ความมั่นคงของมนุษย์หรือของรัฐอันไหนสำคัญกว่ากัน:กรณ๊ศึกษาจากงานสถานะบุคคล


"งานสถานะบุคคลเป็นงานที่มีทั้งด้านดีและด้านไม่ดีอยู่ปนกัน ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราในฐานะคนทำงานจะหยิบยกด้านไหนขึ้นมาเป็นอุดมการณ์ในการทำงานของเรา"

    เหตุผลที่จำเป็นต้องกล่าวขึ้นมาในลักษณะนี้ ก็เพื่อจะสะท้อนให้เห็นถึงงานสถานะบุคคลนั้นก็เป็นเหมือนงานด้านอื่นๆกันทั้งนั้น ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นั่นก็คือ เป็นเหรียญสองด้าน ด้านหนึ่งก็คือการทำเพื่อประชาชนให้เขาได้รับสถานะบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมายภายในของรัฐไทย

แต่อีกด้านหนึ่งก็คือ การทำงานเพื่อตนเองจะได้ร่ำรวยจากการเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้(การทุจริต คอรัปชั่น)

     ซึ่งนั่นก็เป็นส่วนที่ทำให้ปัญหาด้านสถานะบุคคลในประเทศไทยยังคงค้างและได้รับการแก้ไขไปในระดับที่ยากบ้างง่ายบ้าง ขึ้นอยู่กับสถภาพปัญหาภายในพื้นที่ที่เกิดปัญหาด้านสถานะบุคคลขึ้นมา และทั้งนี้ปัญหาที่เกิดนั้นไม่อาจที่จะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งว่าผิด 100% ได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่อาจจะห่วงแต่ความมั่นคงเสียเหลือเกิน หรือภาคประชาชนที่ไม่รู้กฎหมายว่าตนเองมีสิทธิและหน้าที่อย่างไร หรือแม้แต่องค์กรพัฒนาเอกชน ที่ยังคงยึดถือกับแนวทางการทำงานแบบง่ายเอาเข้าว่า ยึดความสะดวก สบาย แต่ขาดความรอบคอบ คิดงานแค่จุดๆเดียว หรือแม้แต่วางเป้าหมายแต่เพียงตัวเลขที่อาจจะเรียกว่ายากในการทำให้ได้ตามเป้านั้น (ปากก็ว่ายึดกฎหมายแต่การกระทำไม่เห็นว่าจะยึดหลักกฎหมายกันเลย)

     แล้วความมั่นคง มาเกี่ยวข้องได้อย่างไร ก็จำเป็นที่จะต้องกล่าวเสียก่อนว่า ความมั่นคงนั้นคืออะไร

     ในประเทศแต่ละประเทศย่อมมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของตน ที่จะต้องดูแลปกป้องให้มีความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึ่งนั่นก็คือความมั่นคงของประเทศนั่นเอง และแน่นอนว่าความมั่นคงของประเทศชาจนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยความมั่นคงระดับที่เล็กที่สุด นั่นคือความมั่นคงของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในรัฐนั้น

    และถึงแม้ว่าจะเป็นความมั่นคงส่วนที่เล็กที่สุดก็ตาม แต่หากความมั่นคงนี้ถูกลิดรอน หรือขาดซึ่งความมั่นคงนี้แล้วนั้น ความมั่นคงของประเทศก็จะถูกสั่นคลอนลงไปด้วย อาจจะเปรียบเทียบกับปิรามิต หากฐานรากไม่มั่นคง ส่วนปลายก็อาจจะพังทลายลงมาได้ทุกเมื่อเช่นกัน

    ด้วยเหตุนี้หากพิจารณาให้ตกผลึกกันแล้วนั้น ปัจจุบันนี้ปัญหาเรื่องความมั่นคงนั้นการแก้ไขปัญหาก็คงต้องกลับมามองถึงสภาพปัญหาที่แท้จริงของพื้นที่(ในที่นี้ไม่ใช่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้) ว่ามีปัญหาอย่างไรในพื้นที่ดังกล่าวและการแก้ไขปัญหาก็ควรพิจารณาด้วยคววามรอบคอบเข้าใจกันทั้งสองด้าน รวมทั้งพิจารณาในการแก้ไขว่าจะเกิดผลเป็นอย่างไรหากดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดลงไปแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีผลกระทบบ้าง แต่ขอให้คำนึงถึง ความมั่นคงของมนุษย์ และความมั่นคงของประเทศ ที่ไม่ใช่หนักไปเพียงด้านหนึ่งด้านใดมากเกินไป ขอให้น้ำหนักในการแก้ไขปัญหานี้นั้นอยู่ภายใต้ความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย

    จากที่ได้กล่าวในข้างต้น จะเป็นการกล่าวถึงลักษณะการพิจารณาของความมั่นคง เพื่อประเทศชาติ ไม่ใช่ความมั่นคงอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าจะความมั่นคงของมนุษย์หรือความมั่นคงของชาติ นั้นก็มีความหมายและคุณค่ามากเท่าๆกัน ดังคำพูดที่ว่า "ความมั้นคงต้องเริ่มจากบุคคลสู่พื้นที่ หากพื้นที่ไหนมั่นคง พื้นที่นั้นก็มีความเจริญและสงบสุข"

                                                                     

หมายเลขบันทึก: 337800เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2010 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท