spa’s product source, visiting the Royally-initiated Projects at Tha-rang, sunrise sight-seeing at Bang Ta Boon Estuary, and shell picked-up using a mud sled in fisheries area of Bang Khun Zai Channel. The problem was found that lack of the co-ordination between local institute and tourist attractions. So, the system of tourism management should be done for join with other attractions in Ban Laem and in 30 Kilometer radius closely area.

Keywords : Agro-Tourism , Ban Laem, Phetchaburi

หมายเลขบันทึก: 328252เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2010 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจ ร่วมเข้าฟังการบรรยายและแบ่งปันประสบการณ์การวิจัยกันนะคะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้มีโอกาสพบปะและเปลี่ยนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท