นายประยูร
นายประยูร ประยูร รักษ์กำเนิด

นวัตกรรมและเทคโน


นวัตเทคโน

ตอนที่ 1          นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษ

         มโนทัศน์ เกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นสิ่งที่มักมีการใช้แทนกันบ่อยครั้งซึ่งบางครั้งก็เป็นการใช้ที่ไม่สอด คล้องกับมโนทัศน์ ดังนั้นจึงขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการใช้มโนทัศน์ทั้งสองดังนี้
1. มโนทัศน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา

        นวัตกรรม เป็นมโนทัศน์ (concept) ที่ปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่อาจมีความเข้าใจต่อคำนี้แตกต่างกัน โดยรวม นวัตกรรม หมายถึง การปฏิบัติ หรือชิ้นงานประดิษฐ์  แนวทางใหม่ หรือการนำของเดิมมาปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และเมื่อนำไปใช้แล้วสามารถเพิ่มประสิทธิผลของการทำงาน

                        เมื่อ นำคำว่าการศึกษามาต่อท้าย เป็น นวัตกรรมทางการศึกษา จึงมีความหมายว่าแนวทาง การปฏิบัติที่มีการปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการส อน การเรียนรู้ให้สูงขึ้นกว่าเดิม [1]

ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา [2]

          นวัตกรรมแผนการจัดการเรียน เช่น แผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ,  แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, แผนจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง

          1.นวัตกรรมวิธีสอน หรือวิธีการจัดการเรียนรู้ เช่น แบบอุปนัย, แบบวิทยาศาสตร์, แบบร่วมรู้สืบเสาะ

          2.นวัต กรรมสื่อและเทคโนโลยี เช่น นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ , หนังสือเสริมประสบการณ์, หนังสือสำคัญค้นคว้าตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ประเภทเทคโนโลยี, วิดีทัศน์, แถบบันทึกเสียง, นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ ประเภทสื่ออื่น ๆ, สื่อบุคคล, สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. มโนทัศน์ของเทคโนโลยีทางการศึกษา

           Technology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Tech หมายถึง Art ในภาษาอังกฤษ และคำว่า Logos หมายถึง A study of ดังนั้น Technology จึงหมายถึง A study of art เทคโนโลยี มิใช่เฉพาะเครื่องจักรกับคนเท่านั้น แต่เป็นการจัดระเบียบที่มีบูรณาการและมีความซับซ้อน อันประกอบด้วย คน เครื่องจักร ความคิด วิธีการ และการจัดการ Galbrith, ให้ความหมายที่ครอบคลุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีว่า  หมายถึง การประยุกต์อย่างมีระบบของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และความรู้ด้านอื่นอันจัดระเบียบดีแล้ว ต่องานปฏิบัติ ทั้งหลาย [3] พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของ เทคโนโลยี ว่าหมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและ อุตสาหกรรม

            เทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การนำความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหาและพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้ การนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาปรับปรุงประสิทธิภาพในการศึกษาจึงครอบคลุมทั้ง 3 ด้านดังนี้

                  1. เครื่องมือและอุปกรณ์การสอนต่าง ๆ (Devices of  Hardware)

                 2. วัสดุ (Materials of Software) ได้แก่ การผลิตวัสดุและสื่อการสอนแนวใหม่ เช่น บทเรียนสำเร็จรูปแบบต่าง ๆ

                3. วิธีการและเทคนิค (Materials of Technology) ได้แก่ กระบวนการ กิจกรรมที่นำมาใช้ในการศึกษา

     ประเภทของเทคโนโลยีทางการศึกษา

                  1. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)

                  2. เครื่องฉายสไลด์ (Slide Projector)

                  3. Visualizer & Multimedia Projector

                  4. เครื่องมือและอุปกรณ์

                  5. คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน (สื่อการสอน/การผลิตและการใช้)

               วัตถุประสงค์การนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการศึกษา มีดังนี้          

                  1. เพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) เมื่อนำเอาเทคโนโลยีมาใช้แล้วทำให้เกิดการเรียนรู้ตามที่วางจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมไว้ในแผนการสอน

                  2. เพิ่มประสิทธิผล (Productivity) หลังจบกระบวนการเรียนการสอนแล้ว  ผู้เรียนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้

                 3. ประหยัด (Economy) การที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ต้องมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

3. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษา

             หากพิจารณามุมมองของเทคโนโลยีทางการศึกษา พบว่า นวัตกรรมทางการศึกษาเป็นลักษณะหนึ่งของเทคโนโลยีทางการศึกษา  ที่เน้น การประยุกต์ความรู้ทางมาปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

             อย่าง ไรก็ตาม เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษา เป็นสิ่งที่เอื้อต่อกันในการปรับปรุงความรู้ กระบวนการ และผลผลิตทางการศึกษาให้มีประสิทธิผลสูงขึ้น

             ปัจจุบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Innovation and Technology) เกี่ยวข้องกับ การระดมสรรพความรู้ที่มีเหตุผล มาประยุกต์ให้เป็นระบบใหม่ และสามารถนำมาใช้ปฏิบัติในสถานการณ์ที่เป็นจริง ในการแก้ปัญหาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

         Educational Innovation and Technology อาศัย พื้นฐานความรู้หลายด้าน เช่น โสตทัศนศึกษา การวัดผล จิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว การศึกษาพิเศษ การบริหารการศึกษา รวมทั้งความรู้ด้านอื่น ๆ อีกมาก ปัจจุบัน นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เน้นที่จะศึกษาด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ [5]

              1. การเรียนด้วยตนเอง (Self Instruction)

              2. การเรียนการสอนสำเร็จรูป (Programmed Instruction)

              3. การแสดงหานวัตกรรมทางการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นโดยการเข้าสู่ระบบ (System Approach)         

              4. โสตทัศนศึกษา (Audio Visual Education)

              5. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI)

              6. การใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

              7. เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine)

              8. สื่อการศึกษามวลชน (Mass Educational) เช่น วิทยุ และโทรทัศน์ทางการศึกษา

              9. ความเสมอภาตในการให้โอกาสทางการศึกษาตามเอกัตภาพของแต่ละบุคคล

             10. ให้ความเสมอภาคทางการศึกษาทุกท้องถิ่น

             11. ให้ความรู้ทางจิตวิทยาสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเอกัตบุคคล

             12. การศึกษาตลอดชีพ (Life long Education)

             13. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

             14. การศึกษาทางอินเตอร์เน็ต เช่น Web-Base Instruction E-learning เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 339700เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2010 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท