จดหมายถึงวาเนสสา(ลูกสาว)....การเฉลิมฉลองและพิธีกรรมในช่วงเทศกาลตรุษจีน


ขอแต่เราอย่าได้จำกัดโลกของเราจนแคบเกินไป อาจมีบางสิ่งนอกเหนือจากที่ตาเราเห็น ภูตผี เทพยดา เทวดา นางฟ้า ตราลา เราอาจเรียกสิ่งเหล่านี้อย่างไรก็ได้ และบางครั้งเราอาจเราจะรู้จักสิ่งเหล่านี้ได้ ถ้าหากเราเรียนรู้ที่จะเปิดหัวใจ ที่จะปิดการรับรู้ด้วยความรู้สึก และเชื้อเชิญสิ่งเหล่านี้เข้ามาในชีวิต.....

วันศุกร์ที่ 12 – เสาร์ที่ 13 ก.พ. 53 ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ผมเดินทางมาที่อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรีครับ   ผมมาร่วมกิจกรรมกับ อ.แมน  ปุโรทกานนท์และ อ.แพร่พรรณ เหมวรรณ จากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร(วิทยาลัยเขตนครปฐม) อ.แมน  และ อ.แพร่พรรณมีงานอบรมแกนนำชุมชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน “โครงการพัฒนาเครื่องมือและชุดการเรียนรู้เพื่อการวิเคราะห์ชุมชนท้องถิ่นในระดับตำบลและภูมินิเวศวัฒนธรรม”    โครงการนี้เป็นโครงการความร่วมมือของสถาบันที่ผมทำงานกับภาคีวิชาการในการพัฒนาเครื่องมือการทำงานของชุมชนเพื่อเสริมพลังของชุมชนอีกแนวทางหนึ่งหรืออีกรูปแบบหนึ่งโดยเน้นกระบวนการจัดทำแผนที่ - แผนผังทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรในระดับท้องถิ่น ภูมินิเวศวัฒนธรรมครับ  

เมื่อวานตอนเย็นผมเจอคนรู้จักที่นี่เขาทักผมว่า

อาจารย์ค่ะในช่วงเทศกาลตรุษจีนอาจารย์ไม่ได้อยู่ทำกิจกรรมประเพณีไหว้กับครอบครัวหรือค่ะ

ผมตอบไปว่าผมไม่ได้มีบรรพบุรุษเป็นคนจีนครับ แต่เด็กๆและคนในครอบครัวที่บ้านราชบุรีพวกเขาก็มีกิจกรรมตามประเพณีไหว้กันตามปกติ   ทุกปีผมก็อยู่ร่วมงานด้วย หากแต่ปีนี้มีภารกิจจึงไม่ได้อยู่ร่วมด้วยครับ

เธอบอกผมว่าเธอเองก็ไม่ได้มีบรรพบุรุษเป็นคนจีนเลย  หากแต่ช่วงนี้เป็นเทศกาลที่มีคนไทยเชื้อสายจีนเป็นผู้คนจำนวนมากที่อยู่ในช่วงปฏิบัติพิธีกรรมตามประเพณีไหว้กัน  เธอเลยได้ร่วมจัดกิจกรรมในช่วงเทศกาลนี้ไปกับเขาด้วย

“การมีศรัทธาต่อ บรรพบุรุษ เทพเทวดา ฟ้า ดิน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลวงเป็นเรื่องที่เราทุกคนทำได้ค่ะอาจารย์ ไม่จำเป็นว่าเราต้องมีบรรพบุรุษเป็นคนจีน  อยู่ที่เรานั้นมีศรัทธา  เรามีความเชื่อในสิ่งเหล่านี้หรือไม่”

ตั้งแต่เมื่อคืนจนถึงรุ่งเช้านี้ผมอยู่ในที่พักในพื้นที่ที่ติดกับ“อุทยานทับลาน_เขาใหญ่” พื้นที่ที่เชื่อกันว่าเป็นย่านที่มีโอโชนที่ดีที่สุดของบ้านเรา เมื่อคืนและตอนตื่นนอนตอนเช้า ผมมาครุ่นคิดใคร่ครวญอยู่กับคำทักของคนรู้จักที่ปราจีนบุรีที่ว่า “อยู่ที่เรานั้นมีศรัทธา  เรามีความเชื่อในสิ่งเหล่านี้หรือไม่” คำถามที่ผมถามตัวเองอย่างใคร่ครวญครุ่นคิดคำนึงจึงมีอยู่ว่า “แล้วตัวเราเชื่อในสิ่งเหล่านี้จริงๆหรือไม่”

ผมหยิบหนังสือ “จดหมายถึงวาเนสสา(ลูกสาว)” มาอ่านในช่วงเช้าในท่ามกลางบรรยากาศของธรรมชาติ“อุทยานทับลาน_เขาใหญ่” หนังสือเล่มนี้เป็นของ เจเรมี เฮย์เวิร์ด(คนนี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ควอนตั้มชั้นนำของโลก) ที่คุณเป็ด_พิภพ อุดมอิทธิพงศ์แปล(คนรู้จักคุ้นเคยกัน  ไม่ได้พบกันมานานแล้วสบายดีอยู่หรือเปล่า) เป็นหนังสือที่ผมได้มาเมื่อครั้งไปร่วมสัมมนา"ภูฐาน ดินแดนแห่งความสุขในสังคมโลกยุคใหม่"ของคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯร่วมกับSchool for Wellbeing และสำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เมื่อ30 ม.ค.53ที่ผ่านมา เมื่ออ่านจบทำให้ผมได้คำตอบจากการใคร่ครวญครุ่นคิดคำนึงมาตั้งแต่เมื่อคืนอย่างชัดเจนเลยครับ นี่คือส่วนหนึ่งในคำตอบนั้น

 “....การเฉลิมฉลองและพิธีกรรมเป็นส่วนสำคัญของชีวิต และมีความจำเป็นเช่นเดียวกับการมีอาหาร ประเพณีเป็นการปฏิบัติตามระเบียบของธรรมชาติ ทำให้ชีวิตมนุษย์สอดคล้องตามปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ และเชื่อมโยงมนุษย์กับจิตวิญญาณของธรรมชาติ  จิตวิญญาณเช่นนั้นจะปรากฏและมีชีวิตขึ้นในระหว่างการทำพิธีกรรม ดังเช่นชาวจีนโบราณกล่าวว่า ธรรมชาติสร้างให้เกิดประเพณีและมนุษย์ปฏิบัติตามประเพณี การเฉลิมฉลองจึงเป็นไปเพื่อชีวิต เป็นการไหลของกระแสความปิติสุขตามธรรมชาติ เป็นการฟื้นฟูความปิติเป็นการเน้นย้ำความสำคัญของความสุขเช่นนั้น การรู้สึกถึงความดีงามและความปิติในตัวเราเอง ทำให้สามารถรู้สึกถึงความดีงามในตัวผู้อื่นและรู้สึกถึงจักรวาลอันไร้ขอบเขตซึ่งมีเราเป็นส่วนหนึ่งด้วย...........

....โลกของเราจึงเป็นวงจรที่ไม่รู้จบอันงดงามของการส่งความรู้สึก – พลัง – การรับรู้หรือความเผื่อแผ่

ขอแต่เราอย่าได้จำกัดโลกของเราจนแคบเกินไป อาจมีบางสิ่งนอกเหนือจากที่ตาเราเห็น ภูตผี เทพยดา เทวดา นางฟ้า ตราลา เราอาจเรียกสิ่งเหล่านี้อย่างไรก็ได้  และบางครั้งเราอาจเราจะรู้จักสิ่งเหล่านี้ได้ ถ้าหากเราเรียนรู้ที่จะเปิดหัวใจ ที่จะปิดการรับรู้ด้วยความรู้สึก และเชื้อเชิญสิ่งเหล่านี้เข้ามาในชีวิต.....ขอให้เราได้เฉลิมฉลองกับความไพศาล  ความมีชีวิตชีวา ความดีงามของโลกเถิด  ขอเราได้เชื้อเชิญ เซินยี่ ก้อนหิน และเทพยดา(รวมทั้งปีศาจด้วยถ้าพวกเรากล้าพอ) และใครก็ตามมาร่วมเฉลิมฉลองกับเรา นั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมที่ดีงาม”

.........

เช้านี้ในที่พักในพื้นที่ติดกับ“อุทยานทับลาน_เขาใหญ่”ในช่วงเทศกาลวันไหว้ เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองและร่วมพิธีกรรมในครั้งนี้  ผมจึงได้ร่วมเฉลิมฉลองและร่วมพิธีกรรมด้วยฝึกการปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนวปฏิบัติของ เจเรมี เฮย์เวิร์ดในหนังสือ “จดหมายถึงวาเนสสา(ลูกสาว)” อย่างเปิดใจเต็มเปลี่ยม

เจเรมี เฮย์เวิร์ดมีคำแนะนำวิธีการได้ร่วมเฉลิมฉลองและร่วมพิธีกรรมในแบบที่เรียกว่า “การบ่มเพาะพลังแห่งเมตตา”หรือ “การบ่มเพาะมิตรไมตรี”และการฝึกการปฏิบัติตามแบบ “ทองเลน” ของธิเบตครับ

"ซิงเจียอยู่อี่ ซิงนี้ฮวดใช้ "

  • ซิงเจียกับซิงนี้_ปีใหม่
  • อยู่อี่_ขอให้พบเจอแต่สิ่งดีดี
  • ฮวดใช้_ขอให้โชคลาภเพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้นไป

ครับในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ผมขอร่วมเฉลิมฉลองและร่วมพิธีกรรมในโอกาสนี้ด้วยครับ

 

หมายเลขบันทึก: 336123เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2010 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

  • ขอร่วมแสดงความรักในศรัทธาของคนไทยเชื้อสายจีนด้วยคนค่ะ
  • เรื่องนี้โดนใจมากค่ะ
  • โครงการพัฒนาเครื่องมือและชุดการเรียนรู้เพื่อการวิเคราะห์ชุมชนท้องถิ่นในระดับตำบลและภูมินิเวศน์
  • เขาเปิดโอกาสให้คนสนใจเข้าไปร่วมเรียนรู้และสังเกตการณ์บ้างไหมคะ
  • พี่ครูคิมสนใจมากค่ะ

"ซิงเจียอยู่อี่ ซิงนี้ฮวดใช้ "ครับคุณครูคิมP

  • โครงการพัฒนาเครื่องมือและชุดการเรียนรู้เพื่อการวิเคราะห์ชุมชนท้องถิ่นในระดับตำบลและภูมินิเวศวัฒนธรรม”อยู่ระหว่างการพัฒนาเครื่องมือและชุดการเรียนรู้ในพื้นที่ครับ
  • เราตั้งใจจะจัดเวที ลปรร.ในเรื่องนี้เป็น COP หนึ่งของคนทำงาน(เป็นCOPการวิเคราะห์พื้นที่และชุมชน)
  • มีกิจกรรมเวที ลปรร.ในเรื่องCOP นี้เมื่อไหร่จะแจ้งคุณครูคิมครับ
  • ขอบคุณครับ

"ซิงเจียอยู่อี่ ซิงนี้ฮวดใช้ " ครับคุณเบดูอินP

เฮงเฮงและเฮงสมใจนึกตลอดปีเสือครับคุณเบดูอิน

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท