หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

เสียงดังทำไม


พฤติกรรมลบของผู้ใหญ่ที่เกิดขึ้น สามารถส่งผลให้เด็ก "ชอบ" และ "เสพติด" พฤติกรรมลบนั้นได้ หรือว่านี่คือเหตุ เล็กๆแห่งความขัดแย้งที่หยั่งรากและสร้างลำต้นที่มีดอกผลบานปลายจนเป็นเรื่องใหญ่ในสังคม?????????????????

ดูเหมือนในทุกพื้นที่ที่ได้ไปสัมผัส มีความรุนแรงในครอบครัวเป็นพื้นฐานในชีวิตประจำวันอยู่มากมาย

แล้วก็มีบางสิ่งบางอย่างของอารมณ์พื้นฐานที่ก่อตัวเป็นน้ำแข็งใต้น้ำคอยเซาะฝั่งแห่งความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนให้พังภิณท์

เฮ้อ...หรือว่านี่คือเหตุเล็กๆแห่งความขัดแย้งที่หยั่งรากและสร้างลำต้นที่มีดอกผลบานปลายจนเป็นเรื่องใหญ่ในสังคม?????????????????

วันนี้มีอีเมล์ฉบับหนึ่งส่งบทความมาให้อ่าน เป็นบทความที่อ่านแล้วน่าสนใจไม่เบา เรื่องราวที่ส่งมาให้อ่านเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่ผู้ใหญ่กับเด็กมีต่อกันที่ชี้มุมมองให้เห็นว่าพฤติกรรมลบของผู้ใหญ่ที่เกิดขึ้น สามารถส่งผลให้เด็ก "ชอบ" และ "เสพติด" พฤติกรรมลบนั้นได้

แล้วในที่สุดก็ฝังรากจนกลายเป็นต้นกำเนิดแห่งความรุนแรงที่ส่งผลต่อครอบครัวและสังคมได้  อันเนื่องมาจากการสะสมประสบการณ์คุ้นชินในรูปแบบนี้ จนเกิดความเข้าใจไปว่าเรื่องเยี่ยงนี้เป็นความธรรมดาๆ

บทความนี้อธิบายว่าการเสพติดเกิดขึ้นมาจากเด็กแปรเปลี่ยนความเข้าใจไปว่า ลักษณะพฤติกรรมลบนั้นๆ คือช่องทางเดียวที่ทำให้เขาเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ได้

บทความเล่า้ให้ฟังว่า เมื่อไปชวนให้เด็กๆคุย เด็กๆบอกว่า ผู้ใหญ่บ่นเรื่อง "ตะโกน" และ "มองหน้า" มากที่สุด ไม่ว่าเด็กๆเหล่านั้นจะเป็นเด็กเล็กแค่วัย ๓ ปีหรือว่าเขาเป็นเด็กโตที่มีอายุวัยรุ่น ๑๘ ปีแล้ว

เชื่อไหมที่จะบอกว่า เมื่อสังเกตพฤติกรรมของเด็กเหล่านี้ พวกเขาต่างล้วนมีพฤติกรรมชอบ "มองหน้า" และ "ตะโกน" บ่อยๆเมื่อเขาต้องการให้ผู้ใหญ่สนใจเชื่อมความสัมพันธ์กับตัวเขา

บทความสะกิดใจให้สนใจพลังแห่งศรัทธาที่มีต่อพฤติกรรม "ตะโกน" แล้วชวนให้ย้อนดูตัวไม่เบา

สังเกตเห็นความต่างอะไรหรือเปล่าเมื่อคุยกับเด็ก การคุยที่อยากให้เด็กได้รับรู้ เกิดขึ้นบ่อยกับพฤติกรรมแบบไหน คุยกันด้วยเสียงเบาๆได้ หรือต้องใช้เสียงพูดที่ดังหรือบางครั้งต้อง "ตะโกน" ใส่เด็ก

หลังจากคุยกับเด็กอย่างนั้น ตัวเราเองมีศรัทธาอย่างไรกับสิ่งที่เด็กสนองตอบกลับมา

บทความได้บอกเล่าว่า "มีผู้ใหญ่ที่น้อยกว่าน้อย รู้สึกดีกับสิ่งที่เด็กสนองตอบแก่ตน" เป็นอีกมุมที่สะกิดให้ย้อนดูตัวเช่นกัน

หากสัมผัสความรู้สึกว่าเด็กต้าน แล้วอยากเปลี่ยนให้เด็กยอมตาม บทความมีคำแนะนำ แต่ว่าก่อนทำตามคำแนะนำเขาชวนให้ถามใจดูก่อนว่าอยากเห็นเด็กมีพฤติกรรมเชิงบวกมากกว่านี้หรือเปล่า

การถามใจให้ทำอย่างนี้ค่ะ

"ในใจจริงของคุณ คุณรู้สึกจริงๆอย่างไรกับกรณีของเด็กคนนี้"

"คุณเชื่อศรัทธาตัวเองแค่ไหนว่าคุณสามารถทำให้เด็กคนนี้ดีขึ้นกว่านี้ได้"

"คุณอยากให้ประสบการณ์ความสัมพันธ์ของคุณกับเด็กคนนี้เป็นอย่างไรต่อไป"

ถามใจหลายรอบๆนะคะ จนเมื่อคำตอบสุดท้ายออกมากระจ่างชัดแก่ใจแล้ว ก็จะได้คำตอบของการลงมือทำต่อไปโผล่ขึ้นมาเอง

ส่่วนใครที่อยากเรียนรู้ว่า คำตอบจากคนอื่นที่มีประสบการณ์มาก่อน เขาทำอย่างไร ขอชวนไปดูเรื่องเล่าเร้าพลังด้วยกัน

แล้วถ้าหากอยากจะอ่านรายละอียดความคิดเบื้องหลังก็เชิญได้ตามสะดวกเช่นกัน

บันทึกเรื่องนี้ไว้เพื่อชวนให้ช่วยกันลดทอนความรุนแรงเล็กๆที่เป็นพื้นฐานอยู่ในชีวิตประจำวันทุกวันเหล่านี้ให้ลดลงไปๆ โดยเริ่มที่ความสัมพันธ์ที่มีต่อตัวเองก่อน เมื่อจะมีความสัมพันธ์ไม่ว่ากับคนวัยใดค่ะ

แค่นี้ก็ช่วยสังคมกันได้ไม่เบาแล้ว แค่นี้ก็ช่วยให้ความอบอุ่นในครอบครัวได้คืนมาแล้ว

ไม่เชื่อให้ลองดู ยิ่งเชื่อยิ่งลองบ่อยนะคะ  ชวนเรียนรู้และนำไปใช้ให้ตรงจริตของตัวกันค่ะ

หมายเลขบันทึก: 338879เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2010 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีคะพี่หมอเจ๊

เล่าเรื่องภาพ น่ารักมาก แฮม นิ้วโป้ง

สวัสดีค่ะ

  • เด็กที่โรงเรียนเมื่อบอกดี ๆ หรือพูดเบา ๆมักไม่สนใจ
  • เมื่อขึ้นเสียงดัง ๆ จะรีบตาลีตาเหลือกค่ะ
  • น้องไก่ ประกาย~natachoei ที่~natadee ค่ะ
  • ไม่ได้เข้ามาที่นี่นานเลยค่ะ
  • ก็เลยเพิ่งได้มาตอบถ้อยคำทักทายนะน้อง
  • ......
  • ยังตามข่าวคราวของน้องอยู่
  • เป็นกำลังใจให้สู้ๆๆๆ....นะคะ
  • พี่ครูคิม ค่ะ
  • การเรียกร้องความสนใจของเ็ด็กๆ
  • แสดงออกได้หลากหลายรูปแบบค่ะ
  • อยู่ที่เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่
  • จะป้ายสีอะไรให้เขาเลือกใช้เรียกร้องความสนใจจากเราค่ะพี่
  • ..........
  • ได้รับทราบข่าวคราวของพี่
  • แล้วเห็นพี่มีความสนุกกับชีวิต
  • และค้นพบความเป็นตัวเองอีกแง่มุมแล้ว
  • ดีใจด้วยค่ะ
  • ..........
  • ดูแลสุขภาพด้วยนะคะพี่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท