พืชอาหารเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งกัดใบชนิดที่ ๒๖


อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ผึ้งกัดใบ อาหารเลี้ยงตัวอ่อน เขตอำเภอศรีสวัสดิ์ พืชอาหารชนิดที่ ๒๖ ตะโก โศกน้ำ พืชเลื้อยเกาะพันพืชอื่น ไม่มีดอก ไม่มีหนาม ลักษณะใบคล้ายใบเล็บมือนาง

พืชอาหารเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งกัดใบชนิดที่ ๒๖นี้พบที่ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากเป็นแหล่งที่มีพืชพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดเขียวตลอดปีจึงทำให้แมลงชนิดผึ้งกัดใบสามารถนำชิ้นส่วนของใบมาเป็นอาหารเลี้ยงตัวอ่อนได้ บริเวณที่พบตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ โดยใกล้กับบ้านพักเลขที่ ๑๐๗ ลักษณะทำเลที่พบพืชอาหารชนิดที่ ๒๖นี้เป็นเนินดินสูงประมาณ ๑เมตร มีพันธุ์พืชยืนต้นขนาดใหญ่อยู่ด้านหลังได้แก่ตะโก โศกน้ำ(กำลังออกดอกเป็นแหล่งน้ำหวานของแมลงผสมเกสรหลายชนิด) พืชที่เป็นอาหารของผึ้งกัดใบนี้เป็นพืชเลื้อยเกาะพันพืชอื่นมีลักษณะใบเป็นรูปหอก ขอบใบเรียบ การแตกใบออกจากข้อจะอยู่ด้านตรงกันข้าม ข้อมีความยาวประมาณ๑๕ซม.ใบมีความยาวตั้งแต่ ๑๕-๒๐ ซม.ผึ้งกัดใบจะตัดใบเป็นรอยเว้าขนาดใหญ่ทั้งสองด้านของขอบใบ มักกัดใบยอดหรือใบในข้อที่ถัดเข้าไปไม่เกิน๓ใบ รอยกัดเป็นรอยเว้าขนาดใหญ่ ๓-๕ วง ขอบของรอยกัดจะพบขี้ขุยเส้นใบปรากฏให้เห็นเสมอ เนื่องจากใบมีลักษณะนุ่ม เหนียว มีขนเล็กๆที่เนื้อใบด้วย แต่ไม่สามารถระบุชื่อวิทยาศาสตร์หรือวงศ์ของพืชชนิดนี้ได้เนื่องจากไม่มีดอก ไม่มีหนาม ลักษณะใบคล้ายใบเล็บมือนาง หากต้องการดูภาพของพืชชนิดนี้โปรดเข้าไปที่[email protected] ไปที่รูปภาพ เข้าไปดูรูปได้ครับเตรียมไว้๓รูป เผื่อใครอยากทำวิจัยเรื่องนี้ต่อ ยินดีให้ข้อมูลเพิ่มเติมและมาทำวิจัยร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 331391เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2010 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 07:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท