วิจัยในชั้นเรียน ; นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง


วิจัยในชั้นเรียน (classroom action research)  เป็นงานวิจัยแบบลงมือปฏิบัติจริง (action research) คือการสืบค้นหรือการวิจัยในบริบทของความพยายามที่มุ่งเน้นไปสู่การปรับปรุงพัฒนาคุณภาพขององค์กรและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลากร ผู้ปฏิบัติงานจะเป็นผู้ออกแบบและดำเนินการวิจัย ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูล และหาข้อสรุปเองเพื่อปรับปรุงการทำงานของตน งานวิจัยแบบลงมือปฏิบัติสามารถทำโดยคนหนึ่งคนหรือเป็นกลุ่มผู้ร่วมงานก็ได้  มีการดำเนินการเป็น 5 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 – เลือกปัญหา
- ทำไมจึงต้องการทำปัญหานี้ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญและมีนัยเชิงปฏิบัติ คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปและการลงทุนลงแรงหรือไม่? มีประโยชน์ต่อตัวเอง นักเรียนและคนอื่นๆไหม?
- แสดงปัญหาไว้ชัดเจน และอยู่ในรูปแบบของคำถามหรือไม่? ปัญหากว้างพอที่จะให้มุมมองและการค้นพบใหม่ๆหรือไม่? ปัญหาแคบพอที่จะจัดการได้ในกรอบเวลาและงานประจำวันที่เหมาะสมไหม?
              ระยะที่ 2 – วางแผนการทำงาน
- ท่านจะพัฒนายุทธศาสตร์หรือวิธีการใหม่และนำมาปฏิบัติเพื่อมองปัญหาของท่านหรือไม่? ถ้าคำตอบคือใช่ วิธีการหรือยุทธศาสตร์นั้นคืออะไร?
- ท่านจะเน้นงานวิจัยของท่านในเรื่องที่มีปัญหาเชิงปฏิบัติหรือไม่? เรื่องอะไร
- ท่านคิดว่าจะใช้เวลาทำเรื่องนี้นานเท่าใดจึงจะเหมาะสม?
               ระยะที่ 3 – รวบรวมข้อมูล
- ข้อมูลใดบ้างที่ท่านควรจะรวบรวมเพื่อตอบคำถามของท่าน?

- จะเชื่อได้อย่างไรว่าท่านมีมุมมองปัญหาที่หลากหลาย?

-  มีแหล่งข้อมูลใดบ้าง และมีข้อสนเทศใดจากผู้อื่นซึ่งอาจมีประโยชน์และช่วยให้ท่านตีกรอบคำถามของท่าน และตัดสินใจได้ว่าจะเก็บข้อมูลใดบ้าง หรือช่วยให้ท่านตีความผลการวิจัยของท่านได้?
                ระยะที่ 4 – วิเคราะห์ข้อมูล
- ท่านเรียนรู้อะไรบ้างจากข้อมูล? ท่านสามารถหารูปแบบ insights และความเข้าใจใหม่ๆจากข้อมูลได้หรือไม่?
- รูปแบบ insights และความเข้าใจใหม่ๆเหล่านี้มีความหมายอะไรบ้างต่อการสอนหรือการทำงานของท่าน? ต่อนักเรียนของท่าน?
                  ระยะที่ 5 – แผนสำหรับการนำผลที่ได้ไปปฏิบัติในอนาคต
- ท่านจะทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมบ้าง อันเป็นผลจากงานวิจัยในชั้นเรียนของท่าน?
- ท่านจะมีคำแนะนำสำหรับผู้อื่นหรือไม่?
- ท่านจะเขียนรายงานสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้นี้อย่างไร เพื่อที่ท่านและผู้อื่นจะได้รับประโยชน์จากงานนี้?

การวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นกระบวนการแก้ปัญหาโดยผ่านการวางแผน การรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบ การวิเคราะห์ข้อมูลและการตีความหมายข้อมูล การวิจัยเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้ได้ความรู้ใหม่มาเป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าและพัฒนาคนให้สามารถเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นการลดความขัดแย้งของพฤติกรรมต่างๆ ของคนลงได้

หมายเลขบันทึก: 341550เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2010 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท