ยีนดัง>>>ยีนดาด จุดเล็กๆที่สำคัญ และจิตวิทยาการขอ


Appreciative Inquiry : การขอให้ได้คุยกัน

สวัสดีครับชาว G2K ทุกท่าน.... วันนี้เป็นวันที่ผมยุ่งมากมาย

ไม่ได้ยุ่งแบบนี้มานานละ เลยรู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ - -"

วันนี้ได้ไปเปิดมุมมองใหม่ๆกับธุรกิจประกันชีวิตมาครับ

รู้สึกดีกับธุรกิจประเภทนี้ขึ้นเยอะเลย เดี๋ยวจาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อๆไป ^^

สำหรับวันนี้... ขอเล่าเรื่องราวที่น่าจะเป็นประโยชน์กับองค์กรหลายๆองค์กรสักหน่อยครับ

ก่อนที่จะเข้าสัปดาห์"ภาพยนตร์"ตามความตั้งใจของผม ( กะจะอัพเรื่องราวจากหนัง 7 วัน 7 คืนเลยครับ)

อยากให้นำ"ภาพยนตร์"เรื่องไหนมานำเสนอ ก็สามารถแนะนำกันมาได้ครับ ผมจัดจะให้อย่างเร่งด่วนกันเลยทีเดียว ^^



เรื่องราวในวันนี้ผมเชื่อเหลือเกินครับว่า หลายๆองค์กรอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ แถมบางทีมองเป็นปัญหาซะด้วยซ้ำ

เคสนี้เป็นเรื่องเล่าของอาจารย์สุดเลิฟของผมอีกแล้วครับ (อาจารย์โย นั้นเอง ^^) เป็นเรื่องราวของบริษัทยีน Levi's

ที่เกือบจะกลายเป็นยีนดาดๆไปซะแล้ว เพราะว่าความเชื่อมั่นที่มากเกินไปของเด็กยุคใหม่ ที่มองว่าจุดเล็กๆจุดนี้

เป็นสิ่งที่ทำให้การทำงานขาดประสิทธิภาพ... หลายๆท่านคงจะสงสัยว่า จุดเล็กๆจุดนี้คืออะไร... ลองทายกันดูครับ

ให้เวลา 5 วิ... 1... 2... 3... 4... 5 หมดเวลาครับ คำตอบก็คือ "การได้พูดคุยกันของคนในองค์กร" ย้ำนะครับ ในองค์กรทั้งองค์กร

เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น ทำไมมันถึงได้ส่งผลกระทบต่อ Levi's ได้มากมายขนาดนั้น ตามผมมาเลยครับ ^^



เรื่องมีอยู่ว่า สมัยก่อน Levi's มีการจัดรูปแบบสำนักงานอย่างไม่เป็นระบบ ว่าง่ายๆคือ "มั่วไปหมด" คือฝ่ายครีเอทีฟ

ก็นั่งโต๊ะติดกับฝ่ายธุรการ เยื่องกับวิศวกร ถัดกับดีไซเนอร์ อะไรแบบนี้ครับ... ทีนี้ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกจะเป็นรุ่นลูกของ Levi's

เข้ามาบริหารงานต่อจากคุณพ่อ เขาก็ได้เข้ามาดูในสำนักงานและเห็นรูปแบบของสำนักงานเป็นแบบมั่วๆไม่เป็นระบบระเบียบ

ลูกของเขาจึงมองว่า การจัดรูปแบบสถานที่ทำงานแบบนี้ "มันไร้ประสิทธิภาพ" งานจะออกมาดีได้อย่างไร เมื่อคิดอย่างนั้น

เด็กคนนี้ก็ได้สั่งให้ทุบตึกสำนักงานเดิมทิ้ง และก็ออกแบบใหม่เป็นชั้นๆ แยกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจนว่าแผนกไหนอยู่ตรงไหน

เช่น- วิศวกรก็จะนั่งในโซนของเหล่านายช่าง ดีไซเนอร์นักออกแบบก็จะมีห้องเฉพาะของตน ซึ่งถ้าคิดในแง่ของประสิทธิภาพ

ในการทำงานหลายๆท่านคงจะคิดว่าแบบใหม่ที่เด็กคนนี้ทำขึ้นน่าจะดีกว่า... ซึ่งก็ดีอยู่ครับ.. แต่หายนะกำลังจะตามมา...



ด้วยโครงสร้างแบบใหม่นี้
ประสิทธิภาพในการทำงานของ Levi's ดีขึ้นครับ... สามารถผลิตได้จำนวนที่มากขึ้น  เร็วขึ้น

แต่... ดีไซน์ และรูปแบบของกางเกงยีนนั้นกลับไม่เป็นที่นิยมเหมือนแต่ก่อน ยอดขายตก(ซะงั้น) จากแต่ก่อน Levi's

เป็นยีนที่ได้รับความนิยมสูงสุด กลายมาเป็นยีนดาดๆในสายตาของผู้บริโภค เด็กหนุ่มคนนี้จึงเริ่มหาสาเหตุว่า "ทำไมถึงเป็นแบบนั้น?"

เขาเลยมองย้อนกลับไปว่าในอดีตตอนที่ได้รับความนิยมนั้นมันเป็นยังไง และก็ได้ข้อสรุปว่าสาเหตุของปัญหาอาจจะมาจากระบบใหม่

ที่เขาได้วางเอาไว้ก็ได้
เขาจึงได้ทำการปรับตำแหน่งที่นั่งให้เป็นแบบ"มั่วๆ"เหมือนแต่ก่อน ที่คุณพ่อของเขาได้เคยทำเอาไว้

หลังจากนั้นไม่นาน ดีไซน์ และรูปแบบของกางเกงยีน Levi's ก็กลับมาเป็นที่นิยมของผู้บริโภคอีกครับ... แปลกไหมละครับ



ตัดมาที่จุดนี้ครับ... มาดูกับครับว่า Levi's เกือบจะพังเพราะเหตุใดกันแน่... ตามผมมาเลยครับ ^^

จะเห็นได้ว่า... ในยุคคุณพ่อ Levi's ไม่มีการจัดโต๊ะทำงานให้เป็นสัดเป็นส่วน ว่าง่ายๆคือมั่วไปหมด ซึ่งตรงจุดนี้ละครับ ทำให้

"พนักงานในทุกๆแผนกมีโอกาสได้คุยกัน" การที่พนักงานได้คุยกันแบบนี้ มันจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กรขึ้นครับ

(ถ้าเรียกภาษา KM ก็คงจะตรงกับ Socialization) ต้องยอมรับครับว่า ไอเดียใหม่ๆเกิดขึ้นจากจุดนี้มากทีเดียว

ซึ่งต่างกับรุ่นลูกครับ ที่จะเน้นแต่"ประสิทธิภาพในการทำงานเพียงอย่างเดียว" จนลืมนึกถึงพื้นฐานที่สำคัญนี้ไป และไม่น่าเชื่อครับ

การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นเกือบทำให้ Levi's สิ้นชื่อกันเลยทีเดียว... ผมขอเรียกเคสนี้ว่า "การขอให้มีโอกาสได้คุยกัน"ละกันครับ ^^



เป็นอย่างไรกันบ้างครับ... กับ "การขอให้มีโอกาสได้คุยกัน" ปัจจุบันนี้หลายๆบริษัทพยายามที่จะให้พนักงานได้มีโอกาสคุยกันมากขึ้น

การได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดของพวกเขาเหล่านี้ จะช่วยสร้างไอเดียใหม่ๆให้กับองค์กร ซึ่งสิ่งนี้จะกลายเป็นจุดแข็งที่จะทำให้

องค์กรของท่านสามารถทื่จะปรับตัวได้ทันต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้เป็นอย่างดีเลยละครับ ^^

ลองนำไปปรับใช้กันดูครับ... ผมคิดว่าในอนาคตสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรของท่านมีความมั่นคง และยั่งยืนต่อไป



แล้วคุณละคิดยังไง ^^


หมายเลขบันทึก: 336916เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2010 00:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เจ๋งดีอ่ะ..... เจ้าหน้ามักจะไม่ค่อยชอบให้ลูกน้อยคุยกัน โดยมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เสียเวลาทำงาน

คนก็คุยกันน้อย สื่อสารกันน้อย เพราะเวลาที่เร่งรีบ และการทำงานทีต้องแยกกัน แบบอยู่ใครอยู่มัน ต่างคนต่างทำ

ก็จริงนะบางที่การอยู่ในองค์กรแบบมั่วๆ รวมๆ คนได้คุยกันมากๆไอเดียก็เกิด น่าคิดๆๆ

อิอิ

เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ได้ผลดีอย่างน่าประหลาดใจเลยครับ

ผมเองได้มาทำ AI Project ได้มีโอกาสพูดคุยกับคนอื่นมากขึ้น

แล้วความคิดบรรเจิดก็เกิดขึ้นมากมายครับ

สุโค้ย!!!!!!! ^^

ขอบคุณสำหรับคอมเม้นครับ

@คุณNinG - WerN >>> มันเป็นเหมือยสภาพแวดล้อมทำให้มันเป็นไปโดยอัตโนมัติครับ... อาศัยหลักง่ายๆคือมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ยังไงก็ต้องคุยกันครับ.. ในช่วงแรกๆอาจจะเป็นเรื่องไร้สาระก็จริงครับ... แต่ในท้ายที่สุดมันก็จะวกกลับมาเรื่องงาน การคุยกันแบบไม่เป็นทางการแบบนี้ เป็น Model ที่บริษัทญี่ปุ่นใช้ครับ ซึ่งทำให้เกิดนวัตกรรมมากมายเลยทีเดียว ^^

@คุณFruiterman >>> ครับ... ผมก็ได้อะไรๆจากการนั่งคุยกันกับชุมชนของเรา (กลุ่มผู้ทำ AI) ได้เรื่องราวดีๆมาจากการคุยกันแบบไม่เป็นทางการนี้เยอะครับ เพราะนอกจากจะได้แชร์ประสบการณ์ให้คนอื่นแล้ว ยังมีโอกาสได้"ฟัง"แง่มุมต่างๆของคนอื่นเพิ่มเติมด้วย ^^

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาครับ ^^

เคยดูการทำการค้าของจีนในสมันโบราณมั้ย

นายจ้างและลูกจ้าง ยังนั่งทานข้าว

ร่วมโต๊ะเดียวกันด้วยซ้ำ

การขอแบบนี้ที่ไพรัชช์พูดน่ะ

เหมือนกับการคุยกันนอกเหนือเรื่องงานด้วยก้อาจเป็นได้นะ

เพราะนัก creativity ล้วนแล้วแต่

ต้องคิดนอกกรอบเยอะๆ เข้าไว้

ไม่ใช่จำกัดแค่ในอ๊อฟฟิตของตัวเองเท่านั้นค่ะ

jw

ทนดีครับ

ชอบ

เอาไว้ใส่ เชียร์หงษ์อิอิ

ขอบคุณสำหรับคอมเม้นครับ

@พี่แจ๋วแหวว >>> อ๋อครับพี่... ถูกต้องครับ ไม่จำเป็นแต่ในที่ทำงานครับ อย่างประทเศญี่ปุ่นที่ชอบจัดเลี้ยงพนักงานโดนมีหัวหน้าเป็นเจ้ามือ การเลี้ยงแบบนี้ก็จะเกิดการเรียนรู้กันได้ครับ เรียกง่ายๆว่าการคุยกันแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งให้ผลดีที่เดียวครับ ^^

@ครูโย่ง >>> แหมๆ เด็กผีต้องบอกว่าเอาไว้ใส่แช่งหงส์หรือเปล่าครับอาจารย์ ^^

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาครับ ^^

ก่อนอื่นต้องขอบคุณที่นำเรื่องราวดีๆมาแบ่งปันนะคะ
รู้สึกแปลกใจในตอนแรกเช่นกัน ว่าทำไมปรับเปลี่ยนเป็นระบบใหม่
แล้วการออกแบบกลับไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค
แต่พอลองกลับไปใช้ระบบเดิม กลับทำให้เป็นที่นิยมอีกครั้ง

เลยทำให้ได้แง่คิดว่า "อะไรที่โบราณท่านกล่าวไว้/ทำไว้
เราก็ไม่ควรที่จะละทิ้งเสียทีเดียว เพราะบางที สิ่งที่เคยทำไว้
อาจจะเป็นสิ่งที่มีค่าที่บางครั้งเราอาจมองไม่เห็นก็ได้"

รู้สึกเห็นด้วยค่ะ ที่ควรจะให้พนักงานได้มีโอกาสพูดคุยกัน
เพราะบางครั้งบางคำพูดเล็กๆของคนอื่น ก็อาจจะจุดประกายความคิดของเราได้

ขอบคุณที่แวะมาครับ

จริงอย่างต้อมว่าเลยนะ บางทีสิ่งเดิมๆมันก็มีอะไรดีๆแฝงอยู่เสมอ

จะลื้อทิ้งไปซะหมดก็ไม่ถูก บางอย่างที่มันดีก็ควรจะคงไว้

และเห็นด้วยอย่างแรงครับ... คำพูดเพียงไม่กี่คำของคนอื่นๆ อาจจะจุดประกายความคิดที่สุดยอดให้กับเราได้จริงๆ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท