ความรู้ด้านกฎหมายระหว่างประเทศของคนไทย:สิทธิฟ้องศาลโลก


   โลกในยุคปัจจุบันนี้ “ความรู้” เป็นสิ่งหนึ่งที่”มนุษย์” อย่างเช่นเรามิอาจจะปฏิเสธได้ มวลมนุษยชาติอยู่รอดและดำรงเผ่าพันธุ์มาได้ด้วยความรู้ทั้งสิ้น และพัฒนาความรู้ ส่งต่อสืบทอดจากรุ่นสู้รุ่น

    แล้วทุกวันนี้คนไทย โดยเฉพาะระดับผู้นำปฏิเสธความรู้หรือไม่ หรือว่าได้มีความพยายามสร้าง และแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาชาติบ้านเมืองหรือไม่ สิ่งง่าย ๆ ผมจะขอยกตัวอย่างจากข่าวที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้

 


ทักษิณ ยันฟ้องศาลโลกได้ อ้างคนมาเลย์เคยทำ (ไอเอ็นเอ็น) 

         พ.ต.ท.ทักษิณ ย้ำผ่านเว็บไซต์ จ่อนำเรื่องยึดทรัพย์ ขึ้นศาลโลก หากไม่ได้รับความยุติธรรม ขณะ ไทย ยืนยัน ทำไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้เป็นสมาชิกภาคีและคดีไม่เข้าข่ายการพิจารณา 

         พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวผ่านเว็บไซต์ ทวิตเตอร์ โดยออกมาระบุย้ำอีกครั้ง ถึงการเตรียมนำคดียึดทรัพย์ของตนเอง ขึ้นร้องต่อศาลโลก  (The International Court of Justice : ICJ ) หากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการตัดสินคดี ในวันที่ 26 ก.พ.นี้ โดยยืนยันถึงตัวอย่างชาวมาเลเซีย ที่เคยไม่ได้รับความเป็นธรรมจากประเทศของตนเอง และนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลก จนได้รับชัยชนะ และได้รับการชดเชยค่าเสียหายมาแล้ว

          ขณะที่ ก่อนหน้านี้ รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาให้สัมภาษณ์เช่นกัน โดยยืนยันว่า คดียึดทรัพย์นั้น ไม่เข้าข่ายเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เพราะมีการระบุไว้ว่า เรื่องที่จะยื่นได้ต้องเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐเท่านั้น และรัฐที่เป็นคู่กรณี ต้องยินยอมด้วย แม้แต่องค์กรระหว่างประเทศ ก็ไม่สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลโลกได้ นอกจากนี้ ยังต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการตีความส่วนสนธิสัญญาระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศเท่านั้น ส่วน ชาวมาเลเซีย ที่ถูกยกตัวอย่างนั้น อาจสามารถทำได้ เนื่องจาก มาเลเซียเป็นภาคีสมาชิก แต่ไทย ยังไม่ได้เข้าร่วมการเป็นสมาชิกด้วย

ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/46577

 


          'เทพเทือก'ยุส่ง'ทักษิณ'ฟ้องศาลโลก

ยันการทำหน้าที่ของศาลมีเพียงมาตรฐานเดียว วอนเชื่อมั่น-รับฟัง-ยอมรับ ในกระบวนการยุติธรรมคำพิพากษา

วันนี้(24 ก.พ.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายวิตกกังวลว่าในวันที่ 26 ก.พ. ซึ่งจะมีการตัดสินคดียึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเป็นจุดเปลี่ยนของประเทศไทย ว่า คิดว่าพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่มีความมั่นคงและเชื่อมั่นในระบอบการปกครองของประเทศเรา ซึ่งอำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ วันที่ 26 ก.พ.เป็นปรากฎการณ์ที่อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยที่ถูกใช้โดยศาลยุติธรรม จะได้ทำหน้าที่ในการดูแลประเทศ เพราะฉะนั้นทุกคนต้องเชื่อมั่น รับฟัง และยอมรับในกระบวนการยุติธรรมคำพิพากษาของศาลสถิตยุติธรรม ตนเชื่อว่าเมื่อคนส่วนใหญ่เขาทำใจได้อย่างนี้ คนเพียงหยิบมือเดียวไม่สามารถจะสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรได้ในบ้านเมือง

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า การที่กล่าวหาว่าเราเตรียมการโอเวอร์รีแอ๊คหรือเกินความเป็นจริงนั้น เป็นความจำเป็น เพราะเมื่อสงกรานต์ที่แล้ว คนกลุ่มนี้ได้ก่อเหตุยึดบ้านเมืองเผาบ้านเผาเมือง คนกรุงเทพฯเดือดร้อนกันมาก วันนี้จะไม่ยอมให้ไปยึกในที่เหล่านั้น และเตรียมการปฏิบัติไว้ให้รัดกุมเพื่อไม่ให้บ้านเมืองได้รับความเสียหาย ส่วนที่เขาจะต่อสู้ต่อไปยืดเยื้อยาวนานขนาดไหนก็เป็นสิทธิ แต่ต้องต่อสู้อยู่ภายในกรอบของกฎหมายในกฎเกณฑ์กติกาของระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง

          ต่อข้อถาม กรณีอดีตนายกรัฐมนตรี เตรียมยื่นฟ้องศาลโลก อาจกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ นายสุเทพ กล่าวว่า คิดว่าไม่เป็นปัญหา ถ้าสามารถนำคดีไปสู่ที่ศาลโลกได้อย่างที่ว่า ก็ยินดีมากกว่าที่จะมายึดบ้านยึดเมือง เผาบ้านเผาเมือง แล้วประชาชนเดือดร้อน ขอให้สู้ในแนวนั้นเถอะไม่มีปัญหา พร้อมขอให้สังคมมั่นใจว่าไม่มีระบบสองมาตรฐาน ในประเทศไทยศาลยุติธรรมได้ดำเนินการเป็นมาตรฐาน และเป็นมาตรฐานเดียวที่โลก และคนไทยยอมรับนับถือมานานนับร้อยๆ ปี ใครที่ไปล่วงละเมิดศาลก็จะต้องถูกดำเนินคดี เพียงแต่ถ้าหากยังไม่เข้าองค์ประกอบครบถ้วนก็ยังดำนินการไม่ได้.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page= content&categoryId=8&c ontentID=50701    วันพุธ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 16:43 น

 


อัยการตอกทักษิณฟ้องศาลโลกไม่ได้

         อธิบดีอัยการต่างประเทศชี้คดียึดทรัพย์ขึ้นศาลโลกไม่ได้

          นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีต่างประเทศ เปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถฟ้องต่อศาลโลกได้หากถูกยึดทรัพย์ เพราะศาลโลกจะพิจารณาข้อพิพาทที่เป็นเรื่องระหว่างประเทศกับประเทศ อาทิเรื่องเขตแดน หรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ส่วนบุคคลธรรมดาที่ถูกศาลตัดสินเป็นที่สิ้นสุดตามกฎหมายประเทศนั้นๆ แล้วคงไม่มีอำนาจไปฟ้อง และศาลคงไม่มาดูคดีลักษณะแบบนี้

           ฯลฯ

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=249613

 


โจรดิ้นฟ้องศาลโลก มหาตะแม้วผวาถูกยึด7.6หมื่นล.-แถรวยก่อนเป็นนายกฯ

31 มกราคม 2553 - 00:00

"ทักษิณ" ผวาถูกยึดทรัพย์ 7.6 หมื่น ล. ดิ้นพล่านสู้ทุกรูปแบบ พิลึก! ไปไกลถึงขั้นจะฟ้องศาลโลก "ทะแนะ" กลัวนายเสียหน้า อ้างแค่พูดกว้างๆ ถึงกระบวนการยุติธรรมมีอยู่ทั่วโลก "แก้วสรร" ชี้ฟ้องไม่ได้ เพราะต้องเป็นเรื่องระหว่างรัฐ "คตส.-ป.ป.ช." เมินคำขู่ "เสธ.แดง" ลั่นไม่กลัวตาย แต่จี้ "เทือก" เรียกคนปูดสังหารผู้พิพากษามาสอบปากคำ

          เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์ ถึงกรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะตัดสินคดียึดทรัพย์จำนวน 7.6 หมื่นล้านบาท

          พ.ต.ท.ทักษิณระบุว่า มีทรัพย์สินเท่าที่ถูกอายัดไว้เท่านั้น ซึ่งเป็นเงินของครอบครัวและได้ขายหุ้นก่อนที่จะมาเป็นนักการเมือง และราคาก็ขึ้นลงตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์เหมือนตลาดหุ้นทั่วไป

          "ผมเป็นนักสู้ตามระบอบประชาธิปไตย ยึดแนวทางมหาตมะ คานธี ไม่นิยมความรุนแรง แม้จะมีการกลั่นแกล้ง อย่างมากก็ไปสู้กันในศาลโลกด้วยความเป็นจริง" พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว

          นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า อดีตนายกรัฐมนตรีคงพูดไปตามบริบทของการใช้ทวิตเตอร์พูดกว้างๆ สื่อว่าจะต่อสู้จนสิ้นสุดกระบวนการยุติธรรมที่มีในโลกนี้ แต่จะฟ้องศาลโลกอย่างไรหรือไม่ คงยังไม่ไปไกลขนาดนั้น เพราะต้องรอคำตัดสินของศาลก่อน ไม่อยากคาดการณ์ล่วงหน้าว่าศาลจะตัดสินอย่างไร พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัวก็หวังว่าจะได้รับความเมตตาและความเที่ยงธรรมจากศาล

          ส่วนที่ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก หรือเสธ.แดง ออกมาให้สัมภาษณ์เตือน ป.ป.ช. ผู้พิพากษา คตส. ให้ระวังลูกลอบสังหาร เป็นเพียงความเห็น พล.ต.ขัตติยะที่นำเสนอ ไม่ใช่สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือที่ปรึกษา เป็นคนพูด และ พ.ต.ท.ทักษิณก็ย้ำมาตลอดว่ายึดแนวทางสันติ อหิงสา ต่อสู้ตามหลักของกฎหมาย

          นายไชยา ยิ้มวิไล ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม แสดงความคิดเห็นถึงกรณีนี้ว่า หากถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลโลกหรือไม่ ตอบว่าทุกคนมีสิทธิยื่นได้ทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริงนั้นต้องมาพิจารณาว่าศาลโลกจะรับหรือไม่

          "ส่วนตัวคิดว่าศาลโลกคงไม่รับฟ้องเนื่องจากเป็นคดีทุจริต และเป็นคดีส่วนบุคคล ไม่ใช่เรื่องของประเทศ ดังนั้นกรณีที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพียงการแก้เก้อหรือแก้เสียหน้าของ พ.ต.ท.ทักษิณ"

          ทางด้านนายแก้วสรร อติโพธิ อดีตเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวว่า ใครจะพูดอะไรก็คงพูดได้ แต่ก็งงว่าจะเข้าศาลโลกได้อย่างไร เนื่องจากต้องเป็นเรื่องระหว่างประเทศเท่านั้น ฯลฯ

                   ที่มา : http://www.thaipost.net/sunday/310110/17220

 


นายกฯ มองยึดทรัพย์ “ทักษิณ” ไม่เป็นเหตุถึงขนาดฟ้องศาลโลกได้

Posted on Tuesday, February 23, 2010

      นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บอกว่า มองไม่เห็นเหตุผลใดที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะนำเรื่องไปฟ้องต่อศาลโลกถึงกระบวนการตัดสินที่ไม่เป็นธรรมในคดียึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาท และยืนยันว่าจะไม่นำเรื่องการตัดสินคดียึดทรัพย์ดังกล่าวไปเป็นปัญหาระดับชาติ โดยขอให้ทุกฝ่ายรอฟังคำพิพากษาจากศาลฎีกา ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งศาลฯ จะแจกแจงรายละเอียดในคดีนี้ทั้งหมด

       ฯลฯ

ที่มา : http://www.moneychannel.co.th/Menu6/NewsUpdate/tabid/89/newsid491/ 108725 /Default.aspx     

 


 ‘ทักษิณ’ ยันฟ้องศาลยุติธรรมโลกได้แน่ หากไม่ได้รับความเป็นธรรม

Tue, 2010-02-23 00:56

          อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นวิทยากรพิเศษผ่านระบบวีดีโอลิงค์ ในการเสวนา "ทิศทางประเทศไทย ปี 2553" เชื่อจะได้รับความเป็นธรรมจากศาล

          22 ก.พ. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นวิทยากรพิเศษผ่านระบบวีดีโอลิงค์ ในการเสวนา "ทิศทางประเทศไทย ปี 2553" ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ซึ่งจัดโดยกลุ่มกรุงเทพฯ 50 โดยได้ตอบคำถามพิธีกรที่ถามถึงความรู้สึกก่อนวันตัดสินคดียึดทรัพย์ในวันที่ 26 ก.พ.นี้ ว่า ยังหลับสบาย และมั่นใจว่าผู้พิพากษาส่วนใหญ่เป็นคนดีและรักสถาบันยุติธรรม ผู้พิพากษาส่วนใหญ่มีชื่อเสียงมานานย่อมรักษาคุณธรรม ความดีมาทั้งชีวิต โดยยืนยันว่า ที่ผ่านมาตัวเองและครอบครัวไม่ได้ทำอะไรผิด ทรัพย์สินก็มีมาก่อนเป็นนายกฯ จากหุ้นตัวเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากมีการบิดเบือน ไม่ได้รับความยุติธรรม ก้ได้เตรียมทางออกไว้แล้ว โดยอยู่ระหว่างการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ และจะไม่เลิกต่อสู้อย่างแน่นอน

          ทั้งนี้อดีตนายกฯ ยังระบุด้วยว่า หากไม่ได้รับความเป็นธรรมว่าจะฟ้องต่อศาลโลก โดยกล่าวถึงการวิพากษ์วิจารณ์ของหลายฝ่ายที่เห็นว่า ไม่สามารถทำได้นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า คนวิจารณ์ไม่ได้เปิดตำราดูเลยไม่เข้าใจ คิดว่าศาลโลกหรือเวิลด์คอร์ตเป็นเรื่องของรัฐกับรัฐ แต่นี่ไม่ใช่เวิลด์คอร์ต แต่เป็นอินเตอร์เนชั่นแนลคอร์ต ออฟ จัสติส ซึ่งที่ประเทศมาเลเซียเคยมีประชาชนยื่นฟ้องรัฐบาลมาแล้ว ซึ่งศาลตัดสินให้รัฐบาลมาเลเซียจ่ายเงินชดเชยให้ 2.5 ล้านเหรียญ

ที่มา : http://www.prachatai.com/journal/2010/02/27838

 


“ทักษิณ” เพ้อ ฟ้องศาลโลก อวดหัวหมอ

          วันนี้ (24 ก.พ.2553) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โพสต์ข้อความผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์ ระบุย้ำอีกครั้งถึงการเตรียมนำคดียึดทรัพย์ของตนเอง ขึ้นร้องต่อศาลโลก (The International Court of Justice : ICJ )

          พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระบุข้อความว่า หากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการตัดสินคดี ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ โดยยืนยันถึงตัวอย่างชาวมาเลเซียที่เคยไม่ได้รับความเป็นธรรมจากประเทศของตนเอง และนำเรื่องขึ้นสู่ศาลโลกจนได้รับชัยชนะ และได้รับการชดเชยค่าเสียหายมาแล้ว

       นอกจากนี้ ยังต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการตีความส่วนสนธิสัญญาระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศเท่านั้น ส่วนชาวมาเลเซียที่ถูกยกตัวอย่างนั้น อาจสามารถทำได้ เนื่องจากมาเลเซียเป็นภาคีสมาชิก แต่ไทยยังไม่ได้เข้าร่วมการเป็นสมาชิกด้วย

ที่มา : http://www.chaoprayanews.com/2010/02/24/%E0%B8%97%E0%B8% B1%E0%B8%81% E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93%E2%80%9D-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%AD-%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/  

 

         อ่านข่าวหลาย ๆ ข่าวดังที่ยกตัวอย่างขึ้นมาข้างต้นแล้วนั้น กระผมมีความรู้สึกหงุดหงิดหัวใจยิ่งนัก กระผมในฐานะนักวิชาการด้านกฎหมายระหว่างประเทศ รู้สึกว่าบุคคลที่ให้สัมภาษณ์ในเรื่องของสิทธิของอดีตนายกทักษิณจะฟ้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้นยังมีความเข้าใจในเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง สิ่งนี้เป็นปัญหาของสังคมไทย ที่หลาย ๆ คนพยายามปฏิเสธการสร้างและแสวงหาองค์ความรู้ อีกทั้ง มีประชาชนมากมายที่แสดงความคิดเห็นโดยไม่ดูข้อเท็จริงที่เกิดขึ้น และข้อกฎหมายระหว่างประเทศ

         ดังนั้น เพื่อฝึกสมองลองปัญญา อยากให้พี่น้องนักศึกษากฎหมายคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แสดงศักยภาพของนักศึกษากฎหมายกันนะครับ

           สิ่งที่ผมจะสื่อต่อไปก็คือ การสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสังคม เช่นนี้แล้ว ผมจะตั้งประเด็นคำถามดังนี้นะครับ

         ประเด็นแรก : ศาลโลก กับอินเตอร์เนชั่นแนลคอร์ต ออฟ จัสติสเป็นศาลเดียวกันหรือไม่

         ประเด็นที่สอง : อดีตนายกฯทักษิณสามารถ/หรือมีสิทธิฟ้องศาลโลกได้หรือไม่

         ประเด็นที่สาม : ประเทศไทยเป็นภาคีธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือไม่

         ประเด็นที่สี่ : ปัจเจกชนชาวมาเลเซียสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรืออินเตอร์  เนชั่นแนลคอร์ต ออฟ จัสติสได้หรือไม่

 

(อยากให้ช่วยกันตอบจังเลยครับผม อ๊ะ อ๊ะ อ๊ะ อย่าใช้อารมณ์และความรู้สึกนะครับ)

หมายเลขบันทึก: 339772เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาตอบนะครับ แต่ว่าเกรงว่าจะเขียนไปโอ...จึงขอเอาของอาจารย์มาตอบแทนนะครับ

 

ปัจเจกชนฟ้องศาลโลกหรือศาลระหว่างประเทศได้หรือไม่

บทนำ

เรื่องการนำเสนอข้อพิพาทหรือคดีความให้ศาลโลกพิจารณานั้นเป็นประเด็นหนึ่งที่มีการกล่าวถึงเสมอๆ ในสังคมไทยที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ผู้ชุมนุมประท้วงคิดว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกละเมิดสิทธิต่างๆ จึงจะฟ้องศาลโลก หรือกรณีเกี่ยวกับนโยบายปราบปราบยาเสพติดก็เคยมีความคิดที่จะฟ้องอดีตนายกรัฐมนตรีต่อศาลโลก และกรณีล่าสุดในคดียึดทรัพย์ก็มีข่าวว่าจะมีการฟ้องศาลโลกอีกครั้ง ข้อเขียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงเกี่ยวกับศาลโลกโดยเฉพาะประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลของโลกว่ามีลักษณะอย่างไร

 

1. ศาลโลกคืออะไร
ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือเรียกชื่อย่ออันเป็นที่รู้จักกันดีว่า I.C.J. (ไอซีเจ) [1] แต่คนไทยนิยมเรียกว่า “ศาลโลก” (World Court) อีกชื่อหนึ่งของศาลโลกก็คือ “The Hague Court” อาจกล่าวได้ว่าศาลโลกปัจจุบันนี้เป็นทายาทสืบทอดมาจากศาลโลกเก่าคือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Permanent Court of International Justice: PCIJ) ศาลโลกจัดว่าเป็นหนึ่งในองค์กรหลักของสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่ Peace Palace กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ องค์คณะผู้พิพากษามีจำนวนทั้งสิ้น 15 คน [2] วาระ 9 ปี แต่ผู้พิพากษาอาจถูกแต่งตั้งได้อีก

 

2. เขตอำนาจศาลโลก (Jurisdiction)
ประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลโลกนั้นจัดว่าเป็นประเด็นที่สำคัญมากประเด็นหนึ่ง เขตอำนาจศาลโลกนั้นมีอยู่ด้วยกันสองประเภทคือ เขตอำนาจคดีที่มีข้อพิพาท (Contentious case) และการให้ความเห็นเชิงปรึกษา (Advisory opinion) โดยจะขออธิบายตามลำดับดังนี้

2.1 เขตอำนาจคดีที่มีข้อพิพาท (Contentious case)
ในธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Statute of the International Court of Justice) มาตรา 34 บัญญัติว่า “เฉพาะรัฐเท่านั้นที่อาจเป็นคู่ความในคดีต่อศาลโลกได้” [3] และใน มาตรา 38–42 ของ RULES OF COURT (1978) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีพิจารณาของศาลโลก ก็ยังใช้คำว่า Applicant State เมื่อพิจารณาจากธรรมนูญศาลโลกและกฎเกณฑ์วิธีพิจารณาของศาลโลกแล้ว ก็หมายความว่า เฉพาะรัฐอธิปไตยเท่านั้นที่อาจเป็นโจทก์ (Applicant) หรือจำเลย (Respondent) ต่อศาลโลกได้ นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องศาลโลกอย่าง Shabtai Rossen ก็ได้กล่าวว่า ศาลโลกเป็นศาลสำหรับรัฐ (A Court for States) ปัจเจกชนมิอาจเป็นคู่ความต่อศาลโลกได้ และปัจเจกชนก็ไม่มีอำนาจในการริเริ่มฟ้องคดี (locus standi) [4] 

หลักนี้หลักที่มีมาตั้งแต่ศาลโลกเก่าแล้ว โดยเจตนารมณ์ของการก่อตั้งศาลโลกก็คือ เป็นเวทีของการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศระหว่างรัฐกับรัฐ [5] ดังนั้น องค์การระหว่างประเทศก็ดี (Intergovernmental Organization) ผู้เป็นฝ่ายในสงครามก็ดี (Belligerency) องค์การปลดปล่อยทางการเมืองก็ดี (Liberation political movement) หรือปัจเจกชนก็ดี (Private individual )ไม่อาจเป็นคู่ความต่อศาลโลกได้

อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า ศาลโลกเคยตัดสินคดีที่เกี่ยวกับเรื่องของเอกชน เช่น คดี Nottebohm case, Barcelona Traction case, LaGrand case, Breard case แต่คดีเหล่านี้ ก็ล้วนแล้วทำในนามของรัฐทั้งสิ้น โดยผู้แทนของรัฐเป็นคู่ความในศาลโลก เอกชนมิได้ (และไม่สามารถ) เข้าเป็นคู่ความโดยตรง

และ มีข้อสังเกตอีกด้วยว่า หลังจากที่ประเทศไทยแพ้คดีปราสาทพระวิหาร ประเทศไทยก็มิได้ทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลกอีกต่อไป

2.2 การให้ความเห็นเชิงปรึกษา (Advisory opinion)
เขตอำนาจอีกแบบหนึ่งของศาลโลกคือ การให้ความเห็นเชิงปรึกษาแก่องค์กรหลักของสหประชาชาติรวมถึงทบวงการชำนัญพิเศษ (Specialized Agency) เช่น องค์การแรงงานระหว่างประเทศ องค์การอนามัย เป็นต้น รัฐก็ดี องค์การระหว่างประเทศอื่นก็ดี หรือปัจเจกชนก็ดี ไม่อาจร้องขอให้ศาลโลกทำความเห็นเชิงปรึกษาได้ โดยความเห็นเชิงปรึกษานี้ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย

 

3. ศาลระหว่างประเทศอื่นๆ
นอกเหนือจากศาลโลกแล้ว ปัจจุบันมีศาลระหว่างประเทศเกิดขึ้นมากกมาย ทั้งที่เป็นศาลถาวรหรือศาลประจำ (Permanent court) และศาลเฉพาะกิจ ที่เรียกว่า “ad hoc tribunal” โดยศาลระหว่างประเทศที่มีลักษณะเป็นศาลประจำประเทศ ได้แก่ ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC) [6] ศาลกฎหมายทะเล (The International Tribunal for the Law of the Sea -ITLOS) [7] ส่วนศาลระหว่างประเทศเฉพาะกิจซึ่งเกิดจากข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาตินั้นมีด้วยกันหลายศาล ได้แก่ International Criminal Tribunal for the former Yugoslavia : ICTY) และ The International Criminal Tribunal for Rwanda (ICTR), โดยศาลระหว่างประเทศเหล่านี้มีเขตอำนาจเกี่ยวกับอาชญากรรมระหว่างประเทศ (International crimes) เท่านั้น

ส่วน The European Court of Human Rights (ECHR) [8] แม้จะเป็นศาลที่เปิดโอกาสให้เอกชนฟ้องรัฐกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ก็ตาม แต่ก็ให้สิทธิแก่ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นภาคีอนุสัญญา European Convention on Human Rights เท่านั้น ซึ่งอนุสัญญานี้เปิดให้รัฐที่เป็นภาคีของ Council of Europe [9] ให้สัตยาบันเท่านั้น ดังนั้น รัฐนอกภาคี (อย่างประเทศไทย) ไม่อาจเป็นคู่ความต่อ The European Court of Human Rights ได้


บทสรุป

ตามธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (หรือศาลโลก) มาตรา 34 ระบุว่า เฉพาะรัฐเท่านั้นที่อาจเป็นคู่ความได้ ดังนั้น ศาลโลกจึงเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เฉพาะรัฐอธิปไตยเท่านั้นที่จะเป็นโจทก์หรือจำเลยในศาลโลก ปัจเจกชน (ไม่ว่าเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) ไม่อาจเป็นคู่ความในศาลโลกได้

เชิงอรรถ
[1] มีข้อพึงระวังว่า การใช้คำว่า IC.J. ต้องไม่ปะปนกับคำว่า International Commission of Jurists ซึ่งใช้คำย่อว่า I.C.J. เหมือนกัน แต่ International Commission of Jurists มีสถานะทางกฎหมายเป็นองค์การระหว่างประเทศแบบ NGOs ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1952
[2] อย่างไรก็ดี อาจมีการแต่งตั้งเป็นองค์คณะพิเศษ (Chamber) จำนวนน้อยกว่า 15 คนได้
[3] โปรดดู ธรรมนูญก่อตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ CHAPTER II - COMPETENCE OF THE COURT
Article 34
1. Only states may be parties in cases before the Court.
[4] โปรดดูรายละเอียดใน Rosenne Shabtai, The World Court: What It is and How It Works, (The Netherland: AW.Sijthoff,1973) หน้า 66
[5] ในเรื่องของหน้าที่หรือภารกิจหลักที่สำคัญของศาลโลกในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐนั้น อดีตผู้พิพากษาศาลโลกอย่าง Shigeru Oda ก็ได้ย้ำในประเด็นนี้ในความเห็นคดี LaGrand เมื่อรัฐบาลเยอรมันได้ร้องขอให้ศาลโลกออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว (Interim protection) ให้สหรัฐอเมริกาชะลอการประหารชีวิตของนาย LaGrand ออกไปก่อน ซึ่งท่าน Oda ตั้งข้อสังเกตในประเด็นนี้ว่า ศาลโลกไม่ควรเข้าไปแทรกแซงชะตากรรมของปัจเจกชนที่มิได้เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิของรัฐโดยตรง เนื่องจากภารกิจหลักสำคัญของศาลโลกคือการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศในเรื่องของสิทธิและหน้าที่ของรัฐ โปรดดู ถ้อยแถลงของท่านในคำร้องขอของรัฐบาลเยอรมันต่อศาลโลกให้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ในคดี LAGRANDC ASE (GERMANY v. UNITED STATES OF AMERICA) REQUEST FOR THE INDICATION OF PROVISIONAL MEASURES เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1999 วรรค 6
[6] ประเทศไทยยังมิได้เป็นภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลนี้มีเขตอำนาจเฉพาะอาชญากรรมระหว่างประเทศเท่านั้น เช่น การทำลายล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ การรุกราน และอาชญากรสงคราม
[7] ประเทศไทยยังมิได้เป็นภาคีศาลกฎหมายทะเล ศาลนี้มีเขตอำนาจเฉพาะข้อพิพาทที่เกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
[8] ตั้งอยู่ที่เมือง Strasbourg ประเทศฝรั่งเศส
[9] ประเทศที่เป็นสมาชิก Council of Europe มี 47 ประเทศ

 

ที่มา : http://www.prachatai.com/journal/2010/02/27841

เพิ่มเติมอีกนะครับ

 

            ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2489 เป็นองค์กรหลักภายใต้องค์การสหประชาชาติตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยทำหน้าที่สืบเนื่องต่อจากศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ (Permanent Court of International Justice) ที่ยุติบทบาทหน้าที่ไปพร้อมกับองค์การสันนิบาตชาติ ( ศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อ 10 มกราคม พ.ศ. 2463 )
            ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีใดๆ ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศ 2 ประเทศขึ้นไป (Contentious Case) เช่นข้อพิพาทเรื่องดินแดนอาณาเขต การละเมิดอำนาจอธิปไตย ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่รัฐเป็นผู้ฟ้องแทน ฯลฯ ทั้งนี้ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องยินยอมรับอำนาจศาลให้เป็นผู้พิจารณาตัดสินก่อนเท่านั้น ศาลจึงจะมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีนั้นได้
            นอกจากนี้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังมีอำนาจวินิจฉัยเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในทางกฎหมาย ระหว่างประเทศ (Advisory Opinion) ในสามกรณีหลัก คือ กรณีแรก ตามที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ร้องขอ กรณีที่สอง ตามที่องค์กรอื่นภายใต้สหประชาชาติหรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอโดยได้รับการอนุมัติจากสมัชชาใหญ่ และ กรณีที่สาม ตามที่ได้มีการให้อำนาจวินิจฉัยปัญหาไว้โดยสนธิสัญญา
            เมื่อปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้ยอมรับอำนาจศาลให้พิจารณาตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหาร โดยศาลได้ตัดสินว่าบริเวณปราสาทเขาพระวิหารส่วนสำคัญถือเป็นของประเทศกัมพูชา

การนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

            1.รัฐเท่านั้นที่มีคุณสมบัติเป็นคู่พิพาทในศาลฯ (ข้อ 34 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ) และรัฐนั้นต้องเป็นเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติและเป็นภาคีธรรมนูญศาลฯ
            2.รัฐคู่พิพาทได้ทำข้อตกลงพิเศษ (special agreement" หรือ "compromis) เสนอข้อพิพาทนั้นให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณา  (ข้อ 36 (1)) การตกลงเช่นว่านี้อาจเป็นการตกลงให้นำข้อพิพาทที่เกิดขึ้นแล้วขึ้นสู่ศาลฯ หรือจะจัดทำข้อตกลงไว้สำหรับสำหรับข้อพิพาทที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นก็ได้เพื่อเป็นการตกลงยอมรับล่วงหน้าว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจะนำคดีไปสู้กันที่ชั้นศาลฯ
            3. รัฐคู่พิพาทได้ทำสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาผูกพันให้ศาลฯมีอำนาจพิจารณาพิพากษาสำหรับกรณีพิพาท (compromissory clause in the treaties or conventions) เช่น สนธิสัญญาระหว่างสหรัฐฯ และนิคารากัว ในคดี Military and Paramilitary Activities in and Against Nicaragua (Nicaragua v. United States of America วันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1986
            4. รัฐนั้นได้จัดทำปฏิญญาหรือคำประกาศเลือก(optional clause declaration) ยอมรับอำนาจบังคับของศาล (obligatory jurisdiction) ไว้ล่วงหน้า อันเป็นผลผูกพันให้ต้องไปขึ้นศาลเมื่อมีกรณีพิพาททางกฎหมายในเรื่องต่อไปนี้
- การตีความสนธิสัญญา
- ปัญหากฎหมายระหว่างประเทศ
- ข้อเท็จจริงใด ๆ หากเกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นการละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศ
- สภาพขอบเขตของค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้ในกรณีละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศ (ข้อ 36 (2) ของธรรมนูญศาลฯ)
ปฏิญญายอมรับอำนาจศาลฯเช่นว่านี้อาจทำขึ้นโดยไม่มีเงื่อนไขใดเลย หรือภายใต้เงื่อนไขหรือระยะเวลาอย่างใดก็ได้ตามแต่รัฐนั้นๆจะพิจารณาเห็นสมควร

            จึงเห็นได้ว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่ได้จัดตั้งขึ้นไว้สำหรับพิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาทระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน หรือระหว่างเอกชนต่อรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่จะต้องเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐ เพราะฉะนั้นเมื่อเอกชนคนใดหรือองค์การใดประสงค์จะนำข้อพิพาทขื้นสู่ศาลฯนี้ ก็จำเป็นต้องขอให้รัฐบาลของตนดำเนินการให้ เช่น การใช้สิทธิ์ตามความคุ้มกันทางการทูต  อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่าบุคคลที่จะขอให้รัฐบาลของตนดำเนินเรื่องเพื่อให้ศาลฯพิจารณานั้น จะต้องเป็นคนในสัญชาติของรัฐนั้นและมีจุดข้องเกี่ยวกับรัฐนั้นอย่างแท้จริง (คดี Nottebohm Liechtenstein vs. Guatemala ค.ศ. 1955 และ คดี Lagrand   Germany vs. USA ค.ศ. 1999) มิฉะนั้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอาจไม่รับพิจารณาให้
            ตัวอย่างคดี Nottebohm เป็นกรณีหนึ่งที่รัฐดำเนินการในชั้นศาลฯ  ให้กับเอกชน โดยประเทศลิชเตนสไตน์ได้ดำเนินการนำคดีขึ้นสู่ศาลฯ ให้กับบุคคลสัญชาติลิชเตนสไตน์ โดยฟ้องประเทศกัวเตมาลาว่าคนในสัญชาติตนมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากกัวเตมาลา  ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายนอทเทอร์โบมเคยมีสัญชาติเยอรมัน แล้วไปมีภูมิลำเนาในกัวเตมาลาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2448  แต่มาได้สัญชาติลิชเตนสไตน์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างที่ไปเที่ยวทวีปยุโรป เมื่อได้สัญชาติลิชเตนสไตน์แล้วก็กลับไปพำนักที่กัวเตมาลาอีก จนกระทั่งถูกเนรเทศออกมาจากกัวเตมาลา  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจึงมีความเห็นว่า แม้นายนอทเทอร์โบมจะมีสัญชาติลิชเตนสไตน์แต่ก็มิได้มีความเกี่ยวข้องกับลิชเตนสไตน์อย่างแท้จริง การได้สัญชาติลิชเตนสไตน์เป็นเพียงเพื่อให้เขากลายเป็นคนในสัญชาติของประเทศที่เป็นกลางระหว่างสงครามเท่านั้น

            เท่าที่ได้เช็ครายการคดีคำพิพากษาของ ICJ ก็ไม่พบคดีเอกชนมาเลเซียฟ้องรัฐบาลมาเลเซียแต่อย่างได้ มีเพียงคดีพิพาททางเขตแดนระหว่างมาเลเซียและสิงคโปร์เท่านั้น
ดังนั้น ในกรณีอดีตนายกทักษิณน ไอซีเจ ไม่มีเขตอำนาจพิจารณาพิจารณาคดีครับ

legal bear

 

ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2a049c8cbc72984b&hl=th&table=%2Fguru%2F%3Fhl%3Dth

 

 

 

 

From: jarinya lim (xxxxxxxxxxx@yahoo.com)

Sent: Friday, March 19, 2010 10:07:33 PM

To: Pundawish Chatmongkolchart (punxxxxxxxxx@windowslive.com)

ประเด็นแรก : ศาลโลก กับอินเตอร์เนชั่นแนลคอร์ต ออฟ จัสติสเป็นศาลเดียวกันหรือไม่

__ ในทางปฏิบัติตามที่เป็นที่เข้าใจ ศาลโลกคือชื่ออีกชื่อที่ใช้เรียกแทน International court of justice เท่านั้น ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบได้ในฐานะศาลระหว่างประเทศกลางของโลก ที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามไม่มีสภาพบังคับ อย่างคดีเขาพระวิหารที่ประเทศไทยก็ไม่ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกเช่นเดียวกัน

ประเด็นที่สอง : อดีตนายกฯทักษิณสามารถ/หรือมีสิทธิฟ้องศาลโลกได้หรือไม่

__ไม่ได้ค่ะ เพราะกรณีของนายทักษิณเป็นข้อพิพาทของรัฐไทยกับเอกชน มิได้มีองค์ประกอบของนิติสัมพันธ์ระหว่างประเทศแต่อย่างใด จึงไม่สามารถนำข้อพิพาทที่ไม่ว่าจะอ้างเรื่องความเป็นธรรม หรือความไม่ยุติธรรมใดๆขึ้นฟ้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท