เขานำเสนอจนเราชอบและเราก็ซื้อ


        เป็นเรื่องราวที่ว่า  หากใครนำเสนออะไรที่ดี ๆ เราสนใจ  หากเขานำเสนอเพื่อการขาย เราชอบและเราก็ซื้อ...  บันทึกนี้ยังเกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปยัง "ไข่เค็มไชยา" อีกครั้งยังมีข้อมูลบางส่วนที่ทางกลุ่มเขาเปิดเผยไม่ปิดบัง  ผมจำจดเอามาเล่าต่อ  ใครเอาไปทางกลุ่มเขาไม่ได้ว่านี่มุมมองหนึ่งนะครับ  อีกมุมมองหนึ่งเป็นการนำเสนอเพื่อการขาย  แต่ที่สำคัญใส่ใจในความรับผิดชอบด้วย (ดีนะครับ)  ผมเขียนบันทึกไข่เค็มไชยาเอาไว้เมื่อครั้งที่แล้วที่นี่>>  อ่านบันทึกที่แล้ว  ยังมีเรื่องเล่าในส่วนของสูตรที่ยังเก็บอยู่วันนี้มาเล่าต่อ

        ประธานกลุ่ม อสม.พี่ประสงค์  เล่าว่าไข่เค็มไชยา ที่ผลิต ณ ที่กลุ่มฯนั้น  จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิม ไข่เค็มออกมาเป็นสีแดงแบบ "แดงดาวเรือง"  และมีความเป็นทรายที่รู้สึกได้  เมื่อนำไปต้มกิน  นี่นะครับตามที่ฟังเล่า นั่นเพราะว่าต้องคำนึงถึงตั้งแต่การผลิต"ไข่สด" ออกมาก่อนโน้นเลย   ถอยหลังกลับไปที่โรงงาน "ไข่"  คือเป็ด คนเลี้ยงเป็ดให้เป็ดกินอะไร  ที่ไชยานี่เลี้ยงให้กินปลา  และต้องคำนึงการให้อยู่แบบเป็นสุขให้สุขภาพจิตดีแก่เป็ดด้วย  เป็ดอารมณ์ดีไข่ก็มีคุณภาพดีสีสดใส  ทราบว่าได้ทดลองแล้ว ว่าเป็ดที่มีการเลี้ยงให้มีความสุข  กับ การเลี้ยงแบบเป็ดมีความเครียด ไข่ที่ออกมา  ไม่เหมือนกัน  เคยทดลองนำไปทอด"ไข่ดาว" แล้วคุณภาพที่ได้ไม่เหมือนกัน

       เรื่องของขนาด  ที่ไชยา ใช้มาตรฐาน ไข่เป็ด 300 ฟอง ชั่งแล้วต้องได้ 22 กิโลกรัม นี่คือ เกรดเบอร์ ๑  และนี่คือ วัสดุดิบที่ผลิตเองภายในกลุ่ม

       ที่นำมาจากภายนอกหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือเกลือ  ก็ซื้อจากจังหวัด 3 สมุทร  

       ดินเหนียว(ดินปลวก) มีในท้องถิ่น : เล่าว่า ขายไข่แถมดิน  เพราะดินไชยานั่นไปทั่วประเทศ และสูญเสีย(มุกตลก) ดินไปไม่น้อยในแต่ละปี  ใครมาเยี่ยมก็ต้องเอาดินของเขาไป  เขาก็ต้องให้ด้วยความจำใจ

                    "แต่ทำไมยังขายไข่เค็มอยู่น่ะ น่าจะเลิก อิอิ"

       ขี้เถ้าแกลบ : แรก ๆ ก็สงสัยอยู่นะครับ ทำไมไข่เค็มพอกด้วยแกลบเผาสีดำ ๆ มาดูที่ไชยาแล้วเขาก็เผยให้ฟังว่า ผลลัพธ์ที่ต้องการจากแกลบก็แค่ "ป้องกันการเลอะเทอะ" เท่านั้นเอง  

       น้ำ : ดูว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ มีอยู่เยอะแยะแต่ไม่ง่ายเหมือนกัน  น้ำฝนใช้ไม่ได้ (เป็นอะไรที่เปลี่ยนไปแล้ว  เพราะเมื่อก่อนเราได้กินน้ำฝนแล้วสดชื่นรับน้ำฝนใส่ขวดเก็บไว้รับแขกเมื่อยกมาบอกว่ามีน้ำฝนให้ท่านดื่ม ปัจจุบันไม่มีใครกล้ากินน้ำฝนแล้ว) ต้องใช้น้ำธรรมดาทั่วไปที่ให้มั่นใจว่าสะอาด ที่สำคัญต้องต้มให้สุกก่อนด้วย นี่เคล็ดลับ

       สูตร : ดินจอมปลวก 3 ก.ก.  เกลือ 1 ก.ก. ไข่คุณภาพที่คัดแล้ว 80-100 ฟอง น้ำต้มสุก 

        ผสมดินกับเกลือ ใส่น้ำให้เป็นโคลน ความหนืดประมาณไหน  ก็คือเมื่อเอาไข่จุ่มจุ่มลงได้ จุ่มแล้วยกขึ้นโคลนต้องติดไข่หนาพอควร (ถ้าหากจะทำต้องทดลองเอา) แล้วนำลงคลุกขี้เถ้าแกลบ ป้องกันเลอะ  เก็บไว้นับไป ประมาณ 7 วัน ท่านก็ทอดไข่ดาวได้แล้ว

       และนี่ขั้นตอนทั้งหมดที่เขานำเสนอ  ได้รับมาในครั้งที่ไปดูงาน เขาให้เราดู ทำให้เราเห็นไม่ปิดบังอะไร  มั่นใจว่าดีจริงเราต่างก็ซื้อกลับมาในที่สุด

หมายเลขบันทึก: 336384เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2010 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องในการทำ "ไข่เค็มไชยา" ค่ะ...ที่บ้านไข่เค็มไชยานี้เป็นสิ่งที่เป็นเมนูขึ้นโต๊ะบ่อยค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • เป็นคนใต้แต่ก็ยังชอบไข่เค็มไชยา
  • ขึ้นกรุงเทพไปหาลูก ต้องหอบไปทุกครั้ง
  • 3 กล่อง 100  บาท คิดแล้วใบละ 7 บาท
  • ลองใช้สูตรนี้ทำดู เผื่อจะขายแข่งกับไชยา
  • ชื่อไข่เค็มลานสกา ดีไหมค่ะ
  • จะนำสูตรให้นักเรียนฝึกทำด้วย
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะ พี่ชาญวิทย์

เมื่อวานกลับจากกรุงเทพ ในรถยังได้คุยกันเรื่อง สูตรไข่เค็มชัยยา ก้ามปูสงสัยว่าเค้ามีสูตรอย่างไรบ้างนะในการทำไข่เค็มให้พอดี

บางท่านในรถ บอกว่า เอาเกลือใส่ในน้ำให้ละลายจนเกลือิ่มตัวแล้ว (เกลือไม่ละลายแล้ว)เราก็เอาน้ำเกลือไปผสมกับดินเหนียว แล้วจึงนำมาห่อไข่ไว้ และ เอาไข่ไปคลุกกับแกลบ ไม่คิดว่าวันนี้จะได้อ่านจากของพี่อีกที แต่ที่น่าสงสัยเพิ่มเติม ว่าทำไมจะต้องเป็นแกลบที่เผาแล้วด้วยคะ

สวัสดีครับ คุณnoktalay

กลุ่ม อสม.ที่ไชยา ผลิตไข่เค็มเป็นสินค้าOTOP ที่ได้เห็นมีโล่ห์รางวัลหลายรางวัลครับ

ด้วยความยินดี ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ

ชาญวิทย์-นครศรีฯ

สวัสดีครับ คุณดาวเรือง

จำนวนร้านที่ขายไข่เค็มไชยา เขาบอกว่ามีถึง 350 ร้านนะครับ มีหลายเจ้าผลิต

บันทึกที่ผมเขียนเป็นข้อมูลที่ไปเห็นของจริงที่กลุ่ม อสม. ครับ

ชาญวิทย์-นครศรีฯ

น้องก้ามปู

ไม่เจอนานเลย สบายดีหรือเปล่าครับ น่าจะมีกิจกรรมร่วมแบบบรรยายปี 50-51 อีกบ้างน่ะ คิดถึงทีมงานเก่า ๆ ที่ทำงานร่วมกันทาเสมอครับ

สำหรับวิธีการดูว่าเกลืออิ่มตัวแล้วยัง ถ้าดองแบบใช้น้ำเกลือก็ ละลายเกลือแบบและใส่ข้าวสุกลงทดสอบความเค็มครับ หากข้าวสุกจมแสดงว่ายังใช้ไม่ได้ แต่ถ้าข้าวสุกลอยนั่นแหละใช้ได้แล้ว ลองดูแล้วกันครับ สำเร็จอย่างไรมาเล่าแลกเปลี่ยนบ้าง

ชาญวิทย์-นครศรีฯ

สวัสดีครับ

  • ความจริงใจของ วิสาหกิจ ที่มาจากชาวบ้าน ของจริง
  • บางครั้ง เขามาขายกระดาษแผ่นเดียว พุดเก่งๆหน่อย เราก็ยังซื้อ หลงซื้อ ไปได้งัย..ไม่รู้

สวัสดีค่ะ พี่ชาญวิทย์

โนด-นา-เล ชื่อดีนะค่ะ

สวัสดีครับแวะมาเยี่ยมชมครับ

อย่าลืมมีเวลาลงทะเบียนไปร่วมงาน GotoKnow Forum ครั้งที่ 2 : เปิดรับลงทะเบียนออนไลน์แล้ว

ข่าวล่าสุดครับ ..กลุ่ม ไข่เค็ม อสม. เพิ่งได้รับรางวัลที่ 2 งานประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท