รมว.ศธ.เยี่ยมชมสถานศึกษาในเอธิโอเปีย‏


หากเราได้มีการพัฒนาวิทยาลัยเฉพาะเป็นพิเศษเพื่อให้นักเรียนสนใจ โดยเฉพาะวิทยาลัยช่างศิลป์ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นำเด็กที่มีอัจฉริยภาพ มีศักยภาพด้านนี้มาเรียน เพื่อต่อยอดให้สามารถรักษาจิตรกรรม ศิลปะของบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า และส่งเสริมการเรียนรู้ด้านนี้ให้เป็นเครื่องมือเพื่อเผยแพร่การเรียนรู้ในระดับอื่นๆ ในการสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เยี่ยมชมโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและวิทยาลัยอาชีวศึกษา ที่กรุงแอดดิส อบาบา เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

โรงเรียน Menelik II  สอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย เปิดสอนเมื่อปี ๒๔๔๘ โดยเริ่มสอนวิชาศาสนา การเขียน ประวัติศาสตร์ ฯลฯ ต่อมาได้เพิ่มวิชาภาษาฝรั่งเศส คณิตศาสตร์ และศิลปะเป็นวิชาเลือก โรงเรียนทำการสอนวันละ ๘ คาบ (เช้า ๕ คาบ บ่าย ๓ คาบ) ปัจจุบันมีครูชาวต่างชาติมาสอน เช่น ชาวอียิปต์ อังกฤษ สวีเดน และอเมริกัน มีนักเรียนจำนวนประมาณ ๒,๙๐๐ คน และครู ๑๑๙ คน มีการเรียนร่วมของเด็กพิการในโรงเรียนด้วย สำหรับวิชาที่เปิดสอนมี ๑๔ สาขา ได้แก่ ภาษาฮัมฮาริค, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, เทคนิคการวาดภาพ, ICT, ประวัติศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, ธุรกิจทั่วไป ฯลฯ รวมทั้งมีการสอนหลักสูตรพิเศษ เช่น การป้องกันโรคเอดส์, การจราจร, ยุวกาชาด, การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองดี และคุณธรรมจริยธรรม, วิทยุเพื่อสังคม เป็นต้น

วิทยาลัยอาชีวศึกษา Entoto Tvet  เปิดสอน ๔๒ สาขาวิชามี ๑๑ ภาควิชา มีผู้เข้าเรียนภาคปกติ ๔,๖๙๖ คน และผู้อบรมระยะสั้น ๕,๐๐๐ คน มีการจ้างผู้ฝึกอบรม ๑๙๗ คน และคนงานเข้ามาร่วมสนับสนุนการสอน ๘๔ คน วิทยาลัยแห่งนี้ฝึกอบรมคนเพื่อป้อนให้แก่สถานประกอบการขนาดเล็ก โดยเน้นด้าน คหกรรมศาสตร์ งานโลหะ การตัดเย็บ และการไฟฟ้า ฯลฯ

รมว.ศธ.เปิดเผยว่า เอธิโอเปียเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในความสนใจของเพื่อนสมาชิกยูเนสโก เนื่องจากเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาด้านการศึกษา จากการดูงานครั้งนี้ก็พบว่าได้มีการพัฒนาเพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศ โรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไปเยี่ยมชมครั้งนี้ เป็นโรงเรียนที่เก่าแก่และมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษามาระดับหนึ่ง แต่มีข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร ส่วนระดับอาชีวศึกษามีข้อดีที่เห็นได้ชัดเจน กล่าวคือ พยายามจัดการศึกษาตามความถนัดของผู้เรียน ซึ่งไทยก็มีวิทยาลัยอาชีวศึกษาจำนวนมากทั้งวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม วิทยาลัยสารพัดช่าง ฯลฯ

หากเราได้มีการพัฒนาวิทยาลัยเฉพาะเป็นพิเศษเพื่อให้นักเรียนสนใจ โดยเฉพาะวิทยาลัยช่างศิลป์ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นำเด็กที่มีอัจฉริยภาพ มีศักยภาพด้านนี้มาเรียน เพื่อต่อยอดให้สามารถรักษาจิตรกรรม ศิลปะของบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า และส่งเสริมการเรียนรู้ด้านนี้ให้เป็นเครื่องมือเพื่อเผยแพร่การเรียนรู้ในระดับอื่นๆ ในการสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในระยะต่อไปก็จะมีความร่วมมือด้านแอฟริกันศึกษา และการแลกเปลี่ยนด้านนักเรียนและครู เป็นต้น.


อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2010/feb/068.html

คำสำคัญ (Tags): #ศธ ดูงาน
หมายเลขบันทึก: 339938เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

  • มาติดตามอ่านค่ะ  ขอขอบคุณค่ะ
  • อยากมีแฟนตรึมไปที่นี่ค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/krukim/339862

สวัสดีครับ 

P
พี่ครูคิม
ไปอ่านมาแล้วครับ...อยากมีแฟนตรึม....
ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท