การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน


เราจะทำอย่างไรที่จะให้ชีวิตการทำงานในแต่ละวันของเรามีความสดชื่นและตื่นตัวอยู่เสมอ

การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน  
       การทำงานหากขาดแรงจูงใจในการทำงานแล้ว  อาจมีผลทำให้การทำงานขาดชีวิตชีวาและน่าเบื่อดังนั้น  เราจะทำอย่างไรที่จะให้ชีวิตการทำงานในแต่ละวันของเรามีความสดชื่นและตื่นตัวอยู่เสมอ  เราควรทราบถึงสาเหตุหรือที่มาของแรงจูงใจเป็นลำดับแรก  เพื่อที่จะได้หาวิธีการในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นต่อไป  เช่น  อาจจะเนื่องมาจากความต้องการหรือแรงขับ  หรือสิ่งเร้าใจ  ในบุคคลต่างๆในสังคมก็มักมีแรงจูงใจไว้พอสังเขปดังนี้
1.  ความต้องการ  (need)  เป็นสภาพที่บุคคลขาดสมดุล  เกิดแรงผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อสร้างสมดุลให้ตัวเอง  นักจิตวิทยาได้อธิบายเรื่องความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และได้จำแนกเป็น 2 ประเภท  ดังนี้
    ความต้องการทางกาย  (physical  needs)  เป็นความต้องการที่เกิดจากธรรมชาติของร่างกาย

    -  ความต้องการทางสังคมหรือความต้องการทางจิตใจ  (social  or  psychological  needs) เป็นความต้องการที่เกิดจากการเรียนรู้ทางสังคม 

2. สิ่งล่อใจ  (incentives)  เป็นสิ่งชักนำบุคคลให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
3.  การตื่นตัว  (arousal)  เป็นภาวะที่บุคคลพร้อมที่จะแสดงพฤติกรรม  สมองพร้อมที่จะคิด  กล้ามเนื้อพร้อมที่จะเคลื่อนไหว  พฤติกรรมของมนุษย์พบว่า  การตื่นตัวมี 3 ระดับ  คือ  การตื่นตัวระดับสูง  การตื่นตัวระดับกลาง  และการตื่นตัวระดับต่ำ 
4.  การคาดหวัง  (expectancy)  เป็นการตั้งความปรารถนาหรือการพยากรณ์ล่วงหน้าของบุคคลในสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป 


ที่มา  :  ฝ่ายแนะแนวการศึกษา  จากข่าว  มสธ.  ประจำเดือน  เม.ย. - มิ.ย.  2550

หมายเลขบันทึก: 336442เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2010 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท