น้ำหมัก


โปรดพิจรณา

คำสำคัญ (Tags): #น้ำหมัก
หมายเลขบันทึก: 328757เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2010 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แล้วมันจะรักษาโรคอะไรได้บ้างครับอาจารย์เพราะดูแล้ว...

ขอบคุณอีกหนึ่งมุมคิดที่ดีครับ

ต้องโปรดพิจรณาเอาครับเพราะยังไม่มีสถาบันไหนรับลอง

ไม่ต้องทำน้ำหมักหรอกค่ะ ชาวอีสานใช้ทำอาหารกินกันมานาน ใบใช้แกงหรือใส่ห่อหมกก็อร่อย ผลดิบหรือสุกใช้ตำคล้ายทำส้มตำ มีวิธีทำง่ายๆ นำลูกยอแก่แต่ไม่สุกจนเละ ล้างน้ำ 2 ลูกสับให้ละเอียดฝานเอาแต่เนื้อ ตำกระเทียม พริกตามชอบใส่กะปิ น้ำตาลปี๊บ นำปลาดีปรุงรสตามชอบใจ ใส่เนื้อลูกยอสับลงไปโคลกคลุกเคล้าให้เข้ากันตักใส่จานเสิร์ฟ เท่านี้ก็แซบ

ส่วนสรรพคุณของใบ : ใช้แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้จุกเสียด ชาวฟิลิปปินส์ ใช้ใบสดรักษาแผลเปื่อย ข้ออักเสบในขณะที่ชาวอินเดียใช้เป็นยาสมานแผล และรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง โดยที่ชาวมาเลเซียใช้ใบปิ้งไฟให้ร้อนวางบนอกหรือท้อง เพื่อลดอาการไอ ตับโต คลื่นไส้และเป็นไข้ และในสมัยโบราณของไทยเองยังใช้ใบยอแก้อาการท้องร่วง แก้ปวดตามข้อของนิ้วมือ นิ้วเท้า โดยมีองค์ประกอบด้วย สารแอสเพอรูโลไซด์ (Asperuloside) เบต้า - ซิโตสเตอรอล (ß - sitosterol) กรดอัวโซลิค (ursolic acid) เบต้า - คาโรทีน (ß - carotene) โปรตีน นอกจากนี้ในใบยอยังมีแคลเซียมมากถึง 469 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม ใช้รองห่อหมกก็อร่อย

ผล : แก้อาเจียน ขับลม บำรุงธาตุ โดยใช้ผลยอที่ไม่สุกหรือดิบเกินไป หั่นปิ้งไฟพอเหลืองกรอง ต้มเอาน้ำเป็นกระสาย ใช้ร่วมกับยาแก้คลื่นไส้อาเจียนที่ไม่รุนแรง หรือนำผลดิบหรือผล***มสดประมาณ 2 กำมือ ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบต้มหรือชงน้ำดื่ม เอาน้ำที่ได้จิบทีละน้อยและบ่อยครั้ง ชาวฟิลิปปินส์ ใช้ผลเป็นยาขับระดู

ผลดิบมีคุณสมบัติในการรักษาโรคเหงือก น้ำคั้นจากผลบรรเทาอาการเจ็บคอ ทั้งนี้ผลของต้นยอประกอบด้วยกลุ่มสารสำคัญคือ กลุ่มโมโนเทอร์ปีน (monoterpenes) ได้แก่ แอสเพอรูโลไซด์ (asperuloside) นอกจากนี้ยังมีเบต้า - คาโรทีน (ß - carotene) และนอกจากนี้ในผลสุกยังมีสารหอมระเหย ซึ่งส่วนมากเป็นกรดคาร์บอกซีลีก (carboxylic acid) ได้แก่ กรดอ๊อคทาโนอิก (octanoic acid) กรดเฮกชาโนอิก (hexanoic acid) กรดเดคาโนอิก (decanoic acid) เป็นต้น

เมล็ด : ใช้เป็นยาระบาย โดยในเมล็ดของยอนั้นจะมีน้ำมันประกอบด้วยกรดซิโนเลอิด (ricinoleic acid)

เปลือก : ชาวอินเดียใช้เปลือกของต้นยอนำมาต้มดื่มเป็นยาฝาดสมาน ชาวมาเลเซียใช้ต้มดื่มแก้ไข้จับสั่น ประกอบด้วยกลุ่มสารสำคัญคือ สารกลุ่มควินอยด์ (quinolds) ได้แก่ อะลิซาริน (alizarin) กรดรูเบอรีทริค (ruberythric acid) และรูเบียดิน (rubiadin) การใช้ยอตามสรรพคุณยาไทย แก้คลื่นไส้อาเจียน เป็นสรรพคุณของลูกยอที่รู้จักกันมากที่สุด และสามารถใช้ได้โดยไม่มีพิษภัยอะไรจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท