ช่วงชีวิตที่มีคุณค่า


ในช่วงที่เลวร้ายของชีวิต หากมองอีกมุมหนึ่งก็ถือเป็นช่วงที่มีคุณค่าที่สุดของชีวิต

       เมื่อช่วงปลายปี 52 ทางกรมได้จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งก็ตรวจทุกปี  แต่ไม่เคยตรวจภายใน  แต่ปีนี้เพื่อน ๆ ยุให้ตรวจ เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็ตรวจภายในกันหมดแล้ว  ปีนี้ก็เลยตรวจก็เจอเลย  ปรากฎว่าพบก้อนเนื้อที่มดลูก  กอบัวต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราชเพื่อเข้ารับการผ่าตัดเนื้องอก ตลอดเวลาที่ทำงานมาเกือบ 24 ปี  ไม่เคยเข้าโรงพยาบาลเลย เป็นคนทำงาน ทำงาน และก็ทำงาน  โดยที่เป็นคนโสดไม่มีภาระอะไร  จึงทำงานในความรับผิดชอบอย่างเต็มกำลัง ก็ดูแลตัวเองนะ ชอบออกกำลังกาย และก็คิดเสมอว่าตนเองแข็งแรง (ประมาท)  ก็รู้สึกตกใจเมื่อรู้ว่าตัวเองต้องเข้ารับการผ่าตัด (ผู้ใดเห็นทุกข์ผู้นั้นเห็นธรรม) และได้สำรวจการปฏิบัติตนตลอดระยะเวลาที่เกิดมา ว่าได้ทำสิ่งดีๆ มากกว่าสิ่งไม่ดี  และมีสิ่งใดที่เรายากทำแต่ยังไม่ได้ทำ ก็ไม่มีอะไรเพราะเราอยู่กับปัจจุบันเสียมากกว่า  วันที่ 12 พย.52 เป็นวันที่คุณหมอนัดผ่าตัด ก่อนเข้าโรงพยาบาลคุณแม่บอกให้มานอนกับแม่นะ คุณแม่ให้ใส่บาตรตอนเข้า แม่ผูกข้อมือขวาด้วยผ้าเหลืองที่ห่มองค์หลวงพ่อโตวัดสังฆทาน (ศักดิ์สิทธิ์มาก) ให้พรลูกให้ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง  กอบัวก็เลยถือโอกาสขอขมาแม่  ล้างเท้าแม่ และมอบเงินสดให้แม่ 5,000 บาท ก่อนเดินทางไปโรงพยาบาล  รู้สึกดีที่ได้ทำสิ่งดีกับแม่ ผลการผ่าตัดเรียบร้อยดี ไม่เป็นเนื้อร้าย  และได้กลับมารักษาตัวที่บ้านเมืองนนท์เป็นเวลา 2 เดือน  ตลอดระยะเวลาที่อยู่กับแม่ ได้ทานข้าวพร้อมกัน 3 มื้อ นอนด้วยกัน ได้พูดคุยกับแม่เรื่องเก่า ๆ แม่คอยเอาใจทุกอย่าง ทานนี้ซิลูก นี้ก็ดี นี้ก็อร่อย (แม่อายุ 85ปี) ผิวขาว ใจดี ของกินรอบตัว มีแต่คนเอาของมาให้ แม่อยู่บ้านคนเดียว (คุณพ่อเสียไปเมื่อต้นปี) แม่คงเหงา  ทุกเช้าลูก ๆก็ออกจากบ้านไปทำงานกันหมด  ตกเย็นถึงจะกลับมา  พอกอบัวได้อยู่กับแม่ตลอดเวลา  กอบัวก็เอาใจแม่ทุกอย่างที่ทำได้ เช่น ทาสีบ้านใหม่  ทำรั่วบ้าน ซื้อขนม ซื้อนมให้ทาน หาหมอนวดมานวดแม่ที่บ้าน แม่ดูมีความสุขมาก กอบัวจึงถือว่า ในช่วงเลวร้ายของชีวิต แต่อีกมุมหนึ่งก็เป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าที่สุดที่เราได้มีโอกาสตอบแทนบุญคุณแม่

หมายเลขบันทึก: 335102เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2010 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท