วิถีคิดขงจื้อ


"ขงจื้อ" ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ที่กำลังเข้าฉายอยู่ในขณะนี้  หลายท่านไปชมแล้ว คงได้แง่คิดปรัชญาคำสอนกันพอสมควร  ผู้เขียนขอนำเสนอความประทับใจที่ได้รับดังนี้

๑.  การดำรงชีวิตอย่างสมถะ 

     แม้ขงจื้อจะเป็นขุนนาง ในสมัยนั้นเรียกว่าเสนาบดีมหาดไทย แต่ก็ยังใช้ชีวิตแบบธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องแต่งกาย การใช้ชีวิต หรือที่เรียกว่าการกินอยู่หลับนอนอย่างสมถะ พอเพียง หาได้ฟุ้งเฟ้อหรูหราแต่อย่างใดไม่

     เมื่อถึงตอนที่ถูกเนรเทศออกจากเมืองทางอ้อมโดยผู้มีอำนาจซึ่งมีแนวคิดแตกต่างกัน สิ่งที่ขงจื้อนำติดตัวไปด้วยคือกองหนังสือใส่เกวียนเพื่อศึกษาเรียนรู้ และเผยแพร่หลักคิดตน โดยไม่มีทรัพย์สินเงินทองแต่อย่างใด  ตลอดการเดินทางของท่านคือการเป็นครูสอนศิษย์ไปในหลาย ๆ แห่ง หากินเลี้ยงชีพจากขุมทรัพย์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวเอง

๒.  การยึดมั่นในคุณธรรมของตนโดยปราศจากทิฐิมานะ

     หลังจากที่ขงขื้อออกไปใช้ชีวิตนอกเมืองที่เคยเป็นถิ่นกำเนิดของตน ปรากฎภายหลังต่อมาว่าบ้านเมืองถูกล้อมโดยข้าศึกเป็นเวลา ๘ เดือน ขุนนางผู้มีอำนาจฝ่ายตรงข้ามจำต้องหาทางเชิญขงจื้อมาช่วยวางแผนรบ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนแม้กระทั่งศัตรูของขงจื้อเองก็ตระหนักดีว่าขงจื้อเป็นปราชญ์ผู้รอบรู้  แต่เพราะหลักคิดก้าวหน้าของขงจื้อที่ขัดผลประโยชน์ตนจึงหาทางขับไล่ออกไปจะได้ไม่ขวางทาง เมื่อถึงคราวคับขัน ก็ย่อมต้องนึกถึงปราชญ์แห่งแผ่นดินตัวจริง   ถึงตอนนี้เอง ขงจื้อหาได้ปฏิเสธหรือมีท่าทีหยิ่งยะโสแต่อย่างใด  เพื่อบ้านเมืองแล้ว ไม่มีทิฐิมานะเลย  จิตใจท่านสูงส่งมาก

 

๓.  การเป็นปราชญ์โดยไม่ยุ่งกับการเมือง

    ตอนท้ายของภาพยนตร์  ขุนนางซึ่งเป็นศัตรูกับท่านใกล้จะหมดลมหายใจ ได้ส่งบุตรชายมาขอขมาท่านขงจื้อสำหรับความผิดที่ได้เคยล่วงเกินและเชิญขงจื้อกลับเข้าเมืองอย่างเป็นทางการ  ขงจื้อยอมรับคำขอขมาและจะกลับเข้าเมืองมาใช้ชีวิตบั้นปลายในบ้านเกิดเมืองนอนของตน แต่มีข้อแม้ว่าท่านจะไม่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งเป็นการประกาศให้ฝ่ายผู้มีอำนาจได้ตระหนักถึงจุดยืนของท่านที่ไม่หวังในลาภยศสรรเสริญ

 

ข้อสังเกตที่สำคัญ ปราชญ์ที่แท้ย่อมแยกแยะระหว่างบทบาทความเป็นครูกับนักการเมือง ซึ่งอาจมีปรัชญาในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน

และ "มีลาภ เสื่อมลาภ" คือสัจธรรม เพราะฉะนั้นเราจะเข้าใจและละวางเองได้หรือไม่ อย่างไร

 

 

 

---------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลเกี่ยวกับขงจื้อ

ขงจื๊อ มีชื่อแบบสามัญว่า ข่งชิว บรรพบุรุษของ ขงจื๊อ เดิมเป็นชนชั้นสูงใน ประเทศซ่ง ซึ่งปัจจุบันคือจังหวัดเหอหนาน ภายหลังพวกเขาได้อพยพไปอยู่ในประเทศหลู่ (ปัจจุบันคือซานตง) ภายหลังที่พ่อของขงจื๊อ ถึงแก่กรรม แม่ผู้ยังเยาว์วัยได้หอบหิ้วขงจื๊อเข้าไปอยู่ในเมือง ชวีฝู่ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศหลู่ ผู้เป็นแม่เป็นห่วงเรื่องการศึกษาของขงจื๊อเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเล็งเห็นว่าการจะมีชีวิตที่มีอนาคตนั้น ขงจื๊อต้องเป็นขุนนาง และมีวิธีเดียวที่จะบรรลุได้ คือการเรียนหนังสือให้อ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นหนทางของการมีความรู้นั่นเอง ขงจื๊อเป็นเด็กที่เชื่อฟังคำของมารดาเป็นอย่างยิ่ง ตั้งใจเรียนหนังสืออย่างจริงจังและขยันขันแข็ง อ่านหนังสือจนลืมพักผ่อนบ่อยๆ แต่ละวันๆ มารดาต้องเตือนให้พักผ่อน เขาจึงจะหยุดพักผ่อน ซึ่งก็เป็นการพักผ่อนเพียงชั่วครู่ เขามักจะพูดว่า เรียนหนังสือต้องเรียนให้ดี การทำอะไรทั้งมวลต้องไม่หยุดกลางคัน

ตั้งแต่เด็กจนเป็นหนุ่ม ขงจื๊อมีความรู้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อายุยังไม่ถึง 20 ปี ก็เป็นผู้มีชื่อเสียงของประเทศหลู่คนหนึ่งแล้ว เมื่ออายุ 20 ปีเศษ มีบุตรชายหนึ่งคน ฮ่องเต้ของประเทศหลู่ ได้ส่งปลา หลี่-ยวี๋ มาแสดงความยินดี ลูกชายของขงจื๊อจึงมีชื่อว่า หลี่ ( ขง หลี่ ) 

 ...เมื่อขงจื๊ออายุมากขึ้น ได้ทำเรื่องสำคัญคือการเขียนหนังสือเรื่อง ชุนชิว เป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เน้นเรื่องไปที่บุคคลสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญของประเทศหลู่ ระหว่างปี 722 ก่อน ค.ศ. ถึง ปี 481 ก่อน ค.ศ. รวมประมาณ 240 ปี ในสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษ ต้องเขียนตัวหนังสือบนแผ่นไม้ไผ่ ตอนเริ่มเขียนเรื่องนี้ ขงจื๊อจะไม่ออกมาข้างนอกบ้านเป็นวันๆ มือข้างหนึ่งถือแผ่นไม้ไผ่ มืออีกข้างหนึ่งถือพู่กัน เขียนเรื่องอย่างตั้งอกตั้งใจ นักเรียนของท่านเห็นการทำงานที่จริงจัง และเหน็ดเหนื่อย ต่างเสนอตัวเขียนแทนท่าน ท่านบอกว่า "ไม่ได้ เรื่องที่ฉันเขียนเป็นเรื่องของคนที่ตายแล้ว และฉันต้องการนำทัศนะของฉันบรรจุลงไปด้วย ฉันคิดว่าคนรุ่นหลังจะได้เข้าใจฉัน หรือไม่ก็ประณามฉันได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า ฉันได้เขียนบทอย่างนี้ของ   ชุนชิว 

ขงจื๊อเมื่อตอนปลายอายุ 71 ปี จึงได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงเล่มนี้สำเร็จ เป็นเพราะการที่ขงจื๊อตั้งอกตั้งใจเขียนเป็นพิเศษ ดังนั้นทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญเหล่านั้นจึงถูกบันทึกไว้อย่างถูกต้องอย่างยิ่ง
  

ขณะที่ขงจื๊อเขียนหนังสือชุนชิวนั้น ได้เขียนบทกวีร่วมสมัยขึ้นด้วย ขงจื๊อชอบดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ ตอนที่ท่านไปอยู่ที่ประเทศฉี เคยได้ยินการบรรเลงเพลงที่ไพเราะยิ่ง ฟังแล้วครั้งหนึ่ง ใน 3 เดือน ต่อมา จะไม่มีความรู้สึกอยากลิ้มรสเนื้อ ตัวท่านเองชอบร้องเพลงและเล่นขิม ไม่เพียงแต่บรรเลงเพลงด้วยตัวเอง แต่ยังสอนนักเรียนให้ฝึกหัดดนตรี ท่านได้แต่งบทกวีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโรงเรียนของท่าน จัดกลุ่มนักเรียนให้ศึกษาวิจัยทางดนตรี ทำให้นักเรียนบางคนมีความสามารถทั้งการบรรเลงดนตรี และการขับร้อง

ในเวลานั้นบทกวีที่มีชื่อเสียงในสังคมมีมากกว่า 3,000 บท ขงจื๊อ ได้คัดเลือกออกมา 305 บท รวบรวมเป็นหนังสือบทกวีเล่มแรกของประเทศจีนชื่อว่า ซือจิง

แม้ว่าขงจื๊อจะมีชื่อเสียง แต่ก็เป็นผู้เปิดกว้าง ถ่อมตน มักจะพูดว่า เรื่องที่ตัวรู้นั้นยังมีไม่มาก ดังนั้นเพื่อนฝูงและเพื่อนบ้านต่างชอบเขาโดยทั่วกัน

 

http://www.rta.mi.th/chukiat/story/khongjue.html

 

 

หมายเลขบันทึก: 341291เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2010 08:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

สวัสดีครับพี่...

แวะมาเยี่ยมครับ

อ่านจั่วหัวได้นิดหน่อย ก็ตัดสินใจหยุดอ่าน

ต้ังใจจะดูหนังเรื่องนี้ครับ แหะ แหะ เดี๋ยวดูหนังไม่สนุก

ดูหนังแล้วจะกลับมาอ่านครับพี่...

    *   ท่านขงจื้อ   เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้เลยนะครับ ที่ผมชอบ คือ การดำรงชีวิตของท่าน สอดคล้องกับคำสอน

      (เมื่อคืนดูการวิเคราะห์ข้อสอบ  เขาบอกว่าชีวิตจริงก็อย่างหนึ่ง  ตอบข้อสอบก็ต้องตอบอีกอย่างหนึ่ง)

มารับข้อคิดดียามเช้าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

คุณsila ครับ

บันทึกนี้ อ่านแล้ว อยากเลียนอย่างขงจื้อ เพิ่มขึ้น นะครับ

หากผมผลัก ประตู บานนี้ออก ก็ได้เห็นธรรมชาติ เต็มตายิ่งขึ้น

ชอบความคิดของคุณ นะครับ คุณsila และนับวันก็ยิ่งชอบเป็นทวีคูณ ขึ้นเรื่อย ๆ

ก่อนผลัก ...บานประตูบานนี้ ก็พอเห็นเป็นลาง ๆ บ้างแล้ว

มีความสุข นะครับ บันทึกแบบนี้เนี่ย

...

เริ่มเลียนแบบ จากสิ่งที่ผมทำได้

ขอบคุณ นะครับ

ด้วยความระลึกถึง  

สวัสดีค่ะ

คงไม่ต้องกล่าวสิ่งใดอีก เพราะ บันทึกนี้ ได้สรุปไว้อย่างชัดเจน และงดงามค่ะ

ประทับใจมากๆ ค่ะ


๑.  การดำรงชีวิตอย่างสมถะ 

๒.  การยึดมั่นในคุณธรรมของตนโดยปราศจากทิฐิมานะ

๓.  การเป็นปราชญ์โดยไม่ยุ่งกับการเมือง

ปราชญ์ที่แท้ย่อมแยกแยะระหว่างบทบาทความเป็นครูกับนักการเมือง
ซึ่งอาจมีปรัชญาในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน

 

ภาพประกอบสวยมากๆ  ขออนุญาต นะคะ คุณ P แสงแห่งความดี ที่ชอบภาพเดียวกับคุณแสง

*********

แต่ขอย่อขนาดลง   มิบังอาจเทียบกับคุณแสงค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ  ขอให้พบแต่ความสุขตลอดไปค่ะ

 

สวัสดีคะ

น้องศิลา

คิดถึงเสมอคะ  แต่ว่าช่วงนี้งานยุ่งมากถึงมากที่สุด

อ่านบทความนี้แล้ว ประทับใจมากคะ ได้ข้อคิดที่ดีดี

ใครดูหนังแล้วถอดบทเรียนได้ขนาดนี้ ต้องขอคาระวะ คะ

สวัสดีค่ะพี่หญิงศิลา

เป็นแนวคิดที่หากผู้บริหาร นักการเมือง ผู้เป็นฟันเฟืองใหญ่สำคัญในบ้านเรา ตลอดจนปัจเจกชน ประชาชนธรรมดาฟันเฟืองเล็กๆ อย่างเราๆ ต้องตระหนักและร่วมด้วยช่วยกัน

ขอบคุณค่ะพี่ ... ยังหวัง ยังรอ ;)

  • มาติดตามข่าวคราวว่าคุณหนานเกียรติPไปดูขงจื้อมารึยังค่ะ
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์ Small Man Pสำหรับคำคมที่มฝากไว้  สรุปความตามความคิดที่ได้โดยส่วนตัวคือตอบอะไรก็ควรต้องดูบริบทและหมวกที่สวมใส่ด้วย น่าจะเป็นการดีค่ะ

แวะมาอ่านสิ่งดีๆค่ะ อ่านแล้วได้ข้อคิดดีนะค่ะ

สวัสดีค่ะ  แวะมาเยี่ยมนะคะ

No Violence

สวัสดีครับ  รักประเทศไทย  ตำรวจเป็นมิตร  ใกล้ชิดประชาชน

สวัสดีค่ะคุณศิลา

เรื่องราวของ ขงจื้อ นี้ คนไม่มีรากได้ฟังบ่อยมากค่ะ เพราะครอบครัวเชื้อสายจีนจะมีข้อปฏิบัติซึ่งมีรากฐานสำคัญส่วนใหญ่จากท่านขงจื้อ

แวะมาทักทายด้วยความระลึกถึงค่ะ

งานคงยุ่ง ๆ นะคะ อย่างไรก็ร้กษาสุขภาพมาก ๆ นะคะ

ระลึกถึงค่ะ

(^___^)

หากนักการไทยเรียนรู้ความเป็นปราชญ์อย่างท่านคงจะดีไม่น้อยนะครับ

รักประเทศไทย  ตำรวจเป็นมิตร  ใกล้ชิดประชาชน

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านบันทึก

พร้อมกับเรียนรู้ค่ะ

ขอบคุณนะคะ^__^

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยียนค่ะ สบายดีนะค่ะ มาพร้อมกับภาพสายฝนมาฝากเพื่อจะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้บ้าง .........
  • มีความสุขมาก ๆ นะค่ะ

              

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์...

ประเทศไทยของเราตอนนี้ต้องการคนดีๆอย่างท่านขงจื้อ...มีไหมคะ...

เห็นอาจารย์สรุปดีๆอย่างนี้อยากไปดูหนังจังเลยค่ะ

  • ขอบพระคุณคุณ berger0123 ค่ะ ข้อคิดนี้สมควรแก่บัณฑิตทุกท่านค่ะ ขอให้มีความสุขมาก ๆ ค่ะ
  • ดีใจค่ะที่เราไม่เคยห่างเหินกันเลย เพียงคุณแสงแห่งความดี P เปิดประตูบานนี้ออกก็จะพบเจอกัลยาณมิตรที่ดีงามทุกท่านค่ะ
  • บัณฑิตย่อมคบหากัน ถึงเวลาก็เจอกัน มันเป็นการหมุนรอบซึ่งกันและกันค่ะ
  • ขอให้มีความสุขทุกช่วงเวลาค่ะ
  • คุณครูใจดี P สรุปได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ สงสัยเป็นหนอนหนังสือแน่เลย ดีใจกับเด็กไทยที่ได้คุณครูคนดีคนนี้ค่ะ
  • ขอบพระคุณพี่ต้อย P มากนะคะที่แวะมาเยี่ยม ทั้งที่งานยุ่งมาก สงสัยเราสองคนใจตรงกันค่ะ นาน ๆ ทีเข้า G2K ที รู้สึกแปลกหน้าสำหรับที่นี่ในตอนแรก แต่พอเห็นพี่ต้อยแวะมาทัก ก็รู้สึกอบอุ่นเช่นเดิมแล้วค่ะ
  • หวังว่าวันหนึ่งเราคงได้พบประสนทนากันอีกนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท