นายอำเภอโนนสูง นำภาคีการพัฒนา ประชุมปูแนวทางการออกแบบอาคารศูนย์เรียนรู้ฯ บ้านโนนวัด


จัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลตามโครงการลงทุนภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 งบประมาณ จำนวน 6,050,000 บาท ผ่านทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินการจัดแสดงนิทรรศการความรู้ทางวิชาการด้านโบราณคดีที่บ้านโนนวัด

นายอำเภอโนนสูง นำภาคีการพัฒนา
 ประชุมปูแนวทางการออกแบบอาคารศูนย์เรียนรู้ฯ บ้านโนนวัด

ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิรันดร์ ดุจจานุทัศน์ นายอำเภอโนนสูง เป็นประธานในการประชุม    เพื่อหาแนวทางดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ สมัยก่อนประวัติศาสตร์            แหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา    เมื่อวันพุธที่ 27 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ศาลาประชาคม ที่ว่าการอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านโนนวัด ที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 8 ปี      ทำให้ได้ปริมาณข้อมูลทางวัฒนธรรมต่อเนื่องในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินใหม่ ยุคสำริด และยุคเหล็กสู่ปัจจุบัน เชื่อมโยงความเป็นมาของอารยธรรมเขมรโบราณได้ชัดเจนขึ้น และนอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีอายุประมาณ 4500 ปี นับได้ว่ามีความเก่าแก่กว่าบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีถึง 1,000 ปี  และจากการส่งเสริม ผลักดันจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ที่ได้นำองค์ความรู้พัฒนาไปพร้อมกับภาคีพัฒนาท้องถิ่น นำไปสู่การจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลตามโครงการลงทุนภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 งบประมาณ จำนวน 6,050,000 บาท ผ่านทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินการจัดแสดงนิทรรศการความรู้ทางวิชาการด้านโบราณคดีที่บ้านโนนวัด กระบวนการขุดค้นทางโบราณคดี สิ่งที่ค้นพบ และหลุมการขุดค้นทางโบราณคดีจำลองที่นักโบราณคดีได้ขุดค้นบนพื้นที่และได้ปิดหลุมไปแล้ว นอกจากนั้นยังจัดแสดงถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่บ้านโนนวัดจากอดีตถึงปัจจุบัน

จากที่ประชุมสรุปถึงการดำเนินการ ในขั้นแรกจะส่งเรื่องแจ้งให้ทางกรมศิลปากรรับทราบและตรวจแบบอาคาร หลังจากนั้นจึงจะดำเนินการทำสัญญาการก่อสร้างภายในเดือนมีนาคม 2553 และแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานที่ปรึกษา นายอำเภอโนนสูงเป็นประธานในส่วนของการดำเนินการออกแบบอาคาร อาจารย์ทวี วัชระเกียรติศักดิ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นประธานในส่วนนิทรรศการ นอกจากนี้ยังมีนักวิจัยทางโบราณคดี สำนักโบราณคดี สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนตำบลพลสงคราม โยธาธิการจังหวัด และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน

ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : นายชุตินันท์ ทองคำ
วันที่ข่าว : 27 มกราคม 2553

หมายเลขบันทึก: 331811เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2010 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท