การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ


การบริหารเทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ

การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ

 การศึกษาในอนาคตให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และสามารถจัดได้หลากหลายทั้งรูปแบบและวิธีการ    แนวโน้มดังกล่าวทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น และมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเข้มข้น   เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการนำพาความรู้และสารประโยชน์จากการศึกษาไปสู่คนจำนวนมาก  โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่  จึงต้องมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มศักยภาพ

ยุทธศาสตร์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา มีดังนี้

(1)    มุ่งสร้างสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้

(1.1)     การพัฒนาหลักสูตร

(1.2)     สร้างกลไกประกันคุณภาพการศึกษาโดยเน้นกลไกการตรวจสอบกันเอง

(1.3)     ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

(1.4)     สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

(1.5)     ใช้ทรัพยากรเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาระหว่างหน่วยงานร่วมกัน

(2)    สร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย

(2.1)  การกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ชัดเจน    และผลักดันให้มีการนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและอย่างต่อเนื่อง

(2.2)    ผู้บริหารต้องมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

(3)    พัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีคุณภาพ

(3.1)     มีแผนพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

(3.2)     เตรียมความพร้อมของผู้เรียน

(3.3)     สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรพัฒนาศักยภาพของตน

 

          การบริหารที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศเน้นการพัฒนาทุนมนุษย์  (Human capital)  ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ (Knowledge  worker)  และยกระดับองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning organization)  และองค์กรแห่งการพัฒนา  (Development  organization) การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศนั้น  ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีการปรับกระบวนทัศน์การบริหารจัดการสถานศึกษา  กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ  ทั้งในด้านการบริหารจัดการทั่วไป  การบริหารงานวิชาการ  การบริหารงานวิจัย  การบริหารการเงิน  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ  ทั้งนี้ การบริหารจัดการดังกล่าวควรยึดการบริหารที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ดนัย  เทียนพุฒิ.  องค์กรแห่งการเรียนรู้.  [On  line].   Available from  : http://www. thar.  net/rdcdd/Cdforum/Cd_forum_4301.htm [2549 สิงหาคม 18]

ธเนศ  ขำเกิด.  “องค์กรแห่งการเรียนรู้” (Learning Organization),  วารสารส่งเสริมเทคโนโลยี.25, 137 (กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2541) : 171 – 174.

บดินทร์  วิจารณ์.  (2547).  การจัดการความรู้...สู่ปัญญาปฏิบัติ.  กรุงเทพฯ :  เอ็กซเปอร์เน็ท.

__________.  (2548).  การพัฒนาองค์การ... แห่งการเรียนรู้.  กรุงเทพฯ :  เอ็กซเปอร์เน็ท.

 

หมายเลขบันทึก: 339411เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2010 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท