การประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้


การประเมินคุณภาพสื่อ

การประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้

                   การผลิตและของในการให้สื่อในการจัดการเรียนการสอนจะต้องมีขั้นตอนประเมินและจำเป็นในการตรวจสอบคุณภาพของสื่อซึ่ง  กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ  (2545 : 21 - )  ได้อธิบายหลักการและเหตุผลไว้ว่า  การประเมินคุณภาพของสื่อนั้นบัญญัติไว้ตามมาตรา  64  แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  2542  ดังนี้  “วิธีจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียน  ตำราเรียน  หนังสือทางวิชาการ  สื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ  วัสดุ  อุปกรณ์  และเทคโนโลยีการศึกษา  ประกอบกับตามความในมาตรา  65  กล่าวว่า  “ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผลิต  และผู้ใช้เทคโนโลยีการศึกษา  การศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความสามารถ  และทักษะในการผลิต  รวมทั้งเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

                   หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ. 2544  ได้กำหนดลักษณะของสื่อการเรียนรู้ไว้ว่า     ควรมีความหลากหลายทั้งสื่อธรรมชาติ  สื่อสิ่งพิมพ์  สื่อเทคโนโลยีอื่น ๆ  ในการประเมินสื่อ         การเรียนรู้อาจมีการลำดับขั้นตอนสิ่งที่ต้องประเมินเพื่อวัดความเหมาะสม  ประสิทธิภาพได้ตาม    กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการไว้พอสังเขป  ดังนี้

 

                   วิธีการประเมิน 

                   ในการประเมินสื่อการเรียนรู้ที่จะวัดค่าประสิทธิภาพ  การดำเนินการนั้น  ควรจัดเป็นรูปคณะกรรมการบุคคลหลาย ๆ  ฝ่าย  จำนวน  3 – 5   ดังนี้

                   1.  ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ  ที่ประเมิน  ซึ่งจะช่วยพิจารณาในหลักวิชาการของสิ่งที่ประเมินได้ถูกต้องเหมาะสม

                   2.  ผู้มีประสบการณ์ด้านการสอนหรือการนิเทศ  ซึ่งจะช่วยในแง่เนื้อหาที่นำเสนอกับวัย ของผู้เรียน

                   3.  ผู้มีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตร  ซึ่งจะเป็นผู้ที่ช่วยตรวจพิจารณาว่ามีความสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาหรือไม่

 

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสื่อการเรียนรู้

                   สื่อการเรียนรู้ที่จะกล่าวถึงเกณฑ์การประเมินที่นี้มี  2  ประเภทคือ 

                                1.  สิ่งพิมพ์               2.  สื่อเทคโนโลยี

                   1.  การตรวจคุณภาพสิ่งพิมพ์  เป็นสื่อที่จัดทำเป็นหนังสือเรียนเป็นส่วนใหญ่ที่ใช้ใน       การเรียน  ได้แก่  หนังสือเรียน  คู่มือครู

                                1.1  การประเมินคุณภาพหนังสือเรียน

                                กรมวิชาการได้จำแนกเกณฑ์การประเมินคุณภาพหนังสือเรียนซึ่งเป็นแนวทางตรวจพิจารณามี  3  ส่วนย่อย  ดังนี้

                                ส่วนที่  1  ข้อมูลพื้นฐาน  เป็นข้อมูลเบื้องต้นของหนังสือ  ได้แก่  สื่อหนังสือ  ผู้แต่ง  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  ราคาจำหน่าย  เป็นต้น

                                ส่วนที่  2  รายการประเมิน  เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพที่จะต้องพิจารณา  ดังนี้

                                1.  เนื้อหา  พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้

                                    1)  มีความสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนของหลักสูตรสถานศึกษาหรือไม่

                                    2)  เนื้อหามีความถูกต้องตามหลักวิชา  ทันสมัย  เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชา         ไม่ควรประเด็นโต้แย้ง

                                    3)  เนื้อหาไม่ขัดต่อความมั่นคง  ความสงบเรียบร้อยของชาติและไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี

                                    4)  เนื้อหามีความยากง่ายเหมาะสมกับระดับชั้น

                                2.  ภาษที่ใช้

                                ภาษาที่นำเสนอจะต้องถูกต้อง  ชัดเจน  สื่อความหมาย  อ่านเข้าใจง่าย  ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน  ใช้ศัพท์ไม่ถูกต้อง

                                3.  กิจกรรมประกอบบทเรียน  พิจารณาในเรื่อง

                                    1)  สอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน

                                    2)  ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในบทเรียนและนำไปสู่การปฏิบัติได้

                                    3)  ใช้คำสั่งที่ชัดเจน  ง่ายต่อการปฏิบัติตาม

                                    4)  ใช้คำถามที่ท้ายทายและกระตุ้นความคิด

                                    5)  สอดแทรกกิจกรรมไว้อย่างเหมาะสม

                                4.  ภาพตาราง  แผนภูมิ  พิจารณาในเรื่อง

                                    1)  ถูกต้อง  ชัดเจน  และเป็นปัจจุบัน

                                    2)  มีความเหมาะสม  สอดคล้องกับเนื้อหา

                                    3)  มีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ

                                    4)  ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาชัดเจนขึ้น

                ส่วนที่  3  สรุปข้อคิดเห็นผลการประเมินเป็นส่วนที่สรุปผลในเชิงคุณภาพของสื่อว่ามีคุณภาพในระดับใด  มีจุดเด่น  ข้อบกพร่องอย่างไรบ้างที่จะมีการปรับปรุง

 

หมายเลขบันทึก: 338714เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2010 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท