การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ


มารู้จักส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม Adobe Photoshop กันเถอะ

          โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นโปรแกรมยอดฮิตในการสร้างงานกราฟฟิค เพราะสามารถสร้างงานกราฟฟิคออกมาได้หลายรูปแบบ ทั้งการสร้างแบบอักษรลักษณะต่าง ๆ และการตกแต่งภาพ

         เรามารู้จักส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรมฯ กันนะคะ

 

ส่วนต่างๆของโปรแกรม Adobe Photoshop จะมี 4 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1. เรียกกันว่า Menu bar เป็นส่วนที่แสดงชื่อเมนูต่างๆ ของโปรแกรม

1. File หมายถึง คำสั่งเกี่ยวกับการจัดเก็บและเรียกใช้ไฟล์รูปภาพต่างๆ

2. Edit หมายถึง คำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขลักษณะของรูปภาพและ Image ต่างๆ

3. Image หมายถึง คำสั่งการจัดการรูปภาพและ Image ต่างเช่น การเปลี่ยนสีและการเปลี่ยนขนาด

4. Layer หมายถึง ชั้นหรือลำดับของรูปภาพและวัตถุที่เราต้องการจะทำ Effects

5. Select เป็นคำสั่งการเลือกพื้นที่หรือส่วนต่างของรูปภาพและวัตถุในการที่จะเล่น Effects ต่างๆ

6. Filter เป็นคำสั่งการเล่น Effects ต่างๆสำหรับรูปภาพและวัตถุ

7. View เป็นคำสั่งเกี่ยวกับมุมมองของภาพและวัตถุในลักษณะต่างๆ เช่น การขยายภาพและย่อภาพให้ดูเล็ก

8. Window เป็นส่วนคำสั่งในการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้สร้าง Effects ต่างๆ

9. Help เป็นคำสั่งเพื่อแนะนำเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมฯ และจะมีรานละเอียดของโปรแกรมอยู่ในนั้น

ส่วนที่ 2  Tool Bar

คือส่วนของอุปกรณ์ต่างที่เราใช้ในการสร้างชิ้นงานหรือใช้ในการตกแต่งภาพส่วนวิธีการใช้เราสามารถเรียกได้โดยมาที่ window Show Tools (ดูรายละเอียดการใช้งานในหัวข้อ เครื่องมือและคำสั่งใช้งานใน Tool Box) เมื่อเราคลิกที่อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งค้างไว้ก็จะเห็นอุปกรณ์นั้นจะมีหลายแบบให้เราเลือกโดยการสังเกตจากเครื่องหมาย จุดสามเหลี่ยมบนตัวอุปกรณ์ และเมื่อดับเบิ้ลคลิกก็จะปรากฏ Option ของอุปกรณ์นั้นขึ้นมา จะมีให้เลือก Option ต่างๆ

ส่วนที่ 3.

เป็นส่วนของพื้นที่ของไฟล์ใหม่ที่เราจะมาเริ่มต้นการสร้างชิ้นงานเราสามารถสร้างโดยคำสั่ง File New เมื่อสร้างไฟล์ใหม่ก็จะปรากฎขึ้นมาดังภาพ.

Name = การตั้งชื่อหัวข้อเหนือไฟล์

Image Size = ขนาดความสูงความกว้างของพื้นที่

Mode = เป็นการกำหนด Mode สีถ้าเป็นมาตรฐานจะเป็น RGB Color

Contents ก็จะเป็นลักษณะพื้นหลังก็จะมี White (สีขาว) , Background Color (สีที่เรากำหนด) , Transparent (สีพื้นแบบ - โปร่งใส, ไม่แสดงสีพื้นโล่ง)

ส่วนที่ 4.

อุปกรณ์ควบคุมลำดับชั้นการทำงานของรูปภาพและวัตถุเมื่อเปิดโปรแกรมฯ ขึ้นมาก็จะพบอุปกรณ์นี้เรียกกันว่า Layer เป็นอุปกรณ์ควบคุมลำดับชั้นของ Image เมื่อเรานำ Image มาวางซ้อนกันหลายๆอันก็จะเกิด Layer ขึ้นมาเราสามารถตั้งชื่อ Layer นั้นได้และสลับ Layer ได้จะมี Background อยู่ด้านล่างสุดเสมอ.....

 

 

เครื่องมือและคำสั่งใช้งานใน Tool Box

อุปกรณ์มาคี เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลือกพื้นที่ ของภาพตามต้องการ สามารถเลือกรูปแบบการใช้งานโดยการคลิกเม้าส์ค้างตรงรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ ด้านข้างจะมีแบบให้เลือกทั้ง สี่เหลี่ยม วงรี เส้นนอน เส้นตั้ง
อุปกรณ์เคลื่อนย้าย (Move Tool) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายภาพ หรือบนชั้น Layer ที่เรากำลังทำงานอยู่ไปในตำแหน่งต่างๆ
อุปกรณ์แลซโซ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลือกพื้นที่การทำงานแบบอิสระโดยเริ่มจากพื้นที่จากจุดเริ่มจนวนมาพบกันอีกครั้ง โดยตัดในลักษณะใดก็ได้รูปแบบใดก็ได้....แล้วต้องกลับมาบรรจบที่จุดเริ่มต้นกันอีกครั้ง ซึ่งจะเกิดเส้น Selection ขึ้นมา
อุปกรณ์เมจิควอนด์ เป็นอุปกรณ์ให้เลือกพื้นที่การทำงานเช่นกันโดยจะเลือกพื้นที่ที่มีสีโทนเดียวกันหรือมีสีโทนคล้ายๆกัน...ใช้ในการสร้างเส้น....Selection เฉพาะพื้นที่
อุปกรณ์พ่นสี ใช้พ่นสีที่เราเลือกบนพื้นที่ที่เราต้องการ ซึ่งลักษณะที่ได้จะเหมือนกับการพ่นด้วย Air Brush
อุปกรณ์ Paint Brush เป็นอุปกรณ์สำหรับการ วาดภาพและระบายสีซึ่งลักษณะการใช้งานจริงๆ จะมีให้เลือกใช้หลายตัว
อุปกรณ์รับแอร์ สแตมป์ ลักษณะในการใช้ก็คล้ายกับตรายางนั้นแหละครับเป็นการคัดลอกชิ้นงานออกมา ลักษณะการใช้งานก็ไปคลิกที่รูปภาพโดยให้กดปุ่ม Alt ค้างไว้ด้วยพูดอีกอย่างเป็นการโคลนนิ่งภาพนั้นเอง
อุปกรณ์ยางลบ ก็ทำหน้าที่คล้าย....ยางลบนั้นแหละใช้ลบส่วนต่างๆของภาพที่เราไม่ต้องการ
อุปกรณ์ดินสอ ลักษณะการทำงานก็คล้ายดินสอใช้วาดภาพ เป็น อุปกรณ์เครื่องมือแบบเดียวกัน Paint Brush
อุปกรณ์โฟกัส เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปรับค่าความคมชัดของสีภาพ ซึ่งจะประกอบด้วย Blur, Sharpen เลือกโดยการคลิกเม้าส์ค้างไว้
อุปกรณ์โทนนิ่ง ใช้ในการปรับค่าโทนสีของภาพให้สว่างหรือมืด ซึ่งจะมีเครื่องมือให้เลือกอีกคือ Dodge, Burn, Sponge
อุปกรณ์ปากกา ใช้ในการสร้างเส้นภาพสำหรับวาดภาพซึ่งจะสร้างเส้นตรงก่อนแล้วตัดให้โค้งตามต้องการ
อุปกรณ์ไทป์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญและใช้บ่อยด้วยใช้สำหรับสร้างตัวอักษรซึ่งสามารถนำมาจัดประกอบภาพได้ทันที โดยคุณสามารถเลือกสีได้ด้วยและมีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ การสร้างตัวอักษรทึบและแบบโปร่งเพื่อเติมสีทีหลังเหมาะสำหรับจะนำภาพมาสร้างตัวอักษร
อุปกรณ์ไล้ระดับสี เป็นการระบายสีภาพโดยการไล่เฉดสีที่เราต้องการเมื่อดับเบิ้ลคลิกจะมีให้เลือกหลายลักษณะตามที่เราต้องการ
อุปกรณ์ถังสี ใช้ในการเท หรือละเลงสีระบายลงบนภาพหรือพื้นที่ที่ได้เลือกไว้เหมาะกับการเทลงพื้นที่ขนาดกว้าง
อุปกรณ์ดูดสี เป็นเครื่องมือในการดูดสีที่มีอยู่ในภาพเพื่อนำสิ่งนั้นไปใช้ในบริเวณอื่น โดยจะถือเป็น Foreground Color
อุปกรณ์แฮนด์ เป็นเครื่องมือใช้เลื่อนภาพบนจอ จะสามารถใช้ได้ก็ต่อเมื่อเราได้ขยายภาพล้นหน้าจอแล้วเท่านั้น
อุปกรณ์แว่นขยาย ใช้ในกรณีที่เราต้องการที่จะย่อ/ขยายภาพในจอ หรือ ขยายเพื่อจะได้ทำได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น

หากท่านใดสนใจที่จะเรียนรู้การใช้งาน Adobe Photoshop เพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้เว็บไซต์ www.thaigraph.com ซึ่งจะมีคำสั่งสำคัญใน Photoshop อีกมากมาย รวมทั้งเคล็ดลับศิลปะไม่ว่าจะเป็นการสร้างเส้นโค้งงอ, การสร้างความต่างของสี, การตัดภาพให้นุ่ม, การสร้างลายบนเส้น Selection และเทคนิคการใช้งานต่างๆ อาทิเช่น เทคนิคการสร้างตัวอักษร, เทคนิคการแต่งรูปภาพ เป็นต้น

 ที่มา : http://agricom.doae.go.th/agricom/magazine/161/page_4.htm

 

 

หมายเลขบันทึก: 338230เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท