การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วย CAI


การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่าน

การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผลการวิจัยเพื่อศึกษาการพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของกลุ่มตัวอย่างประชากร พบว่า การอ่านอย่างมีวิจารณญาณซึ่งครอบคลุมทักษะการอ่านย่อย 8 ประการ และผลรวมของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณทั้งแปดประการดังกล่าวระหว่างก่อนและหลังการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

จึงสรุปได้ว่า การสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และเมื่อพิจารณาผลการเรียนตามลักษณะของกลุ่มย่อย พบว่านักเรียนทุกกลุ่มมีพัฒนาการการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน

(งานวิจัยของจรรยา บุญปล้อง นิสิตปริญญาเอกสาขาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา)
หมายเลขบันทึก: 335549เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

  • เป็นงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มสาระภาษาไทยมากมาย
  • เมื่อได้ทฤษฎีแล้วอย่าสานต่อถึงภาคปฏิด้วยนะครับ
  • ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท