การบริหารกับระบบอินเทอร์เน็ต


การบริหารกับระบบอินเทอร์เน็ต

การบริหารกับระบบอินเทอร์เน็ต

          ในกระบวนการประยุกต์คอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบันนี้ไม่มีงานใดจะได้รับความสนใจและขยายตัวกว้างขวางเท่ากับระบบอินเทอร์เน็ต

          ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่กว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมทั่วโลก มีผู้ใช้มากมายหลายล้านคน บางคนกล่าวว่าเป็นอภิมหาเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายอื่น ๆ เข้าด้วยกันและทำให้ สมาชิกอินเทอร์เน็ตหลายล้านคนสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ ทำให้บริษัททำธุรกิจซื้อขายสินค้า  และบริการผ่านอินเทอร์เน็ตได้  ทำให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ระบบอินเทอร์เน็ตยังเคยช่วยชีวิตคนโดยการทำให้นายแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปสามารถให้คำปรึกษาแก่นายแพทย์ในประเทศจีนที่กำลังหมดหวังกับการรักษาผู้ป่วยรายนั้น และที่แปลกแต่จริงก็คือระบบอินเทอร์เน็ตเคยทำให้หนุ่มสาวหลายคู่มาพบกันและแต่งงานกันในที่สุด

           ระบบอินเทอร์เน็ตเกิดจากความจำเป็นของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐฯ เพื่อให้นักวิจัยที่รับทุนวิจัยจากกระทรวงกลาโหมสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทางไกลได้ และสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารกันทางระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ เครือข่ายแรกที่ตั้งขึ้นนี้เรียกว่า ARPANET ซึ่งต่อมาได้แปรสภาพไปเป็นเครือข่ายทางด้านการศึกษา และวิจัยที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ต

           เดิมทีระบบอินเทอร์เน็ตนั้นมีผู้ใช้เฉพาะในแวดวงการศึกษาและวิจัยดังกล่าวแล้วต่อมาเมื่อมีผู้สนใจใช้มากขึ้นระบบอินเทอร์เน็ตก็ขยายตัวไปสู่วงการธุรกิจ และเปิดรับสมาชิกไม่จำกัดประเภท

           ประเทศไทยเราได้เริ่มใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกเมื่ออาจารย์ชาวออสเตรเลียนำมาเผยแพร่และติดตั้งให้ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อมาจึงได้พ่วงต่อไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย การใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในระยะแรกนี้ยังไม่ได้เป็นแบบออนไลน์ คือไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา คงให้ทางประเทศออสเตรเลียโทรศัพท์เข้ามารับ และส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์วันละสองหน

           ต่อมาทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้เห็นความสำคัญที่จะต้องจัดให้มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงไปยังมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จึงได้ขออนุมัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยเช่าวงจรสื่อสารความเร็วสูงไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศเชื่อมต่อกับระบบอินเทรอ์เน็ตได้ตลอดเวลา เครือข่ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นต่อมาได้เชื่อมต่อไปยังสถาบันบางแห่ง เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญและอื่นๆ  ส่วนทางเนคเทคนั้นได้ของบประมาณจัดทำเครือข่ายมหาวิทยาลัยและได้รับอนุมัติให้ดำเนินการได้  ดังนั้นจึงสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ามาเชื่อมต่อกัน  และสร้างเป็นเครือข่ายชื่อ ไทยสาร(Thai  Social/Science  Academic  Research  Network) ขึ้น 

หมายเลขบันทึก: 337366เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท