เยี่ยมชมการพัฒนาการจัดการความปวดโรงพยาบาลบุรีรัมย์


เยี่ยมชมการพัฒนาการจัดการความปวดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ - มีนาคม 2553

วันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา ทีมวิจัยการจัดการความปวดในเด็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไทยขแคนาดา (ศ. นพ.สมบูรณ์ เทียนทอง ผศ. ดร. พูลสุข ศิริพูล  เกศนี บุณยวัฒนางกุล และเย็นจิตร ถิ่นขาม) เดินทางไปเยี่ยมชม การพัฒนาการจัดการความปวดที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โดยภาคเช้าเข้าเยี่ยมหอผู้ป่วยเด็ก 4 แลกเปลี่ยนกับ Nurse facilitators โครงการฯ คือน้องนวย น้องกิ๊บ และพยาบาลหอผู้ป่วยเด็ก รวมทั้งพี่ต้อยติ่งแกนนำการพัฒนาการจัดการความปวดผู้ใหญ่ (หัวหน้าหอผู้ป่วยกระดูก ortho และเป็นเพื่อนนักเรียน Short course ระบาดวิทยา คณะแพทย์ มข รุ่นเดียวกับฉัน คือ รุ่น 12) จากนั้นเข้าพบผู้อำนวยการโรงพยาบาล ท่าน ผอ. ชลิต ทองประยูร ท่านพึ่งย้ายมาจากสมุทรปราการ ท่านให้การสนับสนุนเต็มที่ ท่านย้ำด้วยความเป็นห่วงว่า “ทำอย่างไรโรงพยาบาลบุรีรัมย์จะเป็น 1 ใน 7 โรงพยาบาลที่เข้าร่วมเครือข่าย สามารถพัฒนาได้เท่าทัน..ท่านบอกว่าให้ตั้งแกนนำเลย…อาจเป็นพยาบาลเพื่อลิงค์กับแพทย์..”  และท่านรองหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล พี่เปี๊ยก (background ท่านเป็นวิสัญญีพยาบาล) ก็กล่าวว่าฝ่ายการพยาบาลก็สนับสนุนต็มที่ ฉันจึงเชื่อว่า การจัดการความปวดในเด็กของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จะรุดหน้าในอนาคตเช่นกัน ทำให้ Nurse fa มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้นเมื่อผู้บริหารให้การสนับสนุนเต็มที่นับจากนี้ไป

Dsc010

Dsc0327

Dsc0090

ท่าน ผอ ชลิต ทองประยูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ท่านปัจจุบันค่ะ

Dsc0381

Dsc0078

ท่านอาจารย์สมบูรณ์

Dsc0380

Dsc0082

ท่านอาจารย์พูลสุข จากคณะพยาบาล มข.

Dsc0095

ตัวแทนผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล ท่านรองห้วหน้าฝ่ายการพยาบาล พี่เปี๊ยก และพี่ต้อยติ่ง HN ortho

Dsc0328

Dsc013

 

ภาคบ่าย เราจัด Workshop เล็ก มีพยาบาล key person ของหน่วยงาน จำนวน 30 คน แต่เนื่องจากมีเวรบ่ายด้วย ทำให้บางท่านต้องไปรับเวรก่อน เพราะ WS เสร็จ 4 โมงตรง โดยเป็นเรื่อง “ การจัการความปวดโดยไม่ใช้ยา”

Relaxation-guided imagery โดย ผศ ดร พูลสุข ศิริพูล

Comfort and Distraction techniques โดยเกศนี บุณยวัฒนางกุล

 Dsc0140

Dsc0100

ขอบคุณน้องเย็น น้องนวย และน้องกิ๊บจ้า

และ Thanks wonderful report จากน้องน้ำเย็น Project manager โครงการวิจัยฯ (ไทย)

 Brr999

Brr99

Brr09

Kesanee..Co-Investigator..report..Mar 5, 2010..01:52 am..

หมายเลขบันทึก: 341901เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 01:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

น่าสนใจมากเลยค่ะ  สำหรับเรื่อง  การจัการความปวดโดยไม่ใช้ยา

ขอบคุณความรู้ดีๆค่ะ

P
namsha ขอบคุณค่ะ ใช่การจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยาเป็นการบำบัดเสริม หากปวดขั้นรุนแรง การจัดการโดยไม่ใช้ยาเพียงลำพังจะไม่ได้ผลค่ะ ต้องใช้ยาเป็นหลักร่วมกับการบำบัดเสริมที่คนไข้ฝึกและทำได้
P
แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช พี่ต้อยติ่งน่ารัก และเป็นประธานวิจัยที่นั่นค่ะพี่แก้ว

แป๋มว่าน่าจะได้ใจผู้ป่วยเป็นส่วนมาก น่าสนใจดีค่ะพี่เกด.

P
ครูแป๋ม ความปวดมนทุกข์ทรมาน ใครไม่เจอจะไม่ทราบ เหมือนที่คนไข้เขาเจอ ดังนั้นการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานทั้งการใช้ยาและการบำบัดบัดเสริมจะทำให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้นบ้าง อย่างน้อยก็เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท