ระบบอินเทอร์เน็ต


อ่านแล้วมีประโยชน์หรือเปล่าตอบหน่อย

เรียนรู้ระบบอินเทอร์เน็ต  

บริการที่ใช้ในระบบอินเทอร์เน็ต   สามารถแบ่งได้ ดังนี้

              (1)    ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail)

                          ในปัจจุบันมีโปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นมากมาย  แต่โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้รับส่งได้เฉพาะในรูปของตัวหนังสือเท่านั้น  แต่ถ้าผู้ใช้ต้องการจะส่งรูปภาพสามารถจะทำได้โดยการติดภาพไปกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ๆ   การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการศึกษาสามารถทำได้ในส่วนของการส่งเอกสาร

              (2)  แหล่งข้อมูล (Information sources)

                        เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เชื่อมกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ   ทั่วโลกหลายร้อยล้านเครื่อง  ทำให้การหาข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย  และน้อยครั้งมากที่ผู้ใช้จะต้องจ่ายเงินเพื่อข้อมูลนั้น ๆ    การใช้แหล่งข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตจะใช้ระบบเวิลด์ไวด์เว็บเข้ามาดำเนินการ    เวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงส่วนหนึ่งในระบบอินเทอร์เน็ตที่เพิ่งเริ่มจะเกิดเมื่อ 4 - 5 ปีที่ผ่านมานี้   และก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นสื่อการสอนทาง ไกลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกประเภท

              (3) กลุ่มแลกเปลี่ยนข่าวสารและสนทนา (Discussion groups and Listservs)

                        บุคคลที่เข้าใช้ระบบอินเทอร์เน็ตสามารถร่วมสนทนาในหัวข้อต่าง ๆ  ตามที่มีการจัดตั้งกลุ่ม  และผู้ที่สนใจในหัวข้อนั้น ๆ สามารถที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกกับกลุ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือถ้าผู้ใช้ไม่พบหัวข้อที่ตนเองต้องการแสดงความคิดเห็นก็สามารถตั้งกลุ่มขึ้นมา การเรียนการสอนที่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตสามารถใช้ประโยชน์จากกลุ่มแลกเปลี่ยนข่าวสารและสนทนาโดยให้สมาชิกในกลุ่มวิชาเดียวกันตั้งหัวข้อที่เรียน

              (4) การประชุมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet conferencing)

                        การประชุมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมีหลักการทำงานที่จะเชื่อมโยงการสนทนาแพร่ภาพจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งหรือหลายจุดในเวลาเดียวกันโดยผ่านสายโทรศัพท์หรือดาวเทียมหรือเส้นใยนำแสง  เพื่อให้ผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่มสามารถติดต่อกันโดยเห็นภาพหรือไม่เห็นภาพก็ได้  ประโยชน์ของการใช้การประชุมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในการศึกษาคือทำให้ห้องเรียนทางไกลมีบรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมือนกับห้องเรียนปกติมากขึ้น

              (5) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning)

                        Asynchronous learning คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตารางที่กำหนดไว้ (Synchronous learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้  

                  แนวคิดเกี่ยวกับ Asynchronous learning เป็นการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  การสื่อสารและความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ต่าง ๆ  มาใช้ให้เป็นประโยชน์เพื่อการศึกษา 

              อ้างอิง

กิดานันท์  มลิทอง เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

หมายเลขบันทึก: 336390เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2010 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท