บทความที่3


รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
บทความที่ 3
                                                                รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM) หมายถึง การรวบรวมความรู้สู่การปฏิบัติ             (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจาก  การเรียนรู้  เจตคติในงาน  ประสบการณ์การทำงาน  และพฤติกรรมการทำงานของแต่ละบุคคล  ซึ่งปฏิบัติงานเรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่อง แล้วประชุมหรือสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน  แลกเปลี่ยนประสบการณ์  เมื่อรวบรวมแล้วก็มีการนำความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์ วิเคราะห์ (Analysis) หรือจัดระบบใหม่ เพื่อสร้างเป็น          องค์ความรู้ใหม่  ยอมรับข้อดีและจุดที่เป็นปัญหาของกันและกัน  มีการจัดเก็บข้อสรุปทั้งมวล            อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การยอมรับในกฎกติกาขององค์กรที่ทุกคนยอมรับ
    ขั้นตอนในการจัดการความรู้สถานศึกษา 
1.  ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมในการจัดการความรู้ (Culture Change)
2.   สื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Communication)
3.   กระบวนการและเครื่องมือในการจัดการความรู้ (Process and Tools) )
4.   เรียนรู้ (Learning) เพื่อสร้างความรู้ต่อยอด
5.   การวัดผลการจัดการความรู้ (Meausurement)
6.   การยอมรับและให้รางวัล (Recognition and Rewards)
การที่จะสร้างสมรรถนะคนในสถานศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้นั้น   ผู้บริหารจำเป็นต้องส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้เทคโนโลยีและสารสนเทศ  วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ  สร้างแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อให้บุคคลในสถานศึกษาเป็นบุคคลการเรียนรู้อย่างแท้จริง
หมายเลขบันทึก: 341838เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2010 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท