เทคโนโลยีกับงานวิชาการ


เทคโนโลยีสร้างคุณค่า

เทคโนโลยีการศึกษาในฐานะเครื่องมือทางวิชาการ

สถาบันการศึกษาใช้เทคโนโลยีการศึกษาใน  2 ลักษณะ คือ ยึดสื่อคนเป็นกลาง กับ ยึดสื่อสิ่งของเป็นหลัก 

      การยึดสื่อคนเป็นหลัก หมายถึง การให้ครู อาจารย์ เป็นแหล่งความรู้หลัก  แล้วใช้สื่อสิ่งของเสริมการสอนของครู  เป็นวิธีที่พบเห็นทั่วไปในสถาบันการศึกษาแบบปิดที่ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบผู้เรียนกับผู้สอนเผชิญหน้ากัน           

      การยึดสื่อสิ่งของเป็นหลัก   การใช้รูปแบบนี้ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า การเรียนรู้อาจเกิดขึ้นได้โดยที่ผู้เรียนไม่ต้องเผชิญหน้ากับผู้สอน  แต่อาจเรียนได้จากสื่อประสมประเภทต่าง ๆ  ในรูปของการศึกษาทางไกล  โดยทั่วไปการใช้ในลักษณะนี้จะพบในมหาวิทยาลัยแบบเปิด  ซึ่งมีการใช้อยู่ 3 ลักษณะ คือ

                   3.3.1 การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นแกน เสริมด้วยสื่อโสตทัศน์ (AV Media) รายการวิทยุ กระจายเสียง   รายการวิทยุโทรทัศน์ การสอนเสริม และสื่อโทรคมนาคม เป็นต้น เช่นที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและมหาวิทยาลัยเปิดแห่งอังกฤษ เป็นต้น

                        3.3.2 การใช้สื่อวิทยุหรือโทรทัศน์เป็นแกน   โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อ ใช้กันที่มหาวิทยาลัยทางอากาศของญี่ปุ่นและมหาวิทยาลัยทางโทรทัศน์ของประเทศจีน

                        3.3.3 การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นแกน   เช่น ที่มหาวิทยาลัยเปิดในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

                  นอกจากนี้  ในปัจจุบันการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ยังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัยแบบปิดทั้งในอเมริกาและยุโรป โดยระบบที่เราเรียกว่า e - Learning

อ้างอิง

ADB, Improving e-Learning Policies and Program. 9 – 13 August 2004, ADB

            Headquarters, Manila Philippines.

Vincent Quah, Benefits, Issuses and constraints in e-Learning. ADB Headquarters,

            Manila Philippines, 2004.

William Horton, Managing e-Learning          Program. ADB Headquarters, Manila Philippines,        2004.

Wiman & Meirhenry, ‘Dale’s Cone of Experience’, 1960.

www.glreach.com

www.elearningeuropa.info.com

 

หมายเลขบันทึก: 334698เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2010 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท