ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

บทสรุปและข้อสังเกตจากการประุชุมคณะทำงานประกันคุณภาพการศึกษา ทอมก ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ ณ ม.เชียงใหม่


บรรยายกาศ
การประชุมคณะทำงานประกันคุณภาพาการศึกษา ทมอก ครั้งที่ ๑
วันจันทร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้องพระยาศรีวิสารวาจา  อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รองศาสตราจารย์ อุษณีย์ คำประกอบ
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา
นำเสนอภาพรวมของการประกันคุณภาพการศึกษาของ ม.เชียงใหม่


ทีม งานประกันคุณภาพการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซักถามประเด็นเรื่อง บุคลากรและงบประมาณในการดำเนินการด้านการประกันคุณภาพของ ม.เชียงใหม่

คณะทำงานจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ประกอบด้วย พระครูพิพิธสุตาทร,ดร. รองอธิการบดีวิทยาเขตเชียงใหม่
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ผศ.ดร, ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ,
พระมหาสุทัศน์ ติสฺสรวาที รักษาการผู้อำนวยการกองวิชาการ,
นางไฉไลฤดี ยุวนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตเชียงใหม่,
และ นายสนธิญาณ รักษาภักดี หัวหน้าฝ่ายมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา

ผศ.ดร.อัจฉราพันธ์ รองคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ม.เชียงใหม่
นำเสนอความสำเร็จในการนำระบบ QA ไปใช้ในการบริหารคณะด้วยรอยยิ้มที่ิพิมพ์ใจและจับใจผู้ฟัง
 

ถัด จากนั้น รศ.นพ.วัฒนา นาวาเจริญ ผอ.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้ร่วมนำเสนอหลักการและแนวทางในการบริหารโรงพยาบาลว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถ ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยหรือประชาชนทั่วไปได้


ถ่ายรูปร่วมกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ด้านประกันคุณภาพจากมหามกุฏราชวิทยาลัย

 

ระเบียบวาระการประชุม

๑. เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

๑.๑ ผลการสัมมนาเรื่อง การพัฒนาคุณภาพเื่พื่อความเป็นเลิศ
๑.๒ ประสบการณ์สร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเซีย
๑.๓ การบริหารความเสี่ยง และความเกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา

๒. เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๒

๓. เรื่องสืบเนื่อง

๓.๑ การเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณาชน

๔. เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๔.๑ ปฏิทินการประชุมของคณะทำงานประกันคุณภาพการศึกษา ทอมก. พ.ศ.๒๕๕๓
๔.๒ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการของคณะทำงานประกันคุณภาพการศึกษา
๔.๓ การจัดทำวารสารเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ

๕. เรื่องอื่นๆ

๕.๑ การเืลือกกลุ่มสถาบันเพื่อรับการประเมินภายนอก รอบสามของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
๕.๒ ร่างตัวบ่งชี้ เกณฑ์มาตรฐาน และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของ สกอ.


ผลจากการประชุม (เท่าที่คิดว่าเป็นประเด็นสำัคัญ)

เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องพระยาศรีวิสารวาจา 

     คณะทำงานด้านการประกันคุณภาพของที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ทอมก.)  ประกอบไปด้วย 

  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  3. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  
  6.  มหาวิทยาลัยเจ้าคุณทหารลาดกระบัง   
  7.  มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี 
  8. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 
  9. มหาวิทยาลัยทักษิณ 
  10. มหาวิทยาลัยมหิดล 
  11. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะเจ้าภาพ

     ได้ร่วมรับฟังบทเรียนความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพจากรองศาสตราจารย์ อุษณีย์ คำประกอบ  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผศ.ดร.อัจฉราพันธ์ รองคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ และรศ. นพ.วัฒนา นาวาเจริญ ผอ.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่า "การประกันคุณภาพ" นั้น มีคุณค่าและความสำคัญต่อการบริหาร หรือเป็นเครื่องในการบริหารให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของคณาจารย์ ผู้บริหารและผู้รับบริการจากการจัดการศึกษา

     ประเด็นสำคัญที่พบคือ งานด้านการประกันคุณภาพเป็นระบบที่เอื้อต่อการปรับระบบในการทำงาน การเปิดโอกาสให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการมหาิวิทยาลัย จนนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของมหาิวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง  อย่างไรก็ดี  ปัญหาที่พบก็คือ ตัวบ่งชี้ของ สมศ. หรือ สกอ. ที่ยังไม่นิ่งนั้น อาจจะทำให้เกิดข้อกังวลต่อการทำงานในด้านการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย ต่างๆ

     สรุปในช่วงเช้า จะเป็นการรับฟังการบรรยาย Best Practice ด้านการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เป็นด้านหลัก และมีการเปิดพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนกัน  ซึ่งประเด็นที่มีการซักถามจากมหาจุฬาฯ และจุฬาฯ คือ บุคลากรและงบประมาณที่เข้ามาสนับสนุนการทำงานด้านการประกันมีมากน้อยเพียงใด และได้มีการนำระบบ KM มาประยุกต์ในการทำงานมากน้อยเพียงใด ได้ผลหรือไม่อย่างไร

เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. ณ ห้องพระยาศรีวิสารวาจา 

     อาจารย์จากมหาิวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  ได้เป็นประธานในการประชุม ซึ่งทำให้พบประเด็นที่น่าสนใจจากการประชุม ดังนี้

    ๑. การเขียนบทความด้านการประกันคุณภาพการศึกษา   ประเด็นนี้เป็นข้อเสนอจากมหามกุฎฯ ตั้งแต่การประชุมที่จุฬาลงกรณ์มหาิวิทยาลัย ที่ต้องการจะให้คณะทำงานด้านการประก้ันของ ทอมก. ได้นำเสนอปัญหา และอุปสรรค รวมไปถึงการทำงานของทำงานต่อผู้สนใจทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำเสนอบทความนี้ในที่ประชุมทางวิชาการทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศ 

    มิติที่ประชุม ได้เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะนำเสนอประเด็นเกี่ยววกับบทบาทของการประกันคุณภาพ ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ และภาพรวมของการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะทำงานที่มีผลกระทบต่อสังคม และการบริหารมหาวิทยาลัย

   ๒. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการของคณะทำงานประกันคุณภาพการศึกษา  ซึ่งประเด็นนี้ แม้จะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และสมควรที่คณะทำงานควรจะกำหนดเป็นกรอบในการดำเนินการในกลุ่มประกันคุณภาพ  แต่ถึงกระนั้น ที่ประชุมก็กังวลว่า เป็นประเด็นที่ค่อนจะใหญ่มาก และต้องใช้ระยะในการดำเนินการในระยะยาว 

   ๓. การจัดทำวารสารเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ  ที่ ประชุมกังวลว่า แม้ว่าคณะทำงานจะทำงานอย่างหนัก  โดยเฉพาะในหลายๆ มหาวิทยาลัยที่ประสบความสำเร็จในด้านการประกันคุณภาพ เช่น มหิดล จุฬาฯ และมธส. สมควรอย่างยิ่งที่จะถอดบทเรียนเหล่านี้ ออกไปเผยแผ่ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงรูปแบบและแนวทางในการทำงาน  ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาระบบประกันในโอกาสต่อไป

   ถึงกระนั้น ที่ประชุมได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะนำเสนอแนวทางเพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ของ ทอมก. ได้พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการ เช่น อาจจะเป็นเอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ที่ใช้แจกในวาระสำคัญต่อไป

   ๔. การเืลือกกลุ่มสถาบันเพื่อรับการประเมินภายนอกรอบสามของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  ประเด็นนี้มีการถกเถียงกันมาก เพราะแต่ละมหาวิทยาลัย ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกกลุ่มใด หรืออยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีการกำหนดกรอบโดยสมศ. ที่จะเข้ามาประก้ันในปี ๕๓ 

ข้อสังเกตต่อการประชุมคณะทำงานด้านการประกันคุณภาพ

   ๑. ควรจะมีการจับคู่ในลักษณะพี่ดูแลน้อง หรือเพื่อนช่วยเพื่อนในระหว่างมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐด้วยกัน เพื่อให้ช่วยเหลือกันในประเด็นการประกันคุณภาพ เช่น จุฬาโลก ช่วยมหาจุฬาธรรม (ทั้งสองมหาิวิทยาลัยมีความสัมพันธ์กันด้านประวัติศาสตร์ และบุคคล เพราะผู้ที่ก่อตั้ง และพระราชทานนามมหาวิทยาลัยทั้งสองคือรัชกาลที่ ๕) มหิดลช่วยเหลือมหามกุฏฯ (อยู่ในพื้นที่ศาลายาเหมือนกันและใกล้กันมากในเชิงภูมิศาสตร์) เพราะทั้งสองมหาวิทยาลัยได้คะแนนสูงมากในการประเมินของสมศ.ในรอบที่ผ่านมา ประเด็นคือ ทั้งสองมหาิวิทยาลัยจะเข้าไปช่วยเหลือในด้านของ Know how อย่างไร มีเครื่องมือ ทรัพยากรอะไรที่จะช่วยกันพัฒนามหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งได้บ้าง

   ๒. ควรจัดลำดับความสำคัญของปัญหา หรือเรื่องที่จะทำว่า คณะทำงานด้านการประกันคุณภาพทั้ง ๑๓ แห่งจะทำอะไรก่อน หรือหลัง เรื่องใดที่ไม่จำเป็นก็ไม่ควรจะไปเร่งเช่น วารสาร หรือบทความทางวิชาการ แต่สิ่งที่ควรทำอย่างเร่งด่วน คือร่างตัวบ่งชี้ว่าควรจะทำอย่างไร มีลักษณะอย่างไร   รวมไปถึงการเลือกกลุ่มสถาบัน ควรมีการพบปะพูดคุุยและแบกเปลี่ยนกัน แบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน ว่าควรจะมีแนวทางอย่างไร มีเทคนิค และวิธีการเลือกอย่างไร   ประเด็นคือ มีการนำเรื่องนี้ไปอยู่ในวาระอื่นๆ แทนที่จะนำไปไว้ในวาระเสนอเพื่อพิจารณาเร่งด่วน  และในขณะเดียวกัน มีเวลาน้อยมากที่จะพูดทั้งสองเรื่องดังกล่าว จึงทำให้พลาดโอกาสดีในการจะได้หาทางออกร่วมกัน

   ๓. ควรจัดกลุ่มทำงาน โดยแยกออกเป็นกลุ่มงานต่างๆ เพื่อให้แต่ละกลุ่มไปทำงาน และหาทางออกร่วมกันและนำมาเสนอในการประุชุมเดือนพฤษภาคม  เช่น กลุ่มจัดทำร่างตัวบ่งชี้ กลุ่มการหาแนวทางเพื่อเลือกสถาบัน กลุ่มการเขียนบทความ กลุ่มกลุ่จัดทำวารสาร และกลุ่มจัดทำยุทธศาสตร์

   ๔. ควรนำ KM ไปเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา จากการสังเกตจะพบว่า แม้ว่า KM จะเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพการศึกษา แต่ถึงกระนั้น มหาวิทยาลัยบางแห่งในประเทศไทย (เท่าที่ค้นดูในอินเตอร์เน็ต) กลับมีท่าทีต่อ "KM" แต่เพียงพิธีการเท่านั้น คือ "มีเื่พื่อให้รู้ว่ามี KM" หรือ "มีเพื่อจะได้บอกคนอื่นว่าเรามี KM" หรือ "มีเพื่อให้ได้คะแนนหรือแต้มในการทำ KM"  นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ดังมากในเรื่องการบริหาร (ไม่ได้อยู่ในทอมก.) เมื่อคลิกไปดูการทำ KM กลับพบว่า เนื้อในเไม่ค่อยสมบูรณ์มากนัก  แต่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้หมายความว่า KM คือทั้งหมดของการทำ QA แต่ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก

    เป็น ที่น่าอนุโมทนาเหลือเกิน ที่ประชุมได้พูดถึงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพราะมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงานและมีเป็น มหาวิทยาลัยในอันดับต้นๆ ในเมืองไทยที่ขึ้นเรื่องการเปิดพื้นที่ทางเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ มากที่สุด ซึ่งผู้เขียนเองได้บอกในที่ประชุมว่า "ระบบการจัดการความรู้ของ Gotoknow" ถือเป็นปฏิมากรรมชิ้นเอกที่มอ. หรือสงขลานครินทร์ได้ดำเนินการ   

   หวัง ใจเหลือเกินว่า มหาวิทยาลัยต่างๆ จะตระหนักรู้ และมองเห็นคุณค่าและความสำคัญในการใช้พื้นที่ "Blog" ในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน แ่บ่งปันเรื่องราวดีๆ หรือประสบการณ์ดีๆ ที่แต่ละท่านพบมาแลกเปลี่ยนกัน  โดยเฉพาะอย่ิางยิ่ง "การประกันคุณภาพที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้" 

   มิฉะนั้นแล้ว เราก็ยังคงหลอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า "เรามี KM เีพียงเพื่อให้มี" แต่เมื่อถามว่า มีประโยชน์อย่างไร หรือใช้อย่างไร

     "เราก็จะหันมาตอบตัวเอง หรือกลุ่มตัวเองว่า 'เออ... เราใช้ประโยชน์เพื่อให้เราได้แต้มจากการประกันคุณภาพการศึกษางัย!!!!!" 

คำสำคัญ (Tags): #mcukm#mcuqa
หมายเลขบันทึก: 334908เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2010 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

นมัสการ ผศ ดร พระมหาหรรษา

พระคุณเจ้าทำงานหนักมากครับ นั่นแสดงถึงการยอมรับที่สังคมมอบให้

ด้วยสำนึกในความเมตตาที่ท่านมอบให้เด็กไทยรัฐวิทยา 63 ขอรับ

นมัสการครับ

มาอ่านด้วยคนครับ

เห็นด้วยครับว่า GotoKnow เป็นเว็บที่มีคุณค่ามาก สำหรับผมเห็นว่าดีที่สุดในประเทศไทยครับ

เพราะหาความรู้ได้อย่างเสรีและหลากหลาย และไม่เป็นพิษเป็นภัย

ผมมีความรู้สึกว่า ผู้รู้ในสถาบันต่างๆ นั้น ยังไม่ได้ให้(เผยแพร่)ความรู้กับคนทั่วไปอย่างเสรี(และไม่มีค่าใช้จ่าย) ทำให้ความรู้ผูกติดกับเงินตรา

ถ้าอยากจะรู้ ก็ต้องเสียเงิน ในโลกธุรกิจก็พอเข้าใจครับ แต่ควรจะมีบ้างที่ให้โดยไม่คิดเรื่องแบบนี้

เป็นการช่วยพัฒนาคนโดยรวม

เว็บเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้ามาเติมเต็ม

แต่ก็มิใช่ เอาข้อมูลใส่ลงบนเว็บแล้วก็ถือว่าให้ความรู้แล้ว แต่ควรต้อง KM ให้เป็นที่น่าสนใจและต้องการด้วยครับ

ผมเห็นเว็บของมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐหลายแห่งที่เป็นผู้นำในการเผยแพร่วิชาต่างๆ อย่างหมดเปลือก ให้คนทั่วไปได้เข้าไปเรียนรู้ได้อย่างเสรี ทั้งที่เป้นข้อความและวีดีโอ

คนไทยอาจจะขาดการกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ก็เป็นได้ครับ ทั้งนี้ ผู้ที่จะกระตุ้นและสามารถพูดในที่สาธารณะให้เกิดแรงบันดาลใจได้ก็มีไม่มากนัก

นมัสการครับ

นมัสการเจ้าค่ะ

เห็นด้วยกับอาจารย์พรชัยในความเห็นที่ 1 เจ้าค่ะ

หวังว่าพระคุณเจ้าจะมีสุขภาพดีเจ้าค่ะ

นมัสการลา

ผอ.พรชัย และโยมณัฐ

  • ขอบคุณมากที่เป็นห่วงสุขภาพอาตมา
  • บอกตามตรงว่า "อาตมาอกตัญญูต่อสุขภาพตัวอย่างเห็นได้ชัดเจน"
  • แต่ก็จะพยายามรักษาเพื่อเราจะได้มีโอกาสพึ่งพาร่างกายของเราทำสิ่งดีๆ งามๆ ต่อสังคมในปัจจุบันและอนาคต
  • เจริญพร

ท่านทูตวรเดช

  • หลายมหาวิทยาลัยค่อนข้างจะสงวน Know how ของตัวเอง อาจจะมาจาก "ความรู้ืคืออำนาจ" ตามที่ ฟรานซิส เบคอนบอกเอาไว้ ฉะนั้น จึงต้องเก็บรักษาเอาไว้อย่าให้รั่วไหล
  • วัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) ในมหาวิทยาลัยยังมีน้อยอยู่  ดีใจที่สงขลานครินทร์ได้ทำให้เราได้เห็นประโยชน์ตรงนี้
  • เราคงต้องพัฒนาตัวเองต่อไป ไปก้าวไปสู่การเปิดพื้นที่ขององค์ความรู้ให้มาก และกระจายออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อพัฒนสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และอุดมปัญญา
  • เจริญพร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท